ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 41' 15.6559"
16.6876822
Longitude : E 99° 8' 48.4735"
99.1467982
No. : 42893
นายเริ่ม เกิดสำเภา_หมอเมืองล้านนา
Proposed by. Manop Chuenphakdi Date 21 Febuary 2011
Approved by. Takculture Date 28 May 2012
Province : Tak
1 1661
Description

นายเริ่ม เกิดสำเภา ปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความรู้ความสามารถในการรักษาโรคตามแผนโบราณ (หมอเมือง) เช่น การเป่า การพ่น การเสกคาคา การทำน้ำมนต์ อีกทั้งการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคหลาย ๆ ชนิด นอกจากนั้นยังมีความชำนาญในการดูหมอ ทักทายชะตาชีวิตอีกด้วย ในอดีตแวดวงการแพทย์ของบ้านเรายังไม่พัฒนาเหมือนในปัจจุบันนี้ แต่ทว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่รวมทั้งความเชื่อ ของแต่ละชนเผ่าที่หล่อหลอมกันจนเป็นสัญลักษณ์แห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา ‘หมอเมือง’ จึงเป็นชื่อที่พวกเราได้ยินมาตั้งแต่เด็ก และสิ่งที่คุ้นเคยควบคู่กันก็คือ ภาพของพิธีกรรมและมนต์ขลัง แต่จริงๆแล้วหมอเมืองมีหลายประเภทงาน เช่น หมอยา แปรรูปสมุนไพร หมอนวดแผนโบราณ ย่ำขาง ขวากซุย จับเส้น หมอเป่าหู เป่าตา หมอสะเดาะเคราะห์ เขียนเทียน และอื่นๆ ปฐมบทของศาสตร์หมอเมืองก็มีพื้นฐานเดียวกันกับแพทย์แผนไทย เพียงแต่การรวบรวมหรือการจัดประเภทอาจจะไม่เป็นทางการมากนัก อย่างเช่น ความเชื่อหรือทฤษฎีในการเกิดโรคมักจะอ้างถึงสภาพปัจจุบัน ที่ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งอยู่ด้วยความเร่งรีบและมีวิถีชีวิตการโภชนาการที่เป็นแบบสำเร็จรูป ซึ่งทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง อันเนื่องมาจากมูลเหตุ ๘ ประการ คือ ๑) กินอาหารไม่เป็นเวลา ๒) อดข้าว อดน้ำ ๓) ทำงานเกินกำลังคน ๔) ดำรงอริยาบถท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ๕) สัมผัสอากาศร้อนเกิน-เย็นเกิน ๖) กลั้นอุจจาระ-ปัสสาวะ ๗) มีโทสะเป็นนิจ ๘) อยู่ในภาวะเศร้าโศก จึงเป็นบ่อเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดมาจากการอุปโภคบริโภคอาหารของมนุษย์ทั้งสิ้น เมื่อเกิดโรคต่างๆ ขึ้น ก็มักจะใช้ยารักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน และมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ การบำบัดทางกาย ทางจิตวิญญาณและสมุนไพรจึงถูกนำมารักษาผู้ป่วยเมื่อเปรียบกับแพทย์ยุคนี้ก็หมายความถึงหลักการรักษาแบบ BIO PSYCHO SOCIAL หรือ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคมของผู้ป่วยให้กลับไปมีชีวิตที่ปกติสุข ซึ่งหมอเมืองล้านนามีศาสตร์การรักษาไม่น้อย ซึ่งบ้านเรามีสมุนไพรและพืชอีกหลายชนิดที่มีสรรพคุณทางการรักษาสูง ฝรั่งหลายชาติได้นำไปวิจัยและสกัดเป็นยาแผนปัจจุบันไปแล้วก็ไม่น้อย ทั้งนี้การรักษาทุกยุคสมัยจะสมบูรณ์ก็คงต้องให้กำลังใจตัวผู้ป่วยและญาติด้วย การสร้างความมั่นใจและความเชื่อเพื่อนำสู่ความสำเร็จในการรักษาต่อไปนั้น หมอเมืองใช้ความขลังของคาถา เวทย์มนต์อันเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น หากคนเรามีจิตใจที่มีความมั่นใจขึ้น ก็จะเกิดความแข็งแรงของร่างกายและช่วยให้โรคภัยหายไวขึ้น เช่นเดียวกับแพทย์ปัจจุบันที่ต้องเพิ่งกำลังใจให้กับคนไข้ ด้วยการให้คำปรึกษา ส่งเสริมสุขภาพและให้ยาวิตามินเพื่อบำรุงร่างกายต่อไป เริ่มที่วิธี การตอกเส้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเคล็ด ขัดยอกนานๆ โรคทางเอ็นกล้ามเนื้อต่างๆ ก็จะเริ่มจาก การทาด้วยน้ำมันที่ได้จากการเคี่ยวลงบริเวณที่มีอาการเจ็บป่วย แล้วตอกด้วยไม้ตามตำแหน่ง (ข้อควรระวัง ตรงบริเวณข้อพับและกระดูกจะต้องตอกเบาๆ เช่นเดียวกับบริเวณที่เป็นแผลบวมพอง และศีรษะห้ามตอกโดยเด็ดขาด) ผู้ที่เป็นหมอรักษาต้องเป็นผู้มีสัจจะ และหากมีการถือศีล ๕ จะยิ่งเป็นการดี ส่วน การย่ำขาง เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งของหมอพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อ สำหรับคนป่วยไข้ที่มีอาการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เจ็บท้องลม ปวดแน่นตามหลัง ไหล่ เจ็บเอว ปวดกล้ามเนื้อ แม้กระทั่งอาการปวดแน่น บีบรัดตามร่างกาย คล้ายดั่งถูกผีสิง ในการย่ำขาง จะมีการทำพิธีไหว้ครู ซึ่งเรียกว่า ตั้งขัน เพื่อเป็นการสักการะบูชาครูอาจารย์เสียก่อน จากนั้นจึงทำการรักษา เริ่มต้นด้วยการก่อไฟให้ถ่านแดง ใช้ขาง (โลหะผสมเหล็กและอลูมิเนียมหล่อเป็นรูปเป็นแผ่น หรือเหล็กหล่อ เช่น ผาลไถหรือใบไถ ไม่ใช้เหล็กแผ่นธรรมดา) ย่างหรือเผาไฟให้แดง เตรียม น้ำปูเลย(ไพล) โดยการนำเอาไพลมาหั่น แล้วทุบพอแหลก แช่น้ำให้ตัวยาในไพลละลายออกมา จากนั้นหมอย่ำขางจะเอาเหล้าทาฝ่าเท้าและจุ่มเท้าลงในน้ำปูเลย ต่อด้วยการย่ำเท้าลงบนขางร้อนนั้น แล้วใช้เท้าข้างเดียวกันไปย่ำ (เหยียบ) ตรงจุดที่ผู้ป่วยปวด นวดตรงจุดปวดของผู้ป่วยหลายๆ ครั้ง จนผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อเหยียบนวดเสร็จแล้ว จะนำเอาแผ่นขาง หรือผาลไถนั้นลงแช่ในน้ำปูเลย แล้วเอาน้ำปูเลยลูบตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่ได้เหยียบนวด เป็นอันเสร็จสิ้นการรักษา การเช็ดแหก ก็เป็นการรักษาโรคโดยการนำเอาใบพลูจำนวน ๙ ใบมาเสกคาถา แล้วนำไปเช็ดหรือลูบไล้ตามร่างกายของผู้ป่วยที่มีอาการบวม (เรียกว่าโป่ง) โดยจะเช็ดจำนวน ๓ รอบ แล้วเด็ดใบพลูส่วนทางปลายแหลมทิ้งไป จากนั้นหมอจะนำเอา มีดแหก (ซึ่งอาจเป็นชิ้นส่วนของเขาควายเรียกว่า เขาควายอันเกิดจากการที่ควายชนกันแล้วเขาเกิดหักขึ้น หรืออาจเป็นเขี้ยวสัตว์ เช่นเขี้ยวงาหมูป่า) มาทำพิธีเสกคาถาลงในมีดแหกนั้น และใช้มีดแหกสับบริเวณที่เจ็บดังกล่าว ในการเช็ดแหกหมอมักจะท่องคาถา เสกเป่าบริเวณที่เช็ดแหกตลอดเวลา ในลักษณะคล้ายจะเป็นการขับไล่อาการเจ็บไข้ให้หายไปด้วย พิธีขวากซุย คือวิธีการรักษาโรคโดยการใช้ตัวยาควบคู่ไปกับการใช้คาถา ซึ่งหมอขวากซุยจะนำมาใช้ในการักษาแผลสด และแผลเปื่อยเน่า ตัวยาที่ใช้ประกอบด้วย มะดินกี่ (อิฐ) ถ่านไฟไม้สัก โดยอิฐและถ่านมีอัตราส่วนเสมอกัน ขี้ข่าหง้อง (หยักไย่ในห้องครัวที่ถูกควันรมหยักไย่นั้น) ปูขาว และ หมิ่นหม้อนึ่ง (คราบเขม่าที่จับอยู่ก้นหม้อนึ่ง ซึ่งมักจะเกิดกับหม้อนึ่งที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง) การรักษานั้นก็จะนำเอาส่วนผสมทั้งหมดมาตำให้เข้ากันแล้วใช้ทาแผลทั้งแผลสดและแผลเปื่อย ในเรื่องของตัวยาหมอบางท่านจะใช้ตัวยาอื่นก็ได้ แต่ที่เหมือนกันคือ การใช้คาถาเสกเป่าตัวยาและเป่าลงบนแผลลักษณะคล้ายลงอาคมใส่ตัวยา ขณะเดียวกันก็ปัดเป่าให้อาการป่วยเจ็บหายไปพร้อมกันด้วย นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างใน ๒๓ วิธีการรักษาของหมอเมือง สิ่งดีดีที่สะสมทั้งแนวคิด จิตวิญญาณและความเชื่อของคนรุ่นก่อนๆ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าอนุรักษ์ไว้ นอกเหนือจากทางเลือกอื่น วิธีกรรมเหล่านี้จะเป็นกำลังใจให้กับคนไข้ทุกคนได้ หากเราทุกคนเปิดใจยอมรับและให้การสนับสนุนต่อไป มานพ ชื่นภักดิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ อ้างอิง : หมอเมืองล้านนา., (ระบบออนไลน์) http://www.compasscm.com.,๒๕๕๔.

Category
Local Scholar
Location
นายเริ่ม เกิดสำเภา
No. 47 Moo หมู่ที่ 3 บ้านตะเคียนด้วน
Tambon นาโบสถ์ Amphoe Wang Chao Province Tak
Details of access
องค์การบริหารส่วนตำบลนาโบสถ์
Reference นากยกองค์การบริหารส่วนตำบลนาโบสถ์
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก Email takculture@gmail.com
Road พหลโยธิน
ZIP code 63000
Tel. 055517722 Fax. 055517646
Website www.takculture.com
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่