ภาษาไทยพวน เป็นภาษาหนึ่งในเจ็ดกลุ่มใหญ่และได้สืบทอดมาจากยูนาน - เชียงแสน ในราว ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในปัจจุบันนี้จากแผนที่ประเทศไทย จากแผนที่ภาษาในประเทศไทย ปรากฏว่า มีผู้พูดภาษาพวนในประเทศไทยตามท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้ คือ ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิจิตร แพร่ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เลย หนองคาย และอุดรธานี ปัจจุบันภาษาไทยพวนมีเสียงต่าง ๆ เสียงสูง-ขึ้น ,สูง-ตก ต่างจากภาษาไทย อักษรไทยพวน ใช้ในการบันทึกเรื่องราวในศาสนาหรือคัมภีร์อัมศักดิ์ เรียกว่า “อักษรธรรม หรือตัวธรรม” ส่วน “อักษรไทยน้อย” ใช้เขียนเรื่องราวทางโลก เช่น การะเกด สุริวงศ์ และชาวพวนจะนิยมนำเรื่องราวเหล่านี้ที่เขียนด้วยอักษรไทยน้อยมาอ่านในการอยู่เป็นเพื่อนศพ เรียกว่า “งันเฮือนดี” โดยใส่ทำนองและลีลาที่ไพเราะ น่าฟังเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอักษรทั้ง ๒ ชนิดนี้มีผู้เฒ่าเป็นส่วนใหญ่ของชาวพวนสามารถอ่านได้เป็นอย่างดี
สำหรับภาษาสระแอ “เป็นภาษาประจำเผ่าไทยพวนของเรามีมาแต่ช้านานแล้ว ศูนย์
๓ วัย ได้รณรงค์ฟื้นฟูให้นำกลับมาใช้ และอนุรักษ์เอาไว้ เด็กๆก็สนใจอยากรู้อยากเรียน มีการนำภาษาไทยพวนสระแอไปสอนในโรงเรียน เพราะก่อนหน้านี้ภาษา สระแอใกล้จะสูญหยแล้ว เพราะเด็กรุ่นหลังไม่รู้จัก เด็กรู้จักแต่คำพูดใหม่ๆ ตามยุคตามสมัย ตอนนี้มีการฟื้นฟูกลับมาอีกครั้ง ทางศูนย์ ๓ วัย ให้พ่อแม่ หัดลูกพูด สอนให้ลูกพูด ให้เด็กได้ซึมซับ จึง จะเห็นได้ว่าภาษา สระแอมีคนนิยมพูดกันมากในชุมชนของเรา" คำขวัญของตำบลโพธิ์ตาก คือ “หลิ่นเเถ่ ล้าวเเข้ เล่าเเม้ เหล่าเเผ่ ไลเเท ลวนเเพ หลากเเหละ ล้วนเเล้ หล่ะเเป่ะ เลเเพ ลีเเน ละเเสะ ลีเเต ลุดเเสะ หลวยเเส ล่ำเเร้ ลวยเเร ลัดเเว ละเเนะ ลำเเท” แปลได้ว่า “ถิ่นข้าวเม่า เผ่าไทยพวน หลากล้วนประเพณี สตรีสดสวย ร่ำรวยวัฒนธรรม”
ภาษาพูด “ภาษาไทยพวน และภาษาไทผะเลอ” (ปัจจุบันยังคงใช้กันอยู่) เป็นภาษาที่ออกเสียง หรือสำเนียงการพูดคล้าย ภาษาลาวของคนเวียงจันทน์ นอกจากนี้ยังมี “ภาษาสระแอ” ซึ่งเคยใช้กันในชนเผ่าไทยพวนโบราณ มีใช้ในเผ่าพวนบ้านโพธิ์ตากเผ่าเดียวในประเทศไทย