ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 50' 59.438"
17.8498439
Longitude : E 102° 24' 35.5234"
102.4098676
No. : 196850
พิธี กำฟ้า
Proposed by. หนองคาย Date 7 July 2022
Approved by. หนองคาย Date 7 July 2022
Province : Nong Khai
0 459
Description

ชาว “ไทยพวน” ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ตาก สืบสานพิธีกำฟ้า เผาข้าวหลามทิพย์ จี่ข้าวจี่ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความรักสามัคคี เคารพต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี เพื่อวิถีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุข กำหนดให้มีขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำฟ้าประจำทุกปี กิจกรรมที่ชาวไทยพวนถือปฏิบัติกันในระหว่างวันกำฟ้า คือ จะร่วมกันทำบุญตักบาตร พิธีสักการบูชาท้องฟ้า เพื่อแสดงกตเวทิตาต่อฟ้าที่ท่านได้คุ้มครองให้มีอายุยืนยาว ให้อยู่ดีกินดี มีฝนตกต้องตามฤดูกาล มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ โดยจะเผาข้าวหลามทิพย์และจี่ข้าวจี่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ มอบให้กับแขกผู้มาเยือน และบริโภคในครัวเรือนเพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยังมีการแสดงของลูกหลานชาวไทยพวน

ประเพณี“พิธีกำฟ้า”พิธีบูชาฟ้า เคารพฟ้าจะทำในเดือน ๓ (ขึ้น ๓ ค่ำ)ประเพณีกำฟ้าเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวไทยพวนทุกแห่งได้ยึดถือปฏิบัติต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คำว่า"ประเพณีกำฟ้า"มีความหมายดังนี้

คำว่า"กำ"ในภาษาพวน หมายถึง การนับถือสักการะ

คำว่า"ฟ้า"หมายถึงเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน หรือผู้ที่อยู่สูงเทียมฟ้า คือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจมองเห็นได้

คำว่า"กำฟ้า"หมายถึงการนับถือฟ้า สักการบูชาฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนโดยเชื่อกันว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากเทวดาผู้รักษาฝากฟ้า แล้วเทวดาจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
คำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่มีว่า สาเหตุที่เกิดประเพณีกำฟ้า เพราะชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาจึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวว่าฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือฟ้าจะผ่าคนตาย เพื่อผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ ยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งหมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ ความมีชีวิตของคน สัตว์และพืชต่างๆ จึงเกิดเป็นประเพณีกำฟ้าขึ้น แต่เดิมวันกำฟ้าถือกำหนดเอาวันที่มีผู้ได้ยินเสียงฟ้าร้องครั้งแรกในเดือน 3 เป็นวันเริ่มประเพณีกำฟ้า เพราะถือกันว่าเป็นวันที่ฟ้าเปิดประตูน้ำ แต่การยึดถือในวันดังกล่าว มักมีข้อผิดพลาดเกิดการโต้แย้ง กัน เนื่องจากบางคนไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง ต่อมาได้กำหนดเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันเตรียมงาน วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำฟ้า สัตว์เลี้ยงที่เคยใช้งานก็จะให้หยุดการทำงาน ในวันนี้ถ้าใครทำงานชาวไทยพวนเชื่อว่าจะเกิดพิบัติต่างๆ ฟ้าจะลงโทษโดยถูกฟ้าผ่า ห้ามไม่ให้พูดคำหยาบคาย ในช่วงเวลากำฟ้าผู้สูงอายุในครอบครัวจะคอยฟังฟ้าร้อง เพื่อพยากรณ์ความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพในหมู่บ้าน

สำหรับชาวไทยพวนโพธิ์ตาก จากคำบอกเล่าของนางทองไพ คำภูแก้ว

พิธีกรรม แบ่งออกเป็น ๓ ช่วงเวลา

(๑) ๐๔.๐๐-๐๕.๐๐ น.ครัวเรือน จะนำขี้วัว ขี้ควาย ไปใส่นา และในวันนี้ห้ามมิให้ทำกิจกรรมที่ส่งเสียงดัง เช่นเคาะ ตอก ตี

(๒) ขั้นเตรียมการ“ทำข้าวจี่” “ข้าวหลาม”โดยการนำข้าวสาร วัสดุประกอบ มารวมกัน ทำที่วัด เพื่อปรุงเป็นเครื่องบวงสรวง

ชาว “ไทยพวน” ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ตาก สืบสานพิธีกำฟ้า เผาข้าวหลามทิพย์ จี่ข้าวจี่ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความรักสามัคคี เคารพต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี เพื่อวิถีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุข กำหนดให้มีขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำฟ้าประจำทุกปี กิจกรรมที่

ชาวไทยพวนถือปฏิบัติกันในระหว่างวันกำฟ้า คือ จะร่วมกันทำบุญตักบาตร พิธีสักการบูชาท้องฟ้า เพื่อแสดงกตเวทิตาต่อฟ้าที่ท่านได้คุ้มครองให้มีอายุยืนยาว ให้อยู่ดีกินดี มีฝนตกต้องตามฤดูกาล มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ โดยจะเผาข้าวหลามทิพย์และจี่ข้าวจี่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ มอบให้กับแขกผู้มาเยือน และบริโภคในครัวเรือนเพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยังมีการแสดงของลูกหลานชาวไทยพวน มีการร่วมกิจกรรมการละเล่น รื่นเริงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โกงเกว (ขาโถกเถก) โก่งโกะ (เดินบนกะลามะพร้าว) เงินโยนหลุม, ดีดแก่นขาม จูมบาน (ลักษณะคล้ายกับม้าหมุน), ตากะโหลก, โยนสะบ้า, กิ่งก่องแก้ว และขี่ม้าหลังโปก ซึ่งเป็นการละเล่นที่เด็กๆสมัยใหม่ไม่เคยรู้จัก ซึ่งเด็กและเยาวชนภายในหมู่บ้านต่างให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลินให้กับเด็กๆ

Location
Amphoe โพธิ์ตาก Province Nong Khai
Details of access
Reference นางฐิติชญาน์ รัสเซลล์
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย
Province Nong Khai
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่