ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
Longitude : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
No. : 196262
ถ้ำคูหาสวรรค์
Proposed by. พัทลุง Date 18 March 2022
Approved by. พัทลุง Date 5 January 2023
Province : Phatthalung
0 484
Description
1. ชื่อ ถ้ำคูหาสวรรค์

2. ประวัติ

ถ้ำคูหาสวรรค์ตั้งอยู่เชิงเขา ภายในวัดคูหาสวรรค์ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดคูหาสูง หรือวัดสูง เนื่องจากบริเวณตั้งวัดอยู่บนเชิงเขาเป็นที่สูง ปากถ้ำหันทางทิศเหนือ เดิมชาวบ้านเรียกว่า
ถ้ำน้ำเงิน หรือ ถ้ำพระ ส่วนชื่อคูหาสวรรค์ เชื่อว่าน่าจะมีการเรียกมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยพระเอกาทศรถ ถ้ำมีขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 28 เมตร สูงเป็นเวิ้งรูปกรวย ตอนบนมีหินงอกคล้ายรูปช้าง ชาวบ้านเรียกว่า ช้างผุดหรือหินสับแล พื้นถ้ำปูด้วยอิฐถือปูนมีเจดีย์เล็ก ๆ หนึ่งองค์ มีพระพุทธรูปปูนปั้นและปั้นด้วยดินเหนียวเรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันตก รวม ๓๗ องค์ มีขนาดต่างๆ กัน หน้าตักกว้างตั้งแต่ 0.50 - 1.50 เมตรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 3.36 เมตร สูงตลอดรัศมี 6 เมตร ด้านซ้ายของผนังถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์ 1 องค์ ขนาดยาว 12 เมตร สูง 2 เมตร พระพุทธรูปเหล่านี้ตามประวัติว่า พระมุนี (สมเด็จพะโคะหรือหลวงพ่อทวด วัดช้างให้)ได้ร่วมกันสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา จำนวน 20 องค์

ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณะและต่อเติมพระพุทธรูปขึ้นอีก 17 องค์ ด้านทิศตะวันออกของเศียรพระไสยาสน์ มีกรุพระพิมพ์ที่ชาวบ้านได้ขุดพบพระแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก มีทั้งพระจำหลักไม้ พระพุทธรูปปูนปั้นพระสำริดและพระพิมพ์ดินดิบสมัยศรีวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า พระผีทำ ปากถ้ำ มีหินเป็นชั้นกั้นติดกับหินปากถ้ำ สูงประมาณ ๒ เมตร ชาวบ้านเรียกว่า หัวทรพี ตรงกันข้ามกับหัวทรพี มีรูปฤาษีตาไฟปูนปั้น 1 องค์ มีตำนานว่า นางเลือดขาวกับเจ้ากุมารสร้างขึ้นแทนอนุสาวรีย์ตาสามโมกับยายเพชรและได้บรรจุอัฐิของ ตายายทั้ง 2 ไว้ภายใน ชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก มีการบนปิดทองกันเต็มทั้งสององค์จนไม่สามารถเห็นลักษณะแท้จริงได้ เคยได้รับการบูรณะมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2468 เหนือรูปฤาษีตาไฟขึ้นไปตามเพิงผาหน้าถ้ำมีจารึกพระนามย่อพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเชื้อพระวงศ์ที่เคยเสด็จประพาส ส่วนวัดคูหาสวรรค์ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำนั้น ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด แต่ตามตำนานนางเลือดขาวระบุว่า เมื่อตาสามโมกับยายเพชรถึงแก่กรรมแล้ว กุมารกับนางเลือดขาวให้นำอัฐิของท่านทั้ง 2 ไปเก็บไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์

3. สิ่งสำคัญ

1. พระพุทธรูปปูนปั้นและปั้นด้วยดินเหนียวเรียงแถวเป็นระเบียบทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันตก รวม 37 องค์ มีขนาดต่าง ๆ กัน หน้าตักกว้างตั้งแต่ 0.50-1.50 เมตร

2. พระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 3.36 เมตร สูงตลอดรัศมี 6 เมตร

3. พระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์ 1 องค์ ขนาดยาว 12 เมตร สูง 2 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ

4. พระพิมพ์ดินดิบ

5. จารึกพระนามย่อพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเชื้อพระวงศ์ที่เคยเสด็จ ประพาสเรียงตามลำดับดังนี้

จปร.ด08 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ปปร.25/10/2471 (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)

บส.30/10/73 (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์

กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ)

ภปร.ด๗/๓/๒๕๐๒ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช)

6. รอยพระพุทธบาทจำลองสำริด ตั้งอยู่บนไหล่เขาค้านบนของถ้ำพระ สูงขึ้นไปประมาณ 30 เมตร สร้างโดยนายฮวดและนายขิ้ม แซ่สอ เมื่อปี พ.ศ. 2571

7. ถ้ำนางคลอด ตั้งอยู่ใกล้ประตูวัด ปากถ้ำสร้างเป็นอาคารไม้ หลังคาฉาบปูนแบ่งเป็นห้องต่างระดับกันหลายห้อง ภายในห้องต่างๆ มีประเดิม มีประติมากรรมปูนปั้นภายในห้อง อาทิ กลุ่มประติมากรรมรูปภิกษุ 4 องค์ซักผ้าบังสุกุลจากโลงศพ กลุ่มประติมากรรมพุทธประวัติดอนเสด็จประทับ ณ ป่าเลไลยก์ กลุ่มประติมากรรมรูปพระยายมราชพิจารณาความดีความชั่ว ประติมากรรมรูปพระสังกัจจายน์ ประติมากรรมรูปเหมือนพ่อท่านคล้าย คูหาสุโย เป็นต้น

4. การกำหนดอายุสมัย

แรมเริ่มประวัติศาสตร์,อยุธยา,รัตนโกสินทร์

5. การประกาศขึ้นทะเบียน

กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3694
วันที่ 8 มีนาคม 2478

6. ประวัติการอนุรักษ์

พ.ศ. 2478 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

Category
Historic site
Location
ถ้ำคูหาสวรรค์
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung
Details of access
โบราณสถานและเเหล่งโบราณคดี จังหวัดพัทลุง.(หน้า 7). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Reference นางสาววนัธศนันท์ ดุษฎีศุภการย์ Email easting17@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung ZIP code 93000
Tel. 074617958 Fax. 0741617959
Website https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่