ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 26' 16.1664"
13.4378240
Longitude : E 99° 56' 33.7412"
99.9427059
No. : 197766
แมวไทยโบราณ
Proposed by. สมุทรสงคราม Date 28 Febuary 2023
Approved by. สมุทรสงคราม Date 28 Febuary 2023
Province : Samut Songkhram
1 1876
Description

แมวไทย (Siamese Cat)มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Felisksilvestris แมวไทยจัดเป็นแมวพันธุ์แท้ที่สืบเชื้อสายมาจากแมวโบราณ เป็นสัตว์ขนสั้นที่สวยสง่าที่สุดในโลก เลี้ยงลูกด้วยนม กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคม สามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ โดยทั่วไปศีรษะไม่กลมหรือแหลมจนเกินไป หน้าผากกว้าง จมูกสั้น หูตั้งสั้น ลำตัวเพรียวบาง รูปร่างขนาดปานกลาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว ขนแน่นอ่อนนุ่มไปทั้งเรือนร่าง หางยาวโคนใหญ่ ปลายหางเรียวแหลมชี้ตรงและมีสีสันงดงามแปลกตา

แมวไทยมีอุปสัยที่โดดเด่นคือ มีความฉลาด รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้านรักเจ้าของ และเหนือสิ่งอื่นใดคือความรักอิสระเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นว่าแมวไทยเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ที่จะทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้รู้จักประเทศไทย จึงได้พระราชทานแมวไทย ให้ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษในปี พ .ศ. 2427 ประเทศอเมริกาในปี พ.ศ. 2433 ประเทศอังกฤษทรงมอบแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ นายโอเวน กูลด์ กงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย เมื่อลากลับไปประเทศอังกฤษ นายโอเวน กูลด์ ได้นำแมวไทยไปฝากน้องสาวที่ประเทศอังกฤษ รุ่งขึ้นปี พ.ศ. 2528 ที่คริสตันพาเลซ (The Crystl Palace) กรุงลอนดอน ได้จัดประกวดแมวโลกขึ้นเป็นครั้งแรก แมวคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศ ทำให้ชาวอังกฤษพากันตื่นเต้นเลี้ยงแมวไทยกันมากขึ้น ถึงกับมีการจัดตั้งสโมสรแมวไทยในปี พ.ศ. 2443 มีชื่อว่า The Siamese Cat Clubs

ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 มีการตั้งสมาคมแมวไทยแห่งจักวรรดิอังกฤษ หรือ The Siamese Cat Society Of Beitish Empire อีกสมาคมหนึ่งและได้นำแมววิเชียรมาศจดทะเบียนเป็นสัตว์พันธุ์แท้ของโลก โดยใช้ชื่อว่า ไซมิทแคท (Siamese Cat) แล้วเผยแพร่แมวไทยไปทั่วโลก จนเป็นที่ยอมรับว่าแมวไทยเป็นแมวขนสั้นที่สวยสง่าที่สุดในโลก

แมวไทยโบราณ เป็นแมวที่เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย และถูกบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณว่ามีรูปร่าง ลักษณะและสีสันที่สวยงาม คนไทยนิยมเลี้ยงแมวมาแต่โบราณ โดยมีความเชื่อว่าแมวที่มีลักษณะดีจะให้คุณแก่ผู้เลี้ยง จะทำให้ผู้เลี้ยงมีโชคลาภ มีฐานะร่ำรวย ค้าขายได้กำไร เจริญยศศักดิ์สูงขึ้น เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป หรือได้รับสิ่งของที่เป็นมงคล ส่วนแมวที่มีลักษณะไม่ดี มีความเชื่อว่าจะให้โทษแก่ผู้เลี้ยง จึงได้มีการจดบันทึกเรื่องราวไว้ในหนังสือตำราแมว โดยรวมลักษณะที่ดีแบ่งเป็น 17 ชนิด และลักษณะร้าย 6 ชนิด ปัจจุบันแมวไทยโบราณที่มีลักษณะดีเหลืออยู่เพียง 5 ชนิด ได้แก่

1. ศุภลักษณ์หรือทองแดงมีขนเล็บ ลิ้นสีทองแดง (สีน้ำตาลเข้มคล้ายสีสนิม) ดวงตาออกเป็นลักษณะเหลืองอำพัน จะนำยศศักดิ์ให้ผู้เลี้ยง

2. แมวมาเลศหรือแมวดอกเลาปัจจุบันคือแมวสายพันธุ์โคราช หรือที่คนไทยเรียกว่า แมวสีสวาดถือเป็นแมวแห่งโชคลาภ นิยมใช้ในพิธีกรรมขอฝนเพื่อมีสีขนเหมือนเมฆฝน แมวโคราชมีขนสั้น สีกายเป็นสีดอกเลา เล็บ และหนวดสีขาว ดวงตาสีขาวใส มีเสียงก้องไพเราะ

3. วิเชียรมาศเป็นแมวที่นิยมเลี้ยงแพร่หลายมาก มีลำตัวสีขาว มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ รวมเก้าแห่ง ปัจจุบันมีการผสมสายพันธุ์ใหม่ เกิดแต้มสีแปลก ๆ มากขึ้น เช่น สีกลีบบัว นัยน์ตาแมววิเชียรมาศจะมีสีฟ้าใส มีความเชื่อว่าหากใครเลี้ยงไว้จะได้ทรัพย์สินเพิ่มพูน

4. โกนจาหรือร่องมดเป็นแมวสีดำสนิททั้งตัว มีร่องสีขาวยาวจากใต้คางไปตามท้องจนสุดทวาร นัยน์ตาสีเหลืองดอกบวบ ปากแหลม หางเรียวงาม มักเดินทอดน่อง เท้าคล้ายสิงห์

5. ขาวมณีหรือขาวปลอดเป็นแมวโบราณที่ไม่ได้อยู่ในตำราแมว แต่ถือว่ามีลักษณะดี และพบมากที่สุดในปัจจุบัน มีสีขาวทั้งตัว นัยน์ตาสีฟ้าหรือเหลืองอำพัน

แมวไทยโบราณ

1.แมวสิงหเสพย์ หรือแมวโสงหเสพยแมวชนิดนี้มีขนสีดำทั้งตัว แต่มีสีขาวอยู่บริเวณริมฝีปาก จมูกและรอบคอ นัยน์ตาสีเหลืองทอง ใครเลี้ยงไว้จะทำให้มีสมบัติเพิ่ม

2. แมวจตุบทเป็นแมวสีดำ นอกจากปลายเท้าขึ้นมาจนถึงข้อพับทั้งสี่ข้างเป็นสีขาว นัยน์ตาเป็นสีเหลืองคล้ายดอกโสน ตำราว่าแมวชนิดนี้คนธรรมดาไม่ควรเลี้ยง ควรเลี้ยงเฉพาะราชนิกูล

3. แมวเหน็บเสนียดรูปร่างพิกลพิการ โคนหางเป็นสีด่าง มักขดหางไว้ใต้ก้นเสมอ มีนิสัยโหดร้าย “แมวผีสาง” หากมันเข้าบ้านใครให้ระวังเรื่องฟืนไฟในบ้านไว้ให้ดี เพราะบ้านอาจถูกไฟไหม้พินาศวอดวายได้

4. แมวกอบเพลิงแมวนี้มีลักษณะ “หางคดขาวลายท้ายด่าง”คือ ตลอดตัวมีสีขาว แต่มีรอยด่างบริเวณท้ายลำตัว ชอบนอนซม คอยหลบหน้าผู้คนชอบทำตัวลึกลับ เชื่อว่าผู้ใดพบแมวนี้หรือมีไว้ครอบครองให้รีบปล่อยไปโดยไวที่สุด หาไม่แล้วโทษภัยจะมาถึงเรือน

5. แมวปีศาจโบราณถือว่าสัตว์เลี้ยงเพศเมีย ถ้าคลอดลูกออกมาแล้วกินลูกตัวเอง ไม่ว่าสุนัขหรือแมวห้ามเลี้ยงเด็ดขาด แมวชนิดนี้มีรูปร่างเหมือนผีร้าย ตัวผอม หนังเหี่ยวยาน หางขอด นัยน์ตาสีแดงเลือด ชอบหลบตามที่มืด กลางคืนว่องไวปานผีร้าย

6. แมวมาเลศหรือ แมวโคราชแมวเพศผู้มีสีเหมือนดอกเลา จึงเรียกแมวสีดอกเลา โดยจะต้องมีขนเรียบที่โคนขนจะมีสีขุ่นเทา ในขณะที่ส่วนปลายมีสีเงิน เป็นประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว หรือเหมือนคนผมหงอก ชื่อแมวโคราช เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศนภาลัย โดยใช้แหล่งกำเนิดของแมวเป็นชื่อเรียกพันธุ์แมว

7. แมวนิลรัตน์เป็นแมวสีดำสนิททั้งตัว ขนเป็นมันแวววาว นอกจากนั้น เล็บ ลิ้น ฟัน และนัยน์ตา ยังเป็นสีดำอีกด้วย หางเรียวยาวตวัดได้ถึงศีรษะ ค่อนข้างหายาก หากใครเลี้ยงไว้จะมีทรัพย์สินเพิ่มพูน

8. แมวหิณโทษแมวนี้เมื่อตั้งท้องแล้วลูกจะตายตั้งแต่อยู่ในท้องเสมอ ซึ่งแมวพันธุ์นี้ ต่อให้รูปร่างดี สวยสง่าเท่าไร อย่าเลี้ยงโดยเด็ดขาด หากเลี้ยงแมวพันธุ์นี้ จะมีภัยพิบัติมาสู่ผู้เลี้ยงและครอบครัว

9.แมวพรรณพยัคฆ์หรือแมวลายเสือ มีลักษณะคล้ายเสือ มีขนสีมะกอกเขียว หรือมะกอกแดง หยาบกระด้าง นัยน์ตาสีแดงดั่งสีเลือด เสียงร้องโหยหวนเหมือนเสียงผีโป่งร้องตามป่าเขา ชอบหลบซ่อนตามที่มืดในเวลากลางวัน ไม่ควรนำมาเลี้ยง เพราะจะทำให้เกิดความเดือดร้อน

10. แมวกระจอกเป็นแมวดำลักษณะคล้ายแมวสิงหเสพย์แต่ลำตัว อ้วนกลมน่ารักกว่า ขนดำเป็นมัน มีสีขาวที่รอบปากเท่านั้น ส่วนอื่น ๆ คล้ายกัน นัยน์ตาสีเหลือง ใครเลี้ยงไว้จะได้ทรัพย์สินเงินทอง เป็นไพร่จะได้กลายเป็นนาย

11. แมวเก้าแต้มเป็นแมวสีขาว มีสีดำ แต้มสีดำรวมเก้าแห่ง คือ บริเวณหัว คอ โคนขาหน้าและโคนขาหลัง หลังทั้ง 4 ข้าง ไหล่ทั้ง 2 ข้าง และโคนหาง ลักษณะแต้มสีดำนี้จะเป็นวงกลมหรือปื้นเหลี่ยมก็ได้ ปลายหางเรียวยาว สีขาวใครได้แมวเก้าแต้มไว้เลี้ยงดูก็จะทำให้ การค้าขายรุ่งเรือง ร่ำรวย คนไทยโบราณมักเลี้ยงไว้ในพระราชสำนัก

12. แมวการเวกเป็นแมวดำอีกชนิดหนึ่ง แต่ไม่ดำหมดทั้งตัว จะมีแต่ปลายจมูกที่มีแต้มสีขาวเล็กน้อยนัยน์ตาทั้งสองข้างสีเหลืองอำพันสดใส ถ้าได้เลี้ยงจะนำโชคลาภมาให้เจ้าของเปลี่ยนฐานะขึ้นไปเรื่อย ๆ

13. แมวปัศเวตหรือปัดตลอดแมวชนิดนี้มีขนสีดำเป็นมันราบเรียบ ยกเว้นปลายจมูกจนถึงปลายหางมีขาว ดวงตามีสีเหลืองดั่งพลอยสะท้อนแสง ใครเลี้ยงไว้จะช่วยชูชื่อเสียงวงศ์ตระกูลให้เป็นที่รู้จักทั่วไป

14. แมวศุภลักษณ์เรียกอีกชื่อว่า แมวทองแดง มีสีทองแดงหรือน้ำตาลแดงเข้มทั่วตัว อาจมีสีเข้มเป็นพิเศษตำแหน่งเดียวกับแมววิเชียรมาศ แมวทองแดงมีรูปร่างขนาดกลาง สง่า น้ำหนักตัวพอประมาณ ขายาวเรียวฝ่าเท้าอวบ ศีรษะค่อนข้างกลมกว้าง ด้วยสีขนออก น้ำตาลเข้ม เหมือนกับสีของทองแดง มีตาสีออกเหลือง หรือ สีอำพัน หนวดมีสีเหมือนลวดทองแดง และบริเวณตามส่วนของร่างกาย เช่นหน้า หู ปลายขา และ หางจะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณลำตัวทั่วๆ ไป แมวพันธุ์ศุภลักษณ์จะมีสีสันสะดุดตาอย่างมาก และมีความสวยงาม สมกับคำว่า “ศุภลักษณ์” ที่แปลว่าลักษณะที่ดี

15. แมววิเชียรจะมีสีพื้นสีขาวงาช้าง และมีแต้มที่จมูกครอบไปถึงปากเป็นหนึ่งแห่ง กับขาทั้งสี่ หูสอง หางหนึ่ง และที่อวัยวะเพศอีกหนึ่ง รวมเป็น 9 แห่งเช่นกัน ในแมววิเชียรมาศนี้ แต้มตามตำราว่าไว้ว่าต้องเป็นสีดำดังหมึกวาด แต่ปัจจุบันเมื่อดูให้ดีแล้วจะเป็นแต้มสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ไม่ได้ดำสนิท หรือที่ต่างประเทศเรียกว่า Seal brownหรือแต้มสีครั่ง แมววิเชียรมาศเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า แมวสยาม (Siamese Cat) แต่ต่างประเทศจะมีแต้มสีอื่นที่หลากหลายกว่า ซึ่งประเทศไทยจะยอมรับเฉพาะแมวที่มีแต้มสีน้ำตาลเข้มเท่านั้น นัยน์ตาสีฟ้าก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของแมวชนิดนี้

แมวไทยนับว่าเป็นทรัพยากรทางชีวภาพ และเป็นวัฒนธรรมอันสูงส่งของชาติไทยมาแต่โบราณกาล เปรียบเสมือนเป็นมรดกอันล้ำค่า ที่บรรพชนได้ถ่ายทอดให้อยู่คู่ผืนแผ่นดินไทย เป็นสิ่งภาคภูมิใจสู่อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชม

Category
Etc.
Location
ศูนย์อนุรักษ์แมวไทยโบราณ
Tambon แควอ้อม Amphoe Amphawa Province Samut Songkhram
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม
Reference นางนันธญา พุคคะบุตร
Organization ศูนย์อนุรักษ์แมวไทย
Tambon แม่กลอง Amphoe Mueang Samut Songkhram Province Samut Songkhram ZIP code 75000
Tel. 034718138
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่