ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 21' 24.0012"
18.356667
Longitude : E 103° 39' 6.0012"
103.651667
No. : 196393
ภูไท ท่าเชียงเครือ
Proposed by. buengkan_admin Date 31 March 2022
Approved by. buengkan_admin Date 12 September 2022
Province : Bueng Kan
0 476
Description

ภูไท (บ้านท่าเชียงเครือ)

บ้านท่าเชียงเครือ ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภูไทที่อพยพมาจาก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษกว่า 60 ปีมาแล้ว อดีตกาลเมื่อหมู่บ้านหรือชุมชมใดเกิดการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น ทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต เป็นเหตุผลที่ผลักดันให้ชาวบ้านเกิดการอพยพหาที่อยู่อาศัย และที่ทำมาหากินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวภูไทเองก็เช่นกันได้มีการอพยพย้ายถิ่นเดินทางผ่านพื้นที่ต่างๆ จนกระทั่งได้ล่องเรือมาตามลำน้ำฮี้ ได้ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย และดำรงชีวิตด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ แม่น้ำลำคลองที่อุดมไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา ที่ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งทำมาหากินเลี้ยงชีพตลอดมา นับว่าชนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมเรื่องการแต่งกายเด่นชัดมาก โดยเฉพาะการทอผ้าซิ่นหมี่ ตีนต่อ เป็นที่นิยมในกลุ่มภูไท
ทอเป็นหมี่สาด หมี่หม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามแก่เกือบเป็นสีดำ ชาวบ้านมักเรียก "ผ้าดำ" หรือ "ซิ่นดำ"

ความโดดเด่นของชุมชนด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

กลุ่มทอผ้าบ้านท่าเชียงเครือได้นำเอาวัฒนธรรมการทอผ้าแบบภูไทมาผสมผสานกับวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของตนที่มีความสัมพันธ์กับลำน้ำฮี้ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา จึงได้ออกแบบลวดลายลงบนพื้นผ้าทออย่างสวยงาม ที่เรียกว่า “ผ้ามัดหมี่ลายสาวภูไทล่องน้ำฮี้” เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตที่แท้จริงของชาวภูไทบ้านท่าเชียงเครือ ตามคำที่ว่า “ท่าเชียงเครือคือบ้าน ถิ่นฐานแห่งภูไท นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ลมหายใจแห่งน้ำฮี้ ประเพณีเซิ้งกระโด้ โอ้งามตาผ้าทอมือ”

การแต่งกาย

ผู้ชาย นิยมนุ่งกางเกงขาก๊วย สีดำ หรือนุ่งโสร่งตาหมากรุก เสื้อใช้ผ้าสีครามหรือสีดำชนิดเดียวกับกางเกง สวมเสื้อคอกลมแบบชิดคอหรือคอจีน ตัวเสื้อผ่าอกตลอด ชายเสื้อผ่าข้าง จะเป็นแขนยาวหรือสั้นก็ได้ มีผ้าคาดเอว และโพกศีรษะ

ผู้หญิง นิยมนุ่งผ้าซิ่นที่ทำจากผ้า มีลักษณะเด่น คือ การทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายนาคเล็กๆ นอกจากนี้ยังมีลายมัดหมี่อื่นๆ เช่น หมี่ปลา หมี่กระจัง หมี่ข้อ หมี่ขอ หมี่คั่นหรือหมี่ลวด ต่อหัวซิ่นและตีนซิ่นทั้งขิดทั้งจก นอกจากนี้ ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายสีขาวสลับดำ ย้อมใบครามหรือมะเกลือ เย็บต่อด้วยหัวซิ่น ตีนซิ่น

Location
Province Bueng Kan
Details of access
Reference นาฎนภา ผลจันทร์ Email bkcul@hotmail.co.th
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่