ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 58' 44.0004"
13.9788890
Longitude : E 100° 10' 13.1725"
100.1703257
No. : 195388
ชาติพันธุ์มอญ ในจังหวัดนครปฐม
Proposed by. นครปฐม Date 28 January 2022
Approved by. นครปฐม Date 28 January 2022
Province : Nakhon Pathom
0 659
Description

ชาวมอญนั้นตามประวัติเป็นคนเจริญที่อยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า ชื่อเรียกของชาวมอญ อีกชื่อหนึ่งคือ "รามัญ" มาจากชื่อเรียกประเทศของมอญว่า "รามัญญเทส" หรือรามัญประเทศ เดิมชาวมอญตั้งหลักแหล่งอยู่ในพม่าตอนล่าง ตามบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ที่เมืองสะเทิม ทวันเททะละ และหงสาวดี

การอพยพของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย มีบันทึกเป็นทางการครั้งแรก ใน พ.ศ.2127หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง อาจมีการอพยพก่อนหน้านี้เป็นครั้งคราวแต่ไม่มีการบันทึกไว้ การอพยพครั้งสำคัญมีดังนี้

1. สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.2112-2133)

2. สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148)

3. สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231)

4. สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301)

5. สมัยกรุงธนบุรี

6. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

สาเหตุของการอพยพส่วนใหญ่เนื่องมาจากได้รับการข่มเหงทางการเมือง การปกครอง เกิดสงครามระหว่างชาวพม่าซึ่งเป็นคนทางภาคเหนือกับชาวมอญกรุงหงสาวดี เป็นสงครามกลางเมืองรบกันเอง ผลปรากฏว่าชาวมอญสู้กำลังพม่าไม่ไหวเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และเมื่อครั้งเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า ชาวมอญจะถูกพม่าเกณฑ์ไปร่วมทำสงครามด้วย มอญที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยเข้ามาในฐานะเชลยศึก หลบหนีจากกองทัพพม่าหรือลี้ภัยทางการเมือง เส้นทางที่ชาวมอญใช้ในการอพยพมี 3ทาง คือ ทางเหนือเข้ามาทางเมืองตาก หรือระแหง ทางด่านแม่ละเมา ทางใต้เข้ามาทางเมืองกาญจนบุรี ทางด่านเจดีย์สามองค์ และเข้ามาทางอุทัยธานี

บริเวณที่เป็นถิ่นฐานของชาวมอญในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ริมแม่น้ำ เช่น แม่น้ำแม่กลอง บริเวณอำเภอบ้านโป่ง โพธาราม ราชบุรี และกาญจนบุรี แม่น้ำท่าจีน บริเวณพระประแดง (ปากลัด) แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณนนทบุรี ปทุมธานี แม่น้ำมหาชัย สมุทรสาคร นอกจากนั้น ยังพบชาวมอญอยู่กระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ เช่น นครปฐม เพชรบุรี อยุธยา ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ และปราจีนบุรี

มอญมีภาษาพูดและเขียนเป็นของตัวเอง ภาษาเขียนของมอญได้อิทธิพลจากอักษรอินเดียใต้ ภาษามอญที่ใช้พูดกันในประเทศไทย ได้อิทธิพลจากภาษาไทยมาก

ศาสนาของชาวมอญคือ พุทธศาสนา นิกายหินยาน นอกจากนั้นชาวมอญยังเชื่อและนับถือผีด้วย อาชีพของชาวมอญคือ การทำนา การทำสวนผลไม้ ชาวมอญมีความชำนาญในการทำอุตสาหกรรมในครัว เรือน เช่น ตุ่ม หม้อ ไห โอ่ง และการทำอิฐ

ชุมชนบ้านท่ามอญในจังหวัดนครปฐม เดิมเรียกว่าตำบลท้ายคุ้ง มีบริเวณตั้งแต่บริเวณรอบวัดไทยวาส ซึ่งเดิมมีชื่อว่าวัดท่ามอญ

ชนชาติมอญตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ตามริมแม่น้ำนครชัยศรีมาก่อนรัชกาลที่ 3 แล้ว ตั้งแต่บริเวณวัดกกตาล วัดกลางบางแก้ว วัดไทยาวาส วัดหอมเกร็ด วัดทรงคะนอง และวัดไร่ขิง จะเห็นได้ว่าหลายวัดตั้งแต่อำเภอนครชัยศรีจนถึงอำเภอสามพราน ล้วนเป็นวัดที่มีเสาหงส์ตั้งอยู่หัววัดทั้งสิ้น เสาหงส์เป็นเสาไม้กลมสูงประมาณ 10 เมตร โดยเสาใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10 นิ้ว ที่ปลายเสาจะมีตัวหงส์กางปีกหล่อด้วยทองเหลืองประดิษฐานอยู่ เล่ากันว่าเสาหงส์เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าวัดนี้คนมอญจากเมืองหงสาวดีเป็นผู้สร้าง ดังนั้นตัวหงส์จึงเป็นสัญลักษณ์บอกให้พวกเดียวกันทราบว่าเป็นชาวหงสาวดีด้วยกัน

Tag Cloud
มอญ
Category
Ethnic
Location
Province Nakhon Pathom
Details of access
ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเมืองนครปฐม มหาวิทยาลัยคริสเตียน
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่