ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
คุณได้ออกจากระบบ ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม คุณไม่ได้รับอนุญาติให้ทำการเข้าใช้ในส่วนนี้
Latitude : N 7° 0' 0"
7.0000000
Longitude : E 99° 55' 18.0001"
99.9216667
No. : 49604
ชนพื้นเมืองเซมัง
Proposed by. วิลาวัณย์ สุดทองคง Date 30 March 2011
Approved by. สตูล Date 30 March 2011
Province : Satun
0 1386
Description
เซมัง เงาะ หรือ ชาวป่า เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในป่าเขตพื้นที่ อ.ทุ่งหว้า และ อ.ควนโดน กลุ่มคนพวกนี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและเดินทางเร่ร่อนไปถึงสมาพันธรัฐมาเลเซีย ชนเผ่าซาไก จัดอยู่ในกลุ่มนิกริโต รูปพรรณสัณฐานทั่วไปค่อนข้างเตี้ย สูงประมาณ 140 – 150 เซนติเมตร หญิงเตี้ยกว่าชาย ผิวเนื้อดำไปทางค่อนข้างสีน้ำตาล กระโหลกศีรษะค่อนข้างกว้าง ผมสีดำหยิก ขมวดกลม เป็นก้นหอย ติดหนังศีรษะหรือหยิกฟูเป็นกระเซิง คิ้วโตดกหนา นัยน์ตาสีดำกลมโต ขนตายาวงอน จมูกแบน ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ฟันซี่โต ใบหูเล็ก ท้องป่อง สะโพกแฟบ นิ้วมือ นิ้วเท้าใหญ่ ปัจจุบันซาไกเหลืออยู่เพียง 2 - 3 กลุ่ม เท่านั้น ภาษาของชาวเซมัง เป็นภาษาตระกูลคำโดดเช่นเดียวกับภาษาดั้งเดิม สามารถแบ่งกลุ่มได้เป็นสี่ภาษา ได้แก่ กลุ่มแต็นแอ๊น กลุ่มกันซิว กลุ่มแตะเด๊ะ และกลุ่มยะฮายย์ ซึ่งต่างก็มีระบบเสียงคล้ายคลึงกัน มีเฉพาะหน่วยเสียงกับพยัญชนะ ไม่มีระดับเสียงสูงต่ำ และมีจำนวนคำ ที่ค่อนข้างจำกัด เมื่อนำมาผูกเป็นประโยค ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพจน์ หรือกาลแต่อย่างใด ถ้าจดคำได้มากก็จะเรียนพูดได้เร็ว ในปัจจุบัน ซาไกได้มีการติดต่อกับโลกภายนอกมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการยืมคำจากภาษาอื่น ๆ มาใช้ด้วย ลักษณะอุปนิสัยของชาวเซมัง โดยปกติจะมีความร่าเริง ชอบความสนุกสนาน ชอบเสียงดนตรี กลัวผี กินเก่ง กินจุ ถ้ามีอาหารอยู่ในมือเหลือเฟือก็จะกินตลอดเวลา ถ้าไม่มีอะไรกินก็ยอมอด มีนิสัยคล้าย ๆ คนเกียจคร้าน ไม่ชอบกักตุน สะสมอาหาร ซาไกผู้ชายชอบสีขาว ส่วนผู้หญิงชอบสีแดง เราจึงมักเห็นซาไกผู้ชายนุ่งผ้าสีแดง ชาวซาไกไม่ชอบอาบน้ำเพราะเชี่อว่าการอาบน้ำชำระร่างกาย จะทำให้กลิ่นป่าหายไปการออกล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารจะไม่ได้ผล ชาวซาไกมีความจำดีช่างสังเกต ชำนาญในการบุกป่าและวิ่งเร็ว เครื่องนุ่งห่ม เซงในสมัยก่อนจะแต่งกายด้วยการนุ่งห่มใบไม้เปลือกไม้โดยการนำมาผู้ร้อยเข้าด้วยกัน และนุ่งสั้นแค่เข่า ผู้ชายเปลือยท่อนบน ปกปิดเฉพาะท่อนล่าง ผู้หญิงจะใช้ใบไม้ปิดหน้าอก หรือบางทีก็เปลือยอก ส่วนเด็กจะไม่นุ่งห่มอะไรเลย จนเมื่อได้ติดต่อกับชาวบ้านหรือคนเมืองมาก ขึ้นจึงเริ่มปรับเปลี่ยนมาเป็นนุ่งกางเกง กระโปรง สวมรองเท้า แว่นตา เป็นต้น ชาวเซมังเป็นพวกเร่ร่อน ไม่มีที่อยู่อาศัยแน่นอน โดยมากจะอยู่กันเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 20 – 30 คน มักเลือกทำเลสูง ๆ เป็นที่อยู่อาศัย อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่อเลือกทำเลได้เหมาะสมกับความต้องการแล้ว จะแผ้วถางบริเวณที่อยู่ที่เรียกว่าทับ ให้โล่งเตียน ทับสร้างขึ้นโดยใช้กิ่งไม้ง่ามเป็นตอม่อ ยกแคร่ขึ้นสูงจากพื้นดิน 1 ศอก แคร่กว้าง 1 ศอกเช่นกัน ถ้าเป็นโสดจะมีแคร่เดียว ถ้าเป็นคู่ สามีภรรยาจะมี 2 แคร่อยู่ใกล้กัน โดยเว้นที่ตรงกลางไว้ หลังคาสร้างแบบเพิงหมาแหงน ใช้เสาสี่ต้น เสาสองต้นหน้าสูงระดับศีรษะ ส่วนสองต้นหลังสูงจากพื้นดินเล็กน้อย ใช้เชือกผู้โครงหลังคา นำใบไม้มามุงแบบง่าย ๆ กันได้เฉพาะแดด ดังนั้น เมื่อถึงฤดูซาไก จะไปอาศัยอยู่ตามเพิงผงโพรงถ้ำต่าง ๆ ซาไกจะหาอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น เผือก มัน ผลไม้ ยอดไม้ ใบไม้ที่กินได้ทุกชนิด รวมถึงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น ค่าง กวาง เก้ง นก หมูป่า ฯลฯ แต่งดการกินเนื้อ ได้แก่ ช้าง เสือ และงู เมื่อล่าสัตว์มาทุกครั้งจะทำพิธีถอนรังควาญทุกครั้ง เพราะเชื่อว่าสัตว์ ทุกชนิดจะมีวิญญาณสิงอยู่ หากไม่ปัดรังควานวิญญาณของสัตว์อาจจะเข้าสิงร่างกายของผู้ล่าภายหลังได้ ลักษณะสังคมของซัง จะมีการเลือกหัวหน้าขึ้นปกครองดูแล เมื่อหัวหน้าตายลงจะต้องมีการเลือกกันใหม่ ระบบครอบครัวของชาวซาไก นับว่ามีความมั่นคง คู่สามีภรรยาจะอยู่ด้วยกันโดยไม่มีการหย่าร้าง ชายและหญิงที่เป็นเครือญาติกันจะห้ามแต่งงานกันโดยเด็ดขาด สามีทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลรักษาภรรยาและบุตร โดยการไปหาอาหารมาให้ ลักษณะสังคมของเซมังจึงคล้ายเป็นสังคมปิด ที่สามีให้ ภรรยาเป็น
Tag Cloud
เซมัง
Category
Ethnic
Location
Tambon ปาล์มพัฒนา Amphoe Manang Province Satun
Details of access
Tambon ปาล์มพัฒนา Amphoe Manang Province Satun ZIP code 91130
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่