ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 40' 15.3973"
15.6709437
Longitude : E 99° 27' 11.2108"
99.4531141
No. : 197555
ประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์
Proposed by. นครสวรรค์ Date 4 October 2022
Approved by. นครสวรรค์ Date 4 October 2022
Province : Nakhon Sawan
0 602
Description

ในอดีตตั้งแต่ช่วงปลายของทศวรรษ 2510 ประเพณีบุญบั้งไฟ ในพื้นที่อำเภอแม่เปิน
มีการจัดขึ้นมาแล้วแต่จะเป็นการจัดเล็ก ๆ จัดแยกกันของหมู่บ้านใครหมู่บ้านมัน เมื่อมีคนอีสานเข้ามาอยู่ในแต่ละหมู่บ้านมากขึ้นทำให้มีกำลังและจับกลุ่มกันทำบั้งไฟขึ้นได้ ในช่วงแรกหมู่บ้านบางหมู่บ้านที่มีประชากรน้อยก็ใช้วิธีไปเข้าร่วมกับหมู่บ้านข้างเคียงก่อน แต่ในปีต่อมาไม่นานเมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านมากขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่และก็มีผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นผู้นำของหมู่บ้านก็ได้พูดคุยปรึกษาและชักชวนคนในหมู่บ้านให้มีบุญบั้งไฟขึ้นตามความเชื่อที่ตนมีและได้เคยปฏิบัติมาตลอด ทั้งเพื่อความสบายใจและมีกำลังใจในการทำไร่ไถนาต่อไป เพราะอย่างน้อยก็ได้ปฏิบัติตามประเพณีความเชื่อของตนที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

ในการเตรียมจัดงานบุญบั้งไฟนั้น ก่อนถึงเดือนพฤษภาคมผู้นาหมู่บ้านและผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน จะเรียกชาวบ้านมารวมกันและปรึกษาหารือกันว่างานควรจัดขึ้นวันใด ใครรับผิดชอบทำหน้าที่อะไร และถ้าได้มติว่าจัดงานวันไหนก็จะทำการส่งข้าวให้หมู่บ้านข้างเคียงรู้เพื่อเชิญมาร่วมงานรวมทั้งการส่งบั้งไฟมาจุดด้วย ซึ่งสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางใช้ประชุมในเรื่องต่าง ๆ และใช้เป็นสถานที่ในการจัดงานของแต่ละหมู่บ้านก็คือที่วัดในหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านใช้รวมตัวกันมาตั้งแต่ในอดีต เพราะเป็นแหล่งรวมความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งการทำบั้งไฟด้วยโดยบั้งไฟที่ชาวบ้านนิยมทำในช่วงนี้คือ บั้งไฟฮ้อยหรือบั้งไฟร้อย เป็นบั้งไฟขนาดเล็กกระบอกบั้งไฟมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2 นิ้ว ลำตัวบั้งไฟจะยาวไม่เกิน 45 นิ้ว และบรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม แต่ก่อนจะใช้ไม้ไผ่มาเจาะทะลุปล้องไว้ทำเป็นกระบอกบั้งไฟ แต่ช่วงหลัง ๆ ประมาณช่วงปลายทศวรรษ 2530 ก็เริ่มพากันเปลี่ยนมาใช่ท่อ PVC แทนเพราะมันมีความทนทานต่อแรงอัดสูงกว่ากันเยอะ ยามเมื่ออัดดินปืนลงไปมาก ๆ ไม่แตกงำย แถมยังขึ้นได้สูงกว่าบ้องที่ทาจากไม้ไผ่

งานวันแรกหรือวันโฮมชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ไปศาลปู่ตาของหมู่บ้านเพื่อทำพิธีและ
จุดบั้งไฟขนาดเล็กที่เรียกว่า "บั้งเสี่ยง" เพื่อทำนายถึงความอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จในการทำนา ในปีนั้น โดยในตอนเช้าแต่ละคุ้มนำบั้งไฟที่ประดับตกแต่งสวยงามจากวัสดุที่หาได้ในหมู่บ้านทำเป็นรูปพญานาคแบบต่าง ๆ แห่ไปรวมกันที่วัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการจัดงาน มีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัดและผู้มาร่วมงาน จากนั้นในตอนบ่ายจึงจะเริ่มแห่บั้งไฟเวียนรอบโบสถ์หรือศาลาการเปรียญ 3 รอบ แล้วแห่ไปทำพิธีที่ศาลปู่ตา ระหว่างที่แห่ไปนั้น ก็มีการเซิ้ง และการละเล่นต่าง ๆ ที่มีลักษณะทะลึ่งลามก แต่งตัวแปลก ๆ อย่างผู้ชายก็จะแต่งเป็นหญิง บางคนก็เอาโคลนหรือขี้ตมมาทาตัวทาหน้า พอเสร็จพิธีจึงทำการจุดบั้งไฟที่เรียกว่า "บั้งเสี่ยง" เพื่อทำนายความเป็นไปของฝนและความอุดมสมบูรณ์ จากนั้นก็แห่ขบวนกลับวัดเพื่อนำบั้งไฟไปเก็บไว๎ที่วัดเพื่อเตรียมสำหรับการจุดในวันรุ่งขึ้น จากนั้นชาวบ้านต่างแยกย้ายกลับบ้าน และเตรียมอาหารมาทานฉลองร่วมกันในตอนค่ำจากนั้นก็ร้องรำทำเพลงกันไป

ส่วนวันที่สองหรือวันจุดนั้น ชาวบ้านมารวมตัวกันประมาณเวลา 09.00 น. เพื่อทำการขน
บั้งไฟไปยังสนามจุดบั้งไฟซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นทุ่งนาบริเวณหลังวัดที่เป็นลานกว้าง จากนั้นชาวบ้านก็จะทำการจุดบั้งไฟบั้งแรกของวัน ซึ่งเป็นบั้งถวายแดํพญาแถน เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและให้พืชผลงอกงามอุดมสมบูรณ์ โดยบั้งไฟที่ชาวบ้านนิยมทำมาจุดในช่วงนี้คือ บั้งไฟฮ้อยหรือบั้งไฟร้อย จากนั้นจึงเป็นการจุดบั้งไฟบั้งอื่น ๆ ของช่างบั้งไฟแต่ละคน หรือแต่ละคุ้ม บ้างก็มีของช่างจากหมู่บ้านอื่นร่วมด้วย ชาวบ้านเข้ามาร่วมกันทาย่าบั้งไหนจะขึ้นสูงหรือไม่ขึ้นเลย ถ้าบั้งไหนขึ้นสูงก็พากันแห่ช่างบั้งไฟเจ้าของสูตรรอบฐานบั้งไฟและโยนขึ้นอย่างสนุกสนาน แต่หากบั้งของเจ้าของคนไหนไม่ขึ้นหรือแตกก็จับช่างเจ้าของสูตรคนนั้นโยนลงตม พอจุดเสร็จหมดทุกบั้งแล้วจึงมารวมตัวกันเพื่อเลี้ยงฉลองกัน ซึ่งงานบุญบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้านที่จัดนั้นจะไม่ได้ใหญ่โตและจัดแบบนี้มาจนถึงปี พ.ศ. 2541 และช่วงนี้เองยังไม่มีการพนันเด่นชัดนักแต่จะเริ่มมีในช่วงปลาย ๆ ก่อนการเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานไม่กี่ปี

งานบุญบั้งไฟอำเภอแม่เปิน เริ่ม ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕42 โดยตั้งแต่ช่วงปลายของทศวรรษ 2510 จนถึงปี 2541 แต่ก่อนนั้นไม่ได้ทำรวมกันทั้งอำเภอจะเป็นความเชื่อของแต่ละหมู่บ้านและ
ได้ระดมทุนทรัพย์แต่ละหมู่บ้าน จะจัดงานบุญบั้งไฟภายในเดือนพฤษภาคม (งานบุญเดือนหก) ของทุกปี ต่อมาแต่ละหมู่บ้านเมื่อทำงานบุญบั้งไฟ มักจะของบประมาณเพิ่มเติมจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ได้มีนายประดิษฐ์ พระอำพร นายสุบรรณ แก่นสงค์ นายสุริยนต์ ดอนหมื่น ได้ไปปรึกษานายภิณโญ นิโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ เวลานั้น ได้ให้แนวคิดการทำงานบุญบั้งไฟ ว่าทำอย่างไร จึงจะสามารถอนุรักษ์ประเพณีงานบุญบั้งไฟวัฒนธรรมของพี่น้องอีสานไว้ได้ จึงเกิดเป็นแนวคิด คือการจัดรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ปีละหนึ่งครั้ง สถานที่เป็นบริเวณสนามกีฬาอำเภอแม่เปิน จนได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นทุก ๆ ปี บางปีได้ให้นักจัดงานมาดำเนินการ 9 วัน 9 คืน ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าควรรวมตัวกันทำเอง

ปี พ.ศ. 2542 การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีหน่วยงานราชการในท้องถิ่นเข้ามาให้การสนับสนุนในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ และเป็นปีที่การปกครองส่วนท้องถิ่นของตำบลแม่เปิน จึงมีการเสนอในการประชุมแผนการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นว่าให้ชาวบ้านทุกหมู่บ้านจัดงานบุญบั้งไฟรวมกันทุกหมู่บ้าน เพื่อทำให้ทุกคนในชุมชนแม่เปินได้เชื่อมเข้าหากันมากขึ้น โดยมีมติว่าให้เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.2542 การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟของชาวบ้านจะเป็นการจัดรวมกันทุกหมู่บ้าน และให้เป็นงานประจำปีของตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมทุกหมู่บ้านให้มาจัดรวมกันที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอแม่เปิน และจัดงานขึ้นภายในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมในทุก ๆ ปี มีการเพิ่มกิจกรรมบางอย่างขึ้นมาด้วยเพื่อความสนุกสนานและเพื่อได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ของชาวบ้านด้วย เช่น วันแรกจะมีการแข่งขันประกวดขบวนแห่ที่มีความสร้างสรรค์ การเอ้บั้งไฟสวยงาม และการประกวดรำเซิ้งของแต่ละหมู่บ้าน ส่วนวันสุดท้ายจะเป็นการนำบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งขันกัน จนเป็นประเพณีทำต่อ ๆ มาทุกปี

กล่าวคือรูปแบบการจัดงานระหว่างอดีตและปัจจุบัน คือมีด้วยกันสองวันเหมือนเดิม แต่ได้เพิ่มการประกวดการแข่งขันต่าง ๆ เข้ามาเพื่อความสนุกสนาน และความร่วมมือร่วมใจสามัคคีกัน ทั้งการร่วมแสดงความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ของชาวบ้านด้วย เช่น การแข่งขันประกวดขบวนแห่สวยงาม การเอ้บั้งไฟ การประกวดรำเซิ้งของแต่ละหมู่บ้าน และตั้งแต่งานบุญบั้งไฟปี พ.ศ. 2558 มาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงานจากสนามที่หน้าว่าการอำเภอแม่เปินมาจัดที่อ่างเก็บน้ำคลองโพธิ์หรือที่เขื่อนคลองโพธิ์แทน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น และมีพื้นที่เพียงพอในการรองรับคนที่เข้ามาร่วมงาน

โดยวันแรกหรือวันโฮมนั้นยังคงเป็นวันแห่บั้งไฟเหมือนแต่เดิม ต่างกันตรงที่ว่าในช่วงเช้านั้น แต่ละหมู่บ้านจะนิมนต์พระสงฆ์มาเลี้ยงภัตตาหารเช้าที่ศาลากลางหมู่บ้านก่อน เมื่อเสร็จแล้วตัวแทนของหมู่บ้านก็จะทำพิธีกรรมบอกกล่าวกับศาลปู่ตา ว่าทางหมู่บ้านนั้นจะเดินทางไปร่วมงานประเพณีบุญบั้งไฟประจำตำบล/อำเภอที่ทุกคนร่วมกันจัดขึ้น แล้วก็รำเซิ้งถวายแก่ศาลปู่ตา จากนั้นชาวบ้านทุกหมู่บ้านก็จะพากันตั้งขบวนแห่จากหมู่บ้านของตนไปยังสถานที่ที่จัดงาน แล้วตั้งขบวนแห่อีกรอบและเดินแห่เข้าไปยังสนามบั้งไฟที่จัดงานทีละหมู่บ้านจนครบ ซึ่งในขบวนแห่ของแต่ละหมู่ก็จะนำแห่ด้วยขบวนรำเซิ้งประกอบดนตรีอีสาน บนขบวนรถก็เป็นท้าวผาแดงกับนางไอํนั่งอยู่บนม้าที่ชาวบ้านทำขึ้น และที่ขาดไม่ได้ก็จะเป็นขบวนที่ละเล่นประกอบเนื้อหาสาระต่าง ๆ อย่างสนุกสนานที่มีทั้งตลกขบขัน

เมื่อเดินทางเข้ามายังหน้าปะรำพิธีจนครบทุกหมู่บ้านแล้วก็จะทำพิธีเปิดตามฤกษ์ยาม
พอเสร็จพิธีทุกหมู่บ้านก็จะรำเซิ้งไปพร้อมกันเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย หลังจากนั้นก็จุดบั้งเสี่ยงก็คือจุดบั้งไฟเพื่อที่จะเสี่ยงทายว่าฝนปีนี้จะดีหรือจะแล้ง พืชพันธุ์จะอุดมสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งบั้งไฟที่ใช้จุดเสี่ยงทายก็จะใช้บั้งไฟหมื่น โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่าถ้าบั้งไฟขึ้นสูงสวยงามไม่แตกปีนี้ฝนก็จะไม่แล้ง พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ดี แต่ถ้าบั้งไฟขึ้นต่ำ หรือแตก หรือไม่ขึ้นเลย ฝนปีนั้นก็จะน้อยไม่ก็แห้งแล้ง พอเรียบร้อยแล้วเป็นอันเสร็จพิธีในช่วงเช้า

ช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมประกวดรำเซิ้งบั้งไฟของทุกหมู่บ้าน ด้วยความที่มีอยู่หลายหมู่บ้าน
จึงทำให้แต่ละปีนั้นการแข่งขันยาวไปจนถึงเย็น พอรำจนครบทุกหมู่บ้าน ชาวบ้านทุกคนก็จะพากันกลับบ้านมาอาบน้ำทำกินข้าวกัน แล้วจึงเดินทางมาชมหมอลำที่ทางองค์การบริหารส่วนตาบลแม่เปินได้จ้างมาแสดงในตอนกลางคืนและในปีหลัง ๆ มานี้ได้มีการจ้างคณะหมอลำคณะใหญ่ เช่น ประถมบันเทิงศิลป์ หนูพาน สมจิตร บ่อทอง เป็นต้น พร้อมกับการประกาศรางวัลต่าง ๆ ที่ได้แข่งขันไป

ในส่วนของวันที่สองนั้นเป็นวันจุด ก็ดำเนินตามรูปแบบคล้ายเดิม ก็คือในเวลาประมาณ 09.00 น. ก็จะจุดบั้งไฟบูชาพญาแถน และต่อด้วยการจุดบั้งไฟแข่งขันของแต่ละหมู่บ้าน พร้อมทั้งการแสดงของวงหมอลำซิ่งที่ได้จ้างมา โดยบั้งไฟที่ใช้จุดบูชาทั้งสองวันนั้นในปีแรก ๆ ของ ช่วงที่สองนี้จะเป็นบั้งไฟหมื่น และใช้บั้งไฟแสนในระยะต่อมา จนปี พ.ศ. 2556 ได้พัฒนามาเป็นบั้งไฟล้านที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม มาจนถึงปัจจุบัน และปี พ.ศ. 2558 มีการเพิ่มตะไลล้านเข้ามาในการจุดเปิดงานวันแรก แต่การจุดบั้งไฟแข่งขันของชาวบ้านนั้นยังคงใช้เป็นบั้งไฟหมื่นเพราะต้นทุนไม่แพงมาก

ประชาชนตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณร้อยละ 85 เป็นกลุ่มชาติพันธ์ไทย-อีสาน ที่อพยพมาจากภาคอีสานมาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก ในความเชื่อจึงต้องจุดบั้งไฟ ในช่วงต้นฤดูฝนหรือประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี เพื่อขอฝนและให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยนิยมทำกันในเดือนหกถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-อีสาน พอใกล้ถึงวันงานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดีโดยคนในหมู่บ้านให้ความสำคัญและทุ่มเทกับประเพณีบุญบั้งไฟ โดยจะร่วมแรงร่วมใจกันในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ปราชญ์ชาวบ้านในหมู่บ้านแก่ลูกหลาน เช่น จักสานไม้ไผ่เป็นรูปต่าง ๆ การทำม้าในขบวนผาแดงนางไอ่นั่ง และการใช้ศิลปะความรู้ต่าง ๆ มาใช้ในการประดิษฐ์และตกแต่งบั้งไฟสวยงาม

Location
Tambon แม่เปิน Amphoe Mae Poen Province Nakhon Sawan
Details of access
Reference อวยพร พัชรมงคลสกุล Email paitoog@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่