ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 13' 58.971"
14.2330475
Longitude : E 100° 4' 20.3308"
100.0723141
No. : 195220
กลุ่มชาติพันธุ์ไทยญวน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
Proposed by. สุพรรณบุรี Date 5 January 2022
Approved by. สุพรรณบุรี Date 5 January 2022
Province : Suphan Buri
0 900
Description

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยญวน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติ/ที่มาของกลุ่มชาติพันธุ์

ทยวน (อ่านว่า ไท-ยวน) หรือ ไตยวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาไท-กะไดกลุ่มหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทยที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ในอดีตคนล้านนามีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ "ไทยวน" ซึ่งมีคำเรียกตนเองหลายอย่าง เช่น "ยวน โยน หรือ ไต(ไท)" และถึงแม้ในปัจจุบัน ชาวล้านนาจะกลายเป็นพลเมืองของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ก็มักเรียกตนเองว่า "คนเมือง" ซึ่งเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นในภายหลัง ในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เพื่อฟื้นฟูประชากรในล้านนาหลังสงคราม โดยการกวาดต้อนกลุ่มคนจากที่ต่าง ๆ เข้ามายังเมืองของตน

พื้นที่ชุมชน

ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่

จำนวนประชากร

บ้านแม่พระประจักษ์ ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

พื้นที่ลาบลุ่ม

410 คน

ประวัติศาสตร์

ชาวญวณ ได้อพยพมาจากประเทศเวียดนาม เนื่องจากผู้นำประเทศไม่ให้นับถือศาสนาคริสต์ ชาวบ้านจึงได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย เดิมจะอยู่ที่สามเสน (บ้านญวณสามเสน) ในกรุงเทพ โดยชาวญวนที่อพยพเข้ามาในไทยจะทำการประมงเป็นหลัก จึงได้ล่องเรือหาปลามาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน เรื่อยมาจนถึงคลองสองพี่น้อง ซึ่งบริเวณนี้เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุม ชาวญวนจึงได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานในที่แห่งนี้ต่อมา “นายเฮี้ยว สังขรัตน์” ได้ทำคุณงามความดีต่อสังคมจึงได้รับพระราชทานนามในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็น “ขุนวิเศษรักษาสัขรัตน์” และแต่งตั้งให้เป็นกำนันคนแรกของหมู่บ้านของตำบลบางสนุ่น หรือตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปัจจุบัน

การประกอบอาชีพ

เดิมชาวญวนที่อพยพเข้ามาในอำเภอสองพี่น้อง จะทำนา ทำไร่ เป็นหลัก ในปัจจุบันจะมีการทำนา (4-5 ครัวเรือน), รับจ้าง และการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ (OTOP)

สถานการณ์ของชุมชน

การรวมกลุ่มประกอบอาชีพ (OTOP) ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ของชุมชนแยกตามหมู่บ้าน โดยหลักๆ จะเป็นเรื่องของอาหาร และแปลญวน และมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ปลาหมำ, หมูหันญวน, ขนมบัวลอยญวน, ขนมบั้นดุ๊ก, ขนมมัดใต้, ปลานิลผีเสื้อแดดเดียว, แปลญวน การรวมกลุ่มจะมีชาวบ้านราว ๆ ๓๐ คน เนื่องจากประชากรในหมู่บ้านมีไม่เยอะ ส่วนมากจะเข้าไปทำงานในเมืองเป็นส่วนใหญ่ และมีการกลับมาบ้างเป็นครั้งคราว

วิถีชีวิต / วัฒนธรรม

วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวญวนแบบเดิมจะไม่ค่อยมีให้เห็นทั่วไป เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง จะมีเฉพาะตามโรงเรียน การต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ แต่งในงานประเพณี

ความรู้ / ภูมิปัญญา

การทำแปลญวนจะเป็นการสืบสานมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ก่อนการสานแปลญวณจะเป็นการใช้ผักตบชวาทั้งหมด ทำขึ้นเพื่อเป็นสิ่งของแลกเปลี่ยนอาหารเพื่อใช้รับประทานในครอบครัว ต่อมารุ่นหลังๆ จึงได้มีการเปลี่ยนจากการใช้ผักตบชวามาเป็นเส้นด้ายทอผ้า เนื่องจากมีความทนทานกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ในรุ่นที่ ๓) ให้หลากหลาย และรองรับตลาดมากขึ้น โดยมีการผสมผสานระหว่างผักตบชวา กับเส้นด้าย (เพื่อลดจำนวนผักตบชวาในแม่น้ำ) การสานแบบญวนจะเป็นการสานยกดอก หรือสานยกลายเท่านั้น

ประเพณี / เทศกาล

“พิธีแห่พระทางสายน้ำ” (เป็นประเพณีที่หายไปเกือบ 20 กว่าปี ปัจจุบันชาวบ้านช่วยกันดึงพิธีกลับมาได้ 4-5 ปี ) ช่วงเดือนตุลา อาทิตย์สุดท้าย เพื่อไหว้ และขอพรแม่พระประทานพร ตามบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ตามสายน้ำ

ศาสนา

ชาวบ้านชุมชนบ้านแม่ประจักษ์ส่วนมากนับถือคริสต์ นิกายคาทอลิกโดยมีการประกอบพิธีทางศาสนารวมกับประเพณีญวนกันในทุกโอกาศวันสำคัญทางสาสนา

ศิลปะ / การแสดง

มีการสร้างหอชมทุ่ง (ทำจากไม้ไผ่) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และการแต่งกายเพิ่งมารื้อพื้น

ตำนาน

ในปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสล่าอาณานิคมประเทศต่าง ๆ เป็นเมืองขึ้นปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยมที่ห่าติ๋ง เงอาน และทั่วราชอาณาจักร พ่อกับแม่ของผม ไม่สามารถทนการกดขี่ข่มเหงได้ ได้อพยพมาอยู่ลาวกระจัดกระจายทั่วท่าแขกและเวียงจันทน์ พ่อแม่ของผมทำไร่นาเลี้ยงลูกจนเติบโต...ในปลายปี ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) ผมกลับมาจากเลิกเรียนได้เห็นสภาพของชาวเวียดนามหอบหิ้วลูกหลานเข้ามาในท่าแขก มีมากมายหลายคนอดอยาก หิวโหย นอนตายอยู่ข้างถนนและตลาด ต่อมาพ่อได้ให้ แม่ผม พี่สาวรวมทั้งน้องชายคนเล็กข้ามมาเมืองนครพนมด้วยเรือ และในเช้าตรู่ ของวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) พ่อและผมหามผักไปขายที่ตลาดท่าแขกประมาณสองถึงสามโมงเช้าก็ได้ยินเสียงปืนดังทั่วทิศ บ้านช่องถูกระเบิดเสียหายพังยับเยิน ผู้คนส่วนใหญ่จะเป็นชาวเวียดนามจะวิ่งไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อหาทางข้ามแม่น้ำมาฝั่งไทย ฝรั่งเศสบุกเข้าเมืองท่าแขกยิงกราดไล่ฝูงชน ทุกคนชุลมุนกระโดดขึ้นเรือหนีตาย บางลำก็มาถึงฝั่งไทยได้ บางลำก็คว่ำลงในน้ำโขง แค่ไม่กี่วันฝรั่งเศสได้ฆ่าชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในท่าแขกเป็นร้อย ๆ คน วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1946 ( พ.ศ.2489) เป็นวันประวัติศาสตร์ ที่เจ็บปวดไม่มีวันลืมของชาวเวียดนาม - จากคำบอกเล่าที่เล่าต่อกันมา

Location
Tambon ต้นตาล Amphoe Song Phi Nong Province Suphan Buri
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
Reference นางสาวทิพย์สุดา อิ่มใจ Email spbcul@gmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี Email spbcul@gmail.com
Tambon สนามชัย Amphoe Mueang Suphan Buri Province Suphan Buri ZIP code 72000
Tel. 035536058
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่