ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 20° 6' 43.9999"
20.1122222
Longitude : E 100° 30' 49"
100.5136111
No. : 196791
ฟ้อนเบิกฟ้าเวียงแก่น
Proposed by. เชียงราย Date 30 June 2022
Approved by. เชียงราย Date 30 June 2022
Province : Chiang Rai
0 264
Description

ฟ้อน เป็นภาษาเหนือ หมายถึง การร่ายรำ เพื่อบูชาสิ่งต่างๆ อันเป็นศิลปะล้านนาของไทยฝ่ายเหนือ ส่วนใหญ่จะเป็นการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นชุด ๆ ไม่ดำเนินเป็นเรื่องราว โดยเอกลักษณ์ของการฟ้อน คือการจีบนิ้วที่มีความอ่อนช้อยไปพร้อมๆกับท่าทางกรีดกรายรายรำ โยกตัวไปตามท่วงทำนองเพลงในสมัยโบราณฟ้อนใช้แสดงประกอบเฉพาะในวันสำคัญในพระราชพิธีและพระราชฐานเท่านั้น เช่นในคุ้มหลวง ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ศิลปะการฟ้อนอยู่ที่ความพร้อมเพรียงและความอ่อนช้อยของท่าฟ้อนเป็นสำคัญ การฟ้อนได้ถือว่าเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมและขนบประเพณีชาวเหนือ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะทั้งการแต่งกาย จังหวะ และลีลา ท่าทางการฟ้อนรำ เพลงและดนตรีที่ใช้ประกอบ จึงนับเป็นศิลปะและ วัฒนธรรมของชาวภาคเหนือที่ทรงคุณค่าอย่างแท้จริง

เบิกฟ้า หมายถึง เปิดทางไปสู่ความดี ฝึกฟื้นใจเมือง ฟื้นฟูจิตใจชาวเมืองให้พ้นจากความทุกข์

ตามตำนานสิงหนวัติ กล่าวถึงสมัยอาณาจักรล้านนา บริเวณอำเภอเวียงแก่นปกครองโดยเจ้าหลวง
เวียงแก่น มีชายาชื่อ เจ้านางแว่นเตียม มีโอรส 1 องค์ คือ เจ้าองค์คำ เจ้าหลวงเวียงแก่นปกครองเมือง ไพร่ฟ้า ประชาชน ด้วยความสันโดษ ต่อมาพญามังรายได้รวบรวมอาณาจักรล้านนาให้เป็นปึกแผ่นเพื่อผนึกกำลังไว้ต่อสู้กับกองทัพมองโกล พระองค์จึงได้ยกทัพตีเมืองต่างๆ ในแถบแม่น้ำอิงมาจนถึงเมืองเวียงแก่น เจ้าหลวงเวียงแก่นได้รบกับพญามังราย ด้วยความรักและความหวงแหนแผ่นดินแต่กำลังทหารฝ่ายเจ้าหลวงเวียงแก่นมีน้อยจึงเป็นผู้แพ้ในการศึก ในการต่อสู้ดังกล่าวต่างฝ่ายต่างล้มตายเป็นจำนวนมากทำให้เกิดเลือดไหลนอง เมื่อเจ้าหลวงเวียงแก่นได้เห็นผู้คนล้มตายจำนวนมากมายเช่นนั้นจึงเกิดเป็นลมหมดสติสิ้นใจไปการรบ ปัจจุบันเรียกที่แห่งนั้นว่า “ทุ่งคาว” อยู่บริเวณบ้านหล่ายงาวในปัจจุบัน จากนั้นเมืองเวียงแก่นจึงร้างไป

พิธีบวงสรวงเจ้าหลวงเวียงแก่น เป็นพิธีที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์
ปีใหม่เมืองของชาวล้านนา โดยมีการสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ รวมทั้งสรงน้ำรูปหล่อเจ้าหลวงเวียงแก่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่เป็นที่เคารพนับถือ ที่เป็นผู้สร้างเมืองเวียงแก่นมากว่า ๗๐๐ ปีเป็นการดำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ที่ชาวเวียงแก่นยึดนำมาปฏิบัติในช่วงสงกรานต์ปีใหม่เมือง หลังเข้าวัดทำบุญ ขอพรปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ให้ความเคารพนับถือแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนรวมทั้งหน่วยงาน ชุมชนทุกหมู่เหล่า จะร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงขอพร และสงฆ์น้ำรูปหล่อเจ้าหลวงเวียงแก่นเพื่อเป็นศิริมงคล พร้อมทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระสงฆ์

พิธีบวงสรวงเจ้าหลวงเวียงแก่น จะมีการฟ้อนรำที่เรียกว่า “ฟ้อนเบิกฟ้าเวียงแก่น” เป็นพิธีการรำถวายเพื่อสักการะบูชาเจ้าหลวงเวียงแก่น บทเพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนเบิกฟ้าเวียงแก่นจะเป็นเพลงที่ขับร้องเรื่องราวเกี่ยวกับอำเภอเวียงแก่น ท่าฟ้อนรำจะสื่อออกมาตามความหมายของเนื้อเพลง นางรำเป็นสตรี กลุ่มเด็ก เยาวชน และกลุ่มแม่บ้าน ในอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

Location
No. 13 Moo หมู่ที่ 5 บ้านยายใต้
Tambon ม่วงยาย Amphoe Wiang Kaen Province Chiang Rai
Details of access
Reference นางสาวขนิษฐา วรรณศรี
No. 13 Moo หมู่ที่ 5 บ้านยายใต้
Tambon ม่วงยาย Amphoe Wiang Kaen Province Chiang Rai ZIP code 57310
Tel. 089-9594733
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่