ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : - Longitude : -
No. : 195269
สะเลิก
Proposed by. ศรีสะเกษ Date 13 January 2022
Approved by. ศรีสะเกษ Date 13 January 2022
Province : Si Sa Ket
0 435
Description

“สะเลิก”

ชื่อเรียกในท้องถิ่น “ตีนซิ่น”

พื้นที่ปฏิบัติ

บ้านปราสาทเยอ ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง / บ้านโพนปลัด ตำบลสุขสวัสดิ์ อำเภอไพรบึง / บ้านหนองอารี ตำบลดินแดง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

สาระสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ มีการจำแนกประเภทของผ้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ (เขมร ส่วย ลาว เยอ) อาจจำแนกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้จำแนก กล่าวคือ จำแนกตามประเภทวัตถุดิบ ได้แก่ ผ้าไหมกับผ้าฝ้าย จำแนกตามเทคนิคและวิธีการผลิต ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าเหยียบ ผ้าขิด ผ้ายก ผ้ามัดหมี่ ผ้าตีนซิ่น จำแนกตามประเภทการใช้สอย การทอสะเลิก จึงถือว่ามีความสำคัญต่อวิถีการผลิตผ้าพื้นเมืองที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวเยอ การทอสะเลิกให้เกิดลวดลายที่สวยงาม ไม่เพียงแค่สอดเส้นไหมที่เรียกว่าเส้นนอนกับเส้นยืนเพื่อสร้างลวดลายเท่านั้น แต่การทอสะเลิก ต้องใช้ทักษะในการคำนวณ จำนวนของลูกตุ้มดินเผาที่ผูกโยงเป็นตัวถ่วงน้ำหนักของเส้นไหม เพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงามบนผืนผ้า ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของการทอสะเลิก ในวิถีวัฒนธรรมชาวเยอ

ผู้หญิงชาวเยอนิยมนุ่งผ้าถุงหรือซิ่นที่ใช้ สะเลิกต่อเป็นหัวซิ่นเพื่อความสวยงาน และแสดงถึงอัตลักษณ์ของผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์เยอ ผ้าถุง หรือซิ่นทุกผืนของผู้หญิงชาวเยอจึงมักจะมี สะเลิกต่อออกมาเป็นหัวซิ่นทุกผืน สะเลิก จึงถือว่าเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่สำคัญของผู้หญิงชาวเยอ

ประวัติความเป็นมา

ผ้าพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงภูมิปัญญา เทคโนโลยี และองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ผ้าทอพื้นเมืองสามารถแบ่งได้ ๒ ประเภท คือ แบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการทอ แบ่งตามกรรมวิธีในการทอ ผ้าทอมีความสำคัญเพื่อสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิตเพราะผ้าทอเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพื่อแสดงถึงฐานะของผู้สวมใส่ เป็นการแบ่งหน้าที่ระหว่างชายและหญิง อีกทั้งยังชี้ให้เห็นถึงความเป็นหญิงอย่างเด่นชัดเพราะการทอผ้าต้องใช้ ความขยัน ความอดทน ความพยายาม ความประณีตละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นอุปนิสัยของผู้หญิง การทอผ้าเป็นเครื่องแสดงถึงความพร้อมในวัยที่จะมีครอบครัว ประโยชน์ของผ้าทอเป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีกรรมตั้งแต่เกิดจนตาย

กลุ่มชาติพันธุ์เยอ ในพื้นที่อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง นิยมนุ่งผ้าถุงหรือซิ่น ที่ใช้ สะเลิกต่อเป็นหัวซิ่นเพื่อความสวยงาน และแสดงถึงอัตลักษณ์ของผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์เยอ ผ้าถุง หรือซิ่นทุกผืนของผู้หญิงชาวเยอจึงมักจะมี สะเลิกต่อออกมาเป็นหัวซิ่นทุกผืน สะเลิก จึงถือว่าเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่สำคัญของผู้หญิงชาวเยอ การทอสะเลิก จึงถือว่ามีความสำคัญต่อวิถีการผลิตผ้าพื้นเมืองที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวเยอ การทอสะเลิกให้เกิดลวดลายที่สวยงาม ไม่เพียงแค่สอดเส้นไหมที่เรียกว่าเส้นนอนกับเส้นยืนเพื่อสร้างลวดลายเท่านั้น แต่การทอสะเลิก ต้องใช้ทักษะในการคำนวณ จำนวนของลูกตุ้มดินเผาที่ผูกโยงเป็นตัวถ่วงน้ำหนักของเส้นไหม เพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงามบนผืนผ้า ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของการทอสะเลิกในวิถีวัฒนธรรมชาวเยอ ลูกตุ้มดินเผา ที่ใช้สำหรับเป็นตัวถ่วงน้ำหนักเส้นไหมในการทอสะเลิก จะใช้จำนวนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของลวดลายบนผืนผ้าที่นิยมใช้กันจะมีจำนวน สี่ลูก หกลูก แปดลูก และสิบสองลูก วัฒนธรรมนุ่งผ้าถุงของผู้หญิงชาวเยอ และการทอผ้าตีนซิ่นที่เรียกว่าสะเลิกโดยใช้ลูกตุ้มดินเผ่าเป็นตัวถ่วงเส้นไหมเพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงาม จะยังคงดำรงอยู่บนวิถีการดำเนินชีวิตอันเรียบง่ายของชุมชนชนบทและสืบสาน ต่อยอดสู่รุ่นลูก รุ่นหลานชาวเยอ

ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ มีการจำแนกประเภทของผ้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ (เขมร ส่วย ลาว เยอ) อาจจำแนกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้จำแนก กล่าวคือ จำแนกตามประเภทวัตถุดิบ ได้แก่ ผ้าไหมกับผ้าฝ้าย จำแนกตามเทคนิคและวิธีการผลิต ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าเหยียบ ผ้าขิด ผ้ายก ผ้ามัดหมี่ ผ้าตีนซิ่น จำแนกตามประเภทการใช้สอย ได้แก่ ผ้าอ้อม ผ้าผูกอู่ผ้าห่ม ผ้าแพรมนหรือผ้าแจ ผ้าแพรเบี่ยงหรือผ้าเบี่ยง ผ้าพาดไหล่ ที่นอน มุ้ง ผ้าม่าน ผ้าสมมา ผ้าห่อศพ ผ้าแผ้ว ผ้าปิดหน้าศพ ผ้าพาดโลงศพ ผ้าหี่ม้อน ผ้าห่อกระดูก ถุง ไถ้ ย่าม ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง จำแนกตามความสำคัญของพิธีกรรมทางความเชื่อของท้องถิ่นและศาสนา ได้แก่ ผ้าช้อนขวัญ ผ้าในพิธีสะเดาะเคราะห์ ผ้าเซียงข้อง ผ้ายันต์ ผ้าใส่คายและผ้าในพิธีทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ธุง (ธง) ผ้าผะเหวด ผ้านุ่งนาค ผ้าพระบฏ ผ้ากฐิน ผ้าสบง จีวร ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าบังสุกุล ผ้าห่อคัมภีร์ จำแนกตามวิธีการผลิต เช่น ผ้าย้อมมะเกลือ ผ้าเหยียบ ผ้ามัดหมี่ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นต้น จำแนกตามลายผ้าและภาษาถิ่นที่ใช้เรียก เช่น โฮล ผ้าแพร ผ้าขิด ซำป็วด โซด รวมทั้ง “สะเลิก” ด้วย

ผ้าต่างๆเหล่านี้ นอกจากจะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำมาหากินในพิธีกรรมและพิธีทางศาสนาแล้ว ในอดีตใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของและเป็นส่วยในการเกณฑ์แรงงานในระบบความสัมพันธ์กับรัฐบาลกลางด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การผ้าพื้นเมืองถือว่ามีความสำคัญในวิถีชีวิต ดังนั้น การทอผ้าจึงกระทำด้วยความวิจิตรบรรจง โดยเฉพาะผ้าที่ใช้ในโอกาสสำคัญ เป็นการแสดงถึงฝีมือ ความละเอียด อดทน และจินตนาการของผู้ทอ ความเฉลียวฉลาดในการที่จะนำวัตถุจากธรรมชาติมาให้สีสัน และลวดลายที่งดงาม ดังนั้น ผลิตผลการทอผ้าจึงเป็นเครื่องวัดคุณสมบัติของผู้หญิงในสังคมชาวบ้านในอดีตถึงความพร้อมที่จะเป็นภรรยาที่ดีในอนาคตได้ ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงจึงได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้า โดยผ่านระบบครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ฝ่ายชายเป็นเพียงผู้ช่วยอุปกรณ์ในการทอผ้าอันได้แก่ กี่ ฟืม กระสวย อัก ไน เป็นต้น

ในกระบวนการทอผ้าได้แฝงความเชื่อในแทบทุกขั้นตอน ทั้งความเชื่อในรูปของข้อห้ามที่ชาวอีสานเรียกว่า ขะลำ และความเชื่อที่มีนัยบ่งบอกชี้แนะให้ปฏิบัติ เช่น มีข้อห้ามสาวไหม ในวันศีลหรือวันพระ หรือถ้ามีวัตถุมงคลเก็บรักษาไว้ที่ “แข้งม้อน” จะทำให้ได้เส้นใยหนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น เชื่อว่าใช้ผ้าทำเป็นสบงจีวรหรือหมอนถวายพระจะได้บุญกุศลสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าไหมที่ยังไม่ได้ใช้ไปทำเป็นผ้าห่มคัมภีร์ หนังสือใบลาน เชื่อกันว่าจะช่วยรักษา ความรู้ สติปัญญา ลูกหลาน และช่วยสืบศาสนาไปพร้อมๆกัน ดังนั้น ในปัจจุบันเราจึงอาจจะค้นพบผ้าเก่าที่สวยงามได้จากผ้าห่อคัมภีร์ และผ้าที่ชาวบ้านถวายพระนั่นเอง

นอกจากผ้าในกลุ่มของชาวบ้านทั่วไปแล้ว ในกลุ่มของเจ้านายหรือผู้ปกครอง (อัญญา) มีผ้าที่ใช้แตกต่างกับชาวบ้านบ้าง อันเนื่องมาจากได้รับอิทธิพลจำปาสักและราชสำนักกรุงเทพฯ เจ้านายเมืองอุบลในระยะหลัง จึงใช้ผ้าซิ่นยกและผ้าซิ่นมุกในโอกาสพิเศษทั้งในชีวิตและความเชื่อทางศาสนา ผ้าซิ่นทั้งสองประเภทนี้จะใช้วัสดุที่ชาวบ้านไม่สามารถแสวงหามาทอได้ คือ ไหมคำหรือไหมเงิน ดังนั้น การนุ่งซิ่นที่ทอแทรกด้วยไหมคำหรือไหมเงินจึงเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสถานภาพของผู้สวมใส่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามแม้วัสดุในการทอจะบ่งบอกสถานภาพ ฐานะของผู้สวมใส่ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงทุกคนจะต้องปฏิบัติ จึงจะถือว่าสุภาพเรียบร้อย คือ นุ่งผ้าซิ่นให้ชายเท่ากันที่เรียกว่า นุ่งให้ลำเพียงและนุ่งซิ่นซ้อน คือ นุ่งผ้าฝ้ายขาวหรือผ้าซิ่นไหมเก่าๆไว้ข้างในแล้วนุ่งผ้าหมี่ไหมผืนใหม่ไว้ข้างนอก จนกลายเป็นค่านิยมความเชื่อ ห้ามลูกสะใภ้นุ่งซิ่นผืนเดียวเดินผ่านห้อง “เปิง” เพราะถือว่าเป็นการไม่เคารพยำเกรงและลบหลู่ผู้ใหญ่ในบ้าน ในแง่นี้ผ้าจึงไม่ใช่เพียงแต่เป็นเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น หากแต่ผ้าได้ใช้เป็นเครื่องมือในการวางระเบียบของสังคมด้วย

คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญ

ผู้หญิงชาวเยอนิยมนุ่งผ้าถุงหรือซิ่นที่ใช้ สะเลิกต่อเป็นหัวซิ่นเพื่อความสวยงาน และแสดงถึงอัตลักษณ์ของผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์เยอ ผ้าถุงหรือซิ่นทุกผืนของผู้หญิงชาวเยอจึงมักจะมี สะเลิกต่อออกมาเป็นหัวซิ่นทุกผืน สะเลิก และการทอสะเลิก จึงถือว่าเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่สำคัญของผู้หญิงชาวเยอ

บทบาทของชุมชนที่มีต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ชุมชนได้มีการตั้งกลุ่มสตรีและได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาทเยอ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานพัฒนาชุมชนในการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ การทอสะเลิกยังมีผู้ที่มีความสามารถในการทอสะเลิกจำนวนน้อย เนื่องจากเป็นทักษะการทอที่ต้องใช้เทคนิคการทอที่มีความพิเศษ คือ การใช้ลูกตุ้มดินเผาเป็นตัวถ่วงและหลักคำนวณเส้นไหมให้เกิดลวดลาย

มาตรการในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

โครงการ กิจกรรมที่มีการดำเนินงานของรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

- ยังไม่มีการทำวิจัยเกี่ยวกับผ้าสะเลิกในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

- ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการสืบค้น รวบรวมทำทะเบียนปราชญ์ชาวบ้านที่สามารถทอผ้าสะเลิกไว้

- มีการดำเนินงานส่งเสริมเพื่อประกาศให้ชุมชนที่มีการสืบทอดวิถีวัฒนธรรมผ้าสะเลิกเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม

- มีการสืบค้นเพื่อทำเป็นเอกสารวิชาการเผยแพร่องค์ความรู้และนำองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์มาพัฒนาต่อยอดเป็นพิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทศรีสะเกษ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และยกระดับด้านผลิตภัณฑ์ OTOPของจังหวัดศรีสะเกษ

- มีการเตรียมจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการด้านวัฒนธรรมผ้าทอการรักษาและพัฒนามรดกภูมิปัญญาของท้องถิ่นเรื่อง ผ้าทอมืออัตลักษณ์ศรีสะเกษ

มาตรการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่คาดว่าจะดำเนินการในอนาคต

๑.จัดทำเอกสารวิชาการเผยแพร่ ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และบรรจุในกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบของหลักสูตรท้องถิ่น

๒.สร้างการรับรู้ผ่านการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมในรูปแบบของสื่อมัลติมิเดียและสื่อออนไลน์

การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่ายงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม (ถ้ามี)

ปัจจุบันสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผลิตผ้าทออัตลักษณ์ศรีสะเกษ และให้ความสำคัญในการสืบค้นส่งเสริมโดยการรวบรวมจัดทำเบียนรายชื่อผู้สืบทอดวัฒนธรรมผ้าทอมือ “สะเลิก” และส่งเสริมการสร้างแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมวัฒนธรรม และสินค้าผ้าทอมือของจังหวัดศรีสะเกษ

สถานภาพปัจจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยคุกคาม

ปัจจุบันผู้ที่มีความรู้และทักษะการทอผ้าสะเลิกได้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ การถ่ายทอดองค์ความรู้จะถูกจำกัดอยู่เพียงบุคคลที่สนใจอย่างจริงจัง เพราะมีทักษะการทอที่ยาก ทางจังหวัดได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมในเรื่องของผ้าทอมืออัตลักษณ์ศรีสะเกษ โดยเฉพาะการบรรจุให้เรื่องผ้าทอมือเป็น วาระจังหวัด ภายใต้กรอบการดำเนินงานที่ชื่อว่า “ผ้าเบญศรี ธานี ศรีแส่ว” แต่การทอผ้าสะเลิกก็อยู่ในสถานภาพที่เสี่ยงต่อการสูญหาย โดยเฉพาะการมัดลวดลายและการทอที่ต้องมีความสนใจอย่างจริงจัง ปัจจุบันผู้ที่สามารถทอได้จะมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และมีจำนวนน้อยจึงเสี่ยงต่อการสูญหาย

รายชื่อผู้สืบทอดหลัก

๑. กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านปราสาทเยอ การทอสะเลิก กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านปราสาทเยอ บ้านปราสาทเยอ ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึงจังหวัดศรีสะเกษ

๒. กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านโพนปลัด การทอสะเลิก กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านโพนปลัด ตำบลสุขสวัสดิ์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

๓. กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองอารี การทอสะเลิก กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองอารี ตำบลดินแดง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

การยินยอมของชุมชนในการจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

นางมัย สุภาพ ภูมิปัญญาการทอสะเลิก กลุ่มชาติพันธุ์เยอ เป็นครูผู้สืบทอด เป็นผู้ได้รับการถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้นำชุมชน เป็นเจ้าหน้าที่ในชุมชน เป็นผู้ชม เป็นผู้รับบริการ หรือเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Location
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านปราสาทเยอ
Tambon ปราสาทเยอ Amphoe Phrai Bueng Province Si Sa Ket
Details of access
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านปราสาทเยอ
Tambon ปราสาทเยอ Amphoe Phrai Bueng Province Si Sa Ket ZIP code 33180
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่