ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 0' 19.6445"
14.0054568
Longitude : E 102° 48' 20.0959"
102.8055822
No. : 198015
แซนโฎนตา
Proposed by. สระแก้ว Date 3 August 2023
Approved by. สระแก้ว Date 3 August 2023
Province : Sa Kaeo
0 1245
Description

แซนโฎนตา

ลักษณะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม :แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล

ประวัติความเป็นมาและรายละเอียด :ประวัติแซนโฎนตา มีความยาวนานมาเป็นพันพันปีมาแล้ว โดยมีต้นกำเนิดมาจากพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ ที่ทำพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย พ่อแม่ โดยชาวเขมร

เห็นแนวทางในการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว จึงเป็นแนวคิดอย่างหนึ่งในการจัดทำบุญอุทิศส่วนกุศล กรวดน้ำทำบุญไปให้ผีญาติที่ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีไม่มีญาติและสรรพสัตว์ทั้งหลายอีกด้วย
- คำว่า “แซน” คือ การเซ่นไหว้
- คำว่า “โฎนตา” คือ ปู่ย่าตายาย
ดังนั้น ประเพณีนี้จึงหมายถึงการเซ่นไหว้ปู่ย่าตายายหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นวันสารทเดือน 10 เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเรียกว่า “เบญตูจ” ไปจนถึงวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี เรียกว่า “เบ็จธม” แรม ๑ ค่ำ เดือน 10 เป็นยามที่ยมบาลปล่อยให้เปรตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลานยังเมืองมนุษย์ และลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับไปจนถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ เป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก โดยจะมีขั้นตอนตามพิธีกรรมตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมร ดังนี้
- “เบญตูจ” ลูกหลานจะเตรียมนำเครื่องเซ่นไหว้ ไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐)
- เบ็ญธม ก่อนถึงอย่างน้อย ๓ วัน ลูกหลานที่อยู่ต่างถิ่นหรืออยู่ไหนก็แล้วแต่จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อนำสิ่งของมามอบให้แก่พ่อแม่หรือผู้อาวุโสที่เป็นต้นตระกูลหรือผู้นับถือได้เตรียมจัดหาสิ่งของมาจัดทำการเซ่นไหว้ ได้แก่ อาหารคาวหวาน เช่น จัดทำข้าวต้มมัดจัดทำบายเบ็ญเครื่องเซ่นไหว้ สำรับกับข้าว ๑ สำรับ เป็นต้ม ๑ ตัว ไก่ต้ม ๑ ตัว หรือมีอาจมีหัวหมู และขนมต่างๆ ได้แก่ ข้าวต้มที่ห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ข้าวต้มหมู ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ ขนมนางเล็ด ขนมไข่หงส์ เป็นต้น
- ในส่วนของเครื่องแต่งกายของปู่ย่าตายายที่จะใช้ในพิธีแซนโฎนตา คือ หวี กระจก เสื้อผ้าใหม่ ผ้าถุงใหม่ แป้ง น้ำอบน้ำหอม รวมทั้งจัดเตรียมเสื่อ ฟูก หมอน และผ้าขาว
- เครื่องเซ่นไหว้ จะมีแก้ว จาน กระทงกล้วย หมาก พูล บุหรี่ ดอกไม้(ขันห้า) ธูปเทียน เหล้า มะพร้าว กล้วย ซึ่งการนำสิ่งของมาให้ เรียกว่า “จูนโฎนตา”

เมื่อถึงวันเบ็ญธม พ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายที่ยังมีชีวิตอยู่ จะนำเครื่องเซ่นไหว้ไปรวมตัวกันที่บ้านหรือสถานที่จัดพิธีกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของผู้อาวุโสสูงสุดของตระกูล หรือบ้านของตระกูลนั้นๆ และเมื่อนำเครื่องเซ่นไหว้ที่เตรียมพร้อมแล้ว ก็จะเริ่มพิธีโดยการปูเสื่อวางหมอน ผ้าขาวปูทับตั้งแต่ดอกไม้ขันห้า และธูปเทียน วางเครื่องแต่งตัวบนผ้าขาว มีสำรับข้าว เครื่องสังเวยบัตรพลี(เครื่องเซ่นไหว้) จากนั้นผู้อาวุโสจะจุดดอกไม้ธูปเทียนและปักธูปกับเครื่องเซ่นไหว้ที่เตรียมไว้ ประกอบพิธีเซ่นไหว้ตามประเพณี เพื่อเรียกขานวิญญาณบรรพบุรุษมาสังเวยเครื่องเซ่นให้อิ่มหนำสำราญ แล้วลูกหลานจะจัดแบ่งเครื่องเซ่นไหว้ใส่ลงในกระทงกล้วยพร้อมใส่ปัจจัยส่งดวงวิญญาณกลับยมโลก และปู่ย่าตายายก็จะให้พรลูกหลานต่อไป ตกค่ำลูกหลานก็จะนำกระเฌอบายเบ็ญไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับ เมื่อทำบุญเสร็จแล้ว ลูกหลาน ก็เชิญวิญญาณปู่ย่าตายายไปพักที่บ้าน ๑ คืน ต่อมาวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน 10 ลูกหลานไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลกัน ตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ และกระเฌอบายเบ็ญ ไปทำพิธีที่อุโบสถ พระจะทำการสวดอุทิศส่วนกุศล แล้วจึงนำกระเฌอบายเบ็ญไปเวียนรอบโบสถ์ ๓ รอบ แล้วเทกระเฌอบายเบ็ญเพื่อให้เปรตไม่มีญาติ ได้รับประทาน เรียกว่า “กระเจือบายเบ็ญ” ในนนั้นจะมีข้าวต้ม ขนม อาหารคาวและต้นไม้ เพื่อให้ปู่ย่าตายายนำไปปลูกที่ยมโลก แล้วนำไปอุทิศส่วนกุศลฟังพระเทศน์ สวดมาติกาบังสุกุลเป็นอันเสร็จพิธีเช้า ตกบ่ายลูกหลานจะจัดอาหารหวานคาวและเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ลงในกระทงกล้วย นำไปลอยน้ำหรือไปวางส่งทางให้ปู่ย่าตายายกลับยมโลกต่อไป หากไม่ส่งกลับก็จะติดอยู่ในโลกมนุษย์จนกว่าจะถึงปีต่อไป ลูกหลานจะนำบายเบ็ญไปหว่านตามไร่นาเพื่อให้เปรต สัมภเวสี และผีสางเทวดา รวมถึงพระแม่โพสพได้สังเวย ว่ากันว่าการแซนโฎนตา หากลูกหลานไม่จัดพิธีก็จะถูกผีปู่ย่าตายายโกรธ และสาปแช่งต่างๆ นานา ไม่ให้มีความสุข ทำมาหากิไม่เจริญรุ่งเรือง เป็นต้น

ประเพณีแซนโฎนตานี้ แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นความรักความสามัคคี ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และคนในชุมชนเกิดความสามัคคีปรองดองกัน

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :นายสุทัศน์ นะรานรัมย์ ๐๘๑-๗๘๑-๔๒๕๗
นายประดิษฐ์สรณ์ บุญศรี ๐๘๙-๐๙๘-๙๕๒๘
นางพรไพรินทร์ นัยนานนท์ ๐๘๙-๔๐๒-๐๑๖๙
นายสังเวียน องค์สุนทร ๐๖๑-๕๒๖-๒๔๕๗

Location
ทุกหมู่บ้าน และตำบลต่างๆ ในอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
Amphoe Ta Phraya Province Sa Kaeo
Details of access
สภาวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว
Reference กษิดิส อุดมสุวรรณ์ Email sakaeo.culture70@gmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว
Tambon ท่าเกษม Amphoe Mueang Sa Kaeo Province Sa Kaeo
Tel. 037425029 Fax. 037425030
Website https://sakaeo.m-culture.go.th
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่