นางสาวกิติมา มะสูละ มีความรู้ความชำนาญในด้านการทำผ้าบาติก สามารถวาดได้หลายลวดลาย เช่น เขียนลวดลายดอกไม้ ลวดลายปะการัง และลวดลายรูปสัตว์ ฯลฯ โดยนางสาวกิติมา มะสูละ เล่าว่า บาติก (BATIK) เป็นภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ หลักในการทำผ้าบาติกแต่โบราณมีวิธีการทำ โดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติดไว้และใช้วิธีย้อมให้สีติดผ้าในส่วนที่ไม่มีเทียนปิด ต่อมาพัฒนาเป็นการแต้มสี ระบายสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจผ่านการปิดเทียน แต้มสีและระบายสี ย้อมสีนับสิบครั้ง ถึงจะได้ผ้าที่มีความสวยงามและนำไปใช้ได้
องค์ประกอบ/ส่วนประกอบ
๑. ปากาเขียนเทียน ๒. ขี้ผึ้งหรือเทียน ๓.ดินสอ ๔. แบบลาย ๕. ผ้า
๖. สีบาติก ๗. กรอบไม้ ๘. น้ำยาโซเดียมซิลิเกต ๙. เตาสำหรับต้มเทียม
กระบวนในการผลิต
1) ร่างรูปหรือลอกลงบนผ้า
2) ขึงผ้าติดกับกรอบไม้หรือเฟรม โดยขึงให้ตึงเพื่อสะดวกในการเขียนเทียน
3) เขียนเทียน การเขียนเทียนต้องให้เส้นเทียนคมชัดและซึมเข้าในเนื้อผ้าอย่างที่สุดเพื่อกันเทียนแตกหรือสีซึมออกมานอกลาย เวลาเขียนเทียนควรใช้ผ้าหรือกระดาษรองรับเพื่อไม่ให้เทียนหยดส่วนอื่น
4) การระบายสี เป็นขั้นตอนการสร้างความสวยงามของงานบาติกมากที่สุด ควรระวังในการระบายสีเพื่อไม่ให้หยดส่วนอื่นๆที่ไม่ต้องการและควรระบายสีด้วยความประณีต
5) การเคลือบน้ำยากันสีตก (ซิลิเกต) การทาหรือชุบน้ำมัน ผ้าที่ระบายสีเรียบร้อยนั้นควรให้สีแห้งสนิทถ้าสีที่ระบายไม่แห้งสนิทจะทำให้สีที่ไม่แห้งสนิทเปื้อนออกมาไปส่วนอื่นได้ การเคลือบน้ำยาควรเก็บไว้ประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง แล้วนำไปซักด้วยน้ำเปล่า 3 - 4 ครั้งแล้วแช่ด้วยน้ำไว้สักประมาณ 1 - 2 ชั่วโมงเพื่อให้น้ำขับสีเหลือหมดไป
6) นำผ้ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ตามลูกค้าต้องการต่อไป