ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 35' 40.4776"
18.5945771
Longitude : E 99° 1' 17.8597"
99.0216277
No. : 195578
ตุงไส้หมู
Proposed by. ลำพูน Date 11 Febuary 2022
Approved by. ลำพูน Date 24 Febuary 2022
Province : Lamphun
0 1522
Description

“ตุง” หรือ “ธง” เป็นศิลปะที่มีพิธีกรรมและความเชื่อมาเป็นสิ่งเชื่อมโยงต่อกัน โดยมีผลต่อจิตใจของคนล้านนา วิถีดั้งเดิมที่งดงามที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้คู่กับสังคมไทยสืบไป โดย “ตุง” จัดเป็นเครื่องสักการะของล้านนา ล้านนามีตุงหลายชนิดที่ใช้ในพิธีกรรม ทั้งงานฉลอง (งานปอย) งานสืบชาตา (สืบชะตา) หรือขบวนแห่ต่าง ๆ ตุงจึงถือได้ว่ามีความสำคัญที่ผูกพันกับความศรัทธาของชาวล้านนาเป็นอย่างยิ่ง

“ตุง” มีขนาด รูปร่าง และรายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งที่แตกต่างกันออกไปตามความเชื่อ
และพิธีกรรม ตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่น และพร้อมกันนี้ ชาวเหนือยังมีจุดมุ่งหมายในการใช้ตุง เพื่อเป็นพุทธบูชามาอย่างช้านาน และยังเชื่อว่าการได้ถวายตุงเป็นการสร้างกุศลให้กับตนเอง

วัสดุอุปกรณ์ในการทำตุงไส้หมู ประกอบด้วย

1. กระดาษว่าวหลากสี ขนาดประมาณ 50 x 75 เซนติเมตร
2. กระดาษแข็งขาวเทา สำหรับทำวงตาด และจิกยอด
3. กรรไกรตัดกระดาษ
4. กรรไกรซิกแซก
5. กรรไกรตัดด้าย
6. ด้ายไนล่อน
7. ก้านตุง ทำจากไม้ไผ่เหลายาวประมาณ 60 เซนติเมตร
8. เครื่องเย็บกระดาษ (แม็ก)

วิธีทำตุงไส้หมู 2 ชั้น

1. นำกระดาษว่าวขนาดประมาณ 50 x 75 เซนติเมตร 2 แผน ต่างสี มาวางซ้อนกัน
จะได้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางซ้อนกัน แล้วนำมาพับครึ่ง โดยจับมุมด้านใดด้านหนึ่งทบเข้าหากันให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า แล้วทำการตัดส่วนที่เกินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าออกไปด้วยกรรไกรตัดกระดาษ จะได้รูปสามเหลี่ยม เมื่อคลี่ออกจะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดประมาณ 50 x50 เซนติเมตร ในขั้นตอนการวางกระดาษนี้ หากอยากให้สีใดอยู่ด้านนอก ต้องพับให้สีนั้นอยู่ด้านใน กล่าวคือ หากทำตุงไส้หมูสีแดงกับสีขาว หากอยากให้สีแดงปรากฎอยู่ด้านนอก สีขาวซ้อนอยู่ด้านใน เมื่อวางกระดาษซ้อนกันต้องเอาสีแดงวางบนกระดาษสีขาว ทำให้เวลาพับจะเห็นกระดาษสีขาวอยู่ด้านนอกสีแดงซ้อนอยู่ด้านใน เมื่อตัดเสร็จ จะต้องกลับกระดาษ ทำให้สีแดงที่อยู่ด้านใน กลายมาเป็นด้านนอกแทน ต่อไปให้เอาสีแดงกับสีขาวที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นเป็นสีที่ใช้ตัดจริง

2. เมื่อได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้ว ต่อไปจะพับครึ่งให้เป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกันอยู่ 4 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ให้พับทบเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าดังเดิม แล้วให้เอาด้านสันกระดาษที่เป็นฉากหันเข้าหาตนเอง ให้ปลายแหลมชี้ไปด้านหน้าของเรา

3. จากนั้นให้พับทบกันอีกครั้งเป็นครั้งที่ 2 โดยพับมุมด้านซ้ายเข้าหามุมด้านขวา จะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า คราวนี้ด้านสันกระดาษ หรือมุมฉากจะย้ายมาอยู่ด้านซ้ายมือแทน พอถึงขั้นตอนในการพับครั้งที่ 2 นี้ ให้นำกรรไกรซิกแซกมาตัดกระดาษด้านขวามือ โดยตัดเป็นรูปโค้งให้กระดาษแหว่งสลับขึ้นลงไปมาจนสุดอีกด้านหนึ่ง เพื่อทำลายตีนตุง แล้วทำการตัดเป็นกลีบดอกไม้ที่แนวฉากด้านล่างที่มุมขวามือ โดยตัดกระดาษให้แหว่งเล็กน้อยเพื่อทำเป็นกลีบด้านล่าง แล้วพับมุมมาเล็กน้อย แล้วตัดทำกลีบข้าง และตัดให้แกว่งเล็กน้อยที่มุม เพื่อทำเกสร แล้วทำการตัดกระดาษบริเวณเหนือเกสร เพื่อทำกลีบบน

4. เมื่อทำกลีบดอกที่แนวฉากด้านล่างที่มุมขวามือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปให้พับกระดาษมุมบนซ้ายทบมาหามุมขวาล่าง เป็นการพับครั้งที่ 3 จะได้รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า โดยให้หันปลายแหลมที่ไม่ได้ตัดลายหันไปทางซ้ายมือ แล้วทำการพับกระดาษลงมาเป็นแนวนอนให้เสมอกับแนวกระดาษด้านล่าง ซึ่งเป็นการพับครั้งที่ 4 ครั้งสุดท้าย จะเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า มีสามเหลี่ยมส่วนเกินยื่นออกมา

5. เมื่อได้รูปทรงตามการพับครั้งที่ 4 แล้ว ให้หันด้านที่ไม่ได้ตัดลายขึ้นด้านบน แล้วใช้กรรไกรซิกแซกตัดสลับฟันปลายบริเวณส่วนที่อยู่เหนือส่วนที่ยื่นออกมา กล่าวคือ รูปสามเหลี่ยมที่ขนาดยาวกว่า โดยตัดให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร ตัดสลับกันจนถึงปลายของรูปสามเหลี่ยม

6. เมื่อตัดสลับฟันปลาเสร็จแล้ว ให้ทำการครี่กระดาษออกตามรอยที่เราพับมาในลักษณะย้อนออกไป จนได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจากการพับครั้งที่ 1 ให้เอาด้านสันหันขึ้นด้านบน ปลายแหลมหันเข้าหาตัวเรา แล้วจึงนำกระดาษด้านปลายแหลมออกไปด้านบนที่สันกระดาษ จุดนี้จะเผยให้เห็นสีแดงที่เคยอยู่ด้านใน ซึ่งเมื่อเลิกกระดาษสีขาวด้านนอกขึ้นจะสลับให้กระดาษสีแดงออกมาอยู่ด้านนอกแทน หลังจากนั้นเอาวงตาด หรือกระดาษแข็งขาวเทาตัดเป็นรูปวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร สอดเข้าไปด้านในจนถึงยอดของตุง ซึ่งตอนนี้เป็นสีขาว แล้วทำการแทงเข็มที่ใส่ด้ายแล้วขอดปมตรงปลายด้ายเรียบร้อยแล้ว แทงทะลุวงตาดออกไปถึงนอกตุง เพื่อทำสายห้องตุง

7. หลักจากนั้น สอดด้ายผ่านรูจิกตุง หรือกรวยส่วนยอดที่ตัดจากกระดาษแข็งขาวเทาเย็บด้วยเครื่องเย็บกระดาษ (แม็ก) ในลักษณะที่คว่ำกรวยลง แล้วทำการมัดกับก้านตุงไม้ไผ่ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำตุงไส้หมู

Location
No. 12/1 Road สันป่ายาง
Tambon ในเมือง Amphoe Mueang Lamphun Province Lamphun
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
Email culturelamphun@gmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
Tambon ในเมือง Amphoe Mueang Lamphun Province Lamphun ZIP code 51000
Tel. 0 5351 0243 Fax. 0 5321 0244
Website https://www.m-culture.go.th/lamphun/main.php?filename=index
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่