ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 19° 16' 53.6009"
19.2815558
Longitude : E 97° 57' 27.8982"
97.9577495
No. : 31448
ศาลเจ้าพ่อเมืองแข่
Proposed by. - Date 1 January 2010
Approved by. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน Date 14 Febuary 2012
Province : Mae Hong Son
0 1508
Description

ประวัติความเป็นมา อีกฟากหนึ่งของเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ มีศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งที่ชาวแม่ฮ่องสอนเคารพนับถือเป็นอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะชุมชนป๊อกขัวแดงและป๊อกปางล้อ ได้แก่ ศาลเจ้าเมือง “ เจ้าพ่อเมืองแข่ ” โดยปกติชุมชนไตที่อยู่รวมกันเป็นบ้านหรือหมู่บ้าน จะมีศาลเจ้าเมืองที่เป็นศูนย์รวมเพียงแห่งเดียว แต่เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เหนือความคาดคิดเกิดขึ้นในอดีต ประจวบกับความห่างไกลของชุมชนระแวกนั้น คงไม่สะดวกใน การเดินทางไปสักการะเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก จึงได้เกิดศาลเจ้าขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ มีเรื่องเล่า เมื่อประมาณ ๗๐- ๘๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงส่วยคำ เป็นชาวจีนฮ่อคนไตเรียกชาวจีนว่า “ เข่ ” ถ้าเป็นจีนฮ่อจะเรียกว่า “ เข่ไตโหลง ” หรือ “ เข่ไตเหนือ ” ลุงส่วยคำได้เดินทางมาจากรัฐฉานตอนเหนือ มาปักหลักทำมาหากินอยู่ในเมืองแม่ฮ่องสอนโดยปลูกบ้านอยู่บริเวณริมฝั่งห้วยน้ำปุ๊ติดกับสะพานขัวแดง ตอนหลังได้ย้ายมาอยู่บริเวณบ้านแม่เฒ่าลาป๊อกขัวแดงในปัจจุบัน ลุงส่วยคำมีภรรยาชื่อ ป้ากั่นโหย่ง และมีบุตรด้วยกัน ๑ คนชื่อ จายเล็ก ( เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์ ) ลุงส่วยคำมีอาชีพเป็นสล่า ( หมอไสยศาสตร์และหมอสมุนไพร ) มีอาชีพในการไปรักษาเยียวยาชาวบ้าน ยามว่างก็จะตีมีดตีเหล็กหารายได้เสริม ที่บริเวณบ้านของลุงส่วยคำเยื้องมาทางด้านทิศเหนือ (บริเวณศาลเจ้าเมืองแข่ในปัจจุบัน) ลุงส่วยคำได้สร้าง “ เข่งครู ” หรือหอครูไว้หนึ่งหลัง และจะไม่ให้ใครตัดไม้บริเวณนั้นเป็นอันขาด เวลาจะออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปรักษาชาวบ้าน ก็จะทำการจุดธูปเทียนบูชาเข่งครูเสียก่อนทุกครั้งไป เป็นที่รู้กันในระแวกนั้น ด้วยความศรัทธาเชื่อถือตอนหลังพอชาวบ้านมีปัญหาของหาย สัตว์เลี้ยงหาย หรือเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรัง ก็จะขอให้ลุงส่วยคำบนบานต่อเข่งครูขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พลังอำนาจแห่งวิชาครูดังกล่าวช่วยเหลือ พอได้สิ่งของหรือสัตว์เลี้ยงกลับคืนมา หรือหายจากการเจ็บป่วย ชาวบ้านเหล่านั้นก็จะมาเลี้ยงแก้บนที่เข่งครูตามที่ได้บนบานไว้ เป็นอยู่เช่นนี้เรื่อยมา ปรากฏว่ามีผู้คนศรัทธาเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ หลังจากลุงส่วยคำเสียชีวิต ป้ากั่นโหย่งก็ได้ทำหน้าที่เป็นสล่าแทนลุงส่วยคำผู้เป็นสามี มีเรื่องเล่าว่าป้ากั่นโหย่งมีความรู้ความสามารถทางด้านไสยศาสตร์มากพอ ๆ กับลุงส่วยคำเลยทีเดียว สามารถสะกดผีน้ำ ผีป่า ผีโป่งได้ ต่อมาป้ากั่นโหย่งก็เสียชีวิตลง หลังจากนั้นชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างเข่งครูขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า “ หอ ” หรือศาลเจ้ายกย่องขึ้นเป็นศาลเจ้าเมือง แล้วเรียกชื่อตามลุงส่วยคำซึ่งเป็น “ เข่ ” ว่า “ เจ้าเมืองเข่ ” ตอนหลังเพี้ยนตามสำนวนล้านนาว่า “ เจ้าเมืองแข่ ” อีกประการหนึ่งเกิดจากพิธีกรรมในการเลี้ยงเข่งครูของลุงส่วยคำ ที่มักจะต้องมีตะเกียบ ( อุปกรณ์การกินของเข่ ) เสียบไว้ที่เครื่องเซ่นทุกครั้งนั่นเอง ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อเมืองแข่ได้แพร่กระจายไปทั่วเมือง ทั้งพ่อค้านักเดินทางต่างไปสักการะขอพร บนบานศาลกล่าวประสบความสำเร็จและความสมหวังกันทั่วหน้า ต่อมามีศรัทธาช่วยกัน ปลูกสร้าง ซ่อมแซมศาลเจ้า มีรั้วรอบขอบชิด มีผู้ดูแลประจำ การเปลี่ยนดอกไม้จะเปลี่ยนเดือนละ ๒ ครั้ง และมีการเลี้ยงเมืองก่อนวันเข้าพรรษา หรือ เดือน ๗ ทุกปีพร้อมทั้งมีพิธีการทำบุญหมู่บ้าน ชุมชน (การวานปาลีก) ชาวแม่ฮ่องสอนมีความเชื่อว่าหากต้องเดินทางไกลไปต่างจังหวัดให้ไปจุดธูปเทียนบอกกล่าว ณ ศาลเจ้า ก่อนการเดินทางแล้วจะปลอดภัยทุกครั้ง ชาวแม่ฮ่องสอนมีความเชื่อว่าศาลเจ้าเป็นที่พึ่งทางใจเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จะไม่ลบหลู่และจะพึ่งพาในยามทุกข์ยาก ขอความคุ้มครองในการเดินทางไกล การเดินทางศึกษาต่อของบุตรหลาน แม้กระทั่งบนบานขอให้ฝนหยุดตกในพิธีสำคัญ ๆ ของเมืองแม่ฮ่องสอน และเป็นที่เคารพสักการะของ ชาวแม่ฮ่องสอน

Location
ศาลเจ้าเจ้าพ่อเมืองแข่
Road ขุนลุมประพาส
Tambon จองคำ Amphoe Mueang Mae Hong Son Province Mae Hong Son
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Reference นางสุชาธิณี สมนาค
Email wt_maehongson@hotmail.com
No. 121 Road ขุนลุมประพาส
Tambon จองคำ Amphoe Mueang Mae Hong Son Province Mae Hong Son ZIP code 58000
Tel. 053-614417 Fax. 053-614303
Website www.maehongsonculture.com
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่