พื้นที่บริเวณที่ตั้งหมู่บ้าน ในสมัยก่อนเป็นพื้นที่ที่มีแร่พลวงเงินมาก มีคนเข้ามาทำสัมปทานเหมืองแร่พลวงในบริเวณนี้ เมื่อหมดสัมปทานจึงได้ย้ายออกไป และมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตรบริเวณนี้มากขึ้น จนสามารถขอแยกเป็นหมู่บ้านได้ ชาวบ้านจึงขอใช้ชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านเหมืองแร่”
ในประเทศไทยจะพบแร่พลวงในจังหวัดลำพูน ลำปาง ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ที่ยังมีการผลิตอยู่บ้าง ได้แก่ กาญจนบุรี ลำปาง ลำพูน แพร่ และสตูล แร่พลวงที่พบส่วนใหญ่เป็นแร่พลวงเงินหรือสติบไนต์(Sb2S3) และแร่พลวงทองหรือแร่สติบิโคไนต์(Sb2O4∙nH2O)แร่สติบไนต์ แร่สติบิโคไนต์
การถลุงแร่พลวง
การถลุงแร่พลวงจะแตกต่างกันตามคุณภาพของแร่ เช่น การแยกพลวงออกจากแร่สติบไนต์ (Sb2O4) มีขั้นตอนในการถลุงดังนี้
ขั้นที่ 1 ย่างแร่ คือ การนำแร่พลวงที่เป็นซัลไฟด์มาทำเป็นออกไซด์ ด้วยการนำแร่สติบไนต์ไปเผากับก๊าซออกซิเจน และเกิดปฏิกิริยาดังนี้
2Sb2S3 (s) + 9O2 (g) 2Sb2O3 (s) + 6SO2 (g)
ขั้นที่ 2 การแยกโลหะพลวงออกจากออกไซด์ของพลวง ผสมออกไซด์ของพลวง ถ่านหิน และโซเดียมคาร์บอนเนต ในอัตราส่วน 20 : 4 : 1 โดยมวล ใส่ในเตาถลุงแบบนอนที่อุณหภูมิประมาณ 800 - 900 0C โดยใช้น้ำมันเตาหรือลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง เกิดปฏิกิริยาดังนี้
2C(s) + O2(g) 2CO (g)
2Sb2O3 (s) + 3CO (g) 2Sb (s) + 3CO2 (g)
โซเดียมคาร์บอนเนตที่ผสมใส่ลงไปถลุงเพื่อแยกสารปนเปื้อนต่าง ๆ ออกเป็นกากตะกอนลอยอยู่ผิวบนของโลหะหลอมเหลวที่ถลุงได้ ธาตุพลวงเหลวสู่เบ้าเหล็กหล่อเป็นแท่ง
สมบัติและประโยชน์ของพลวง
พลวงพบบนเปลือกโลกคิดเป็นร้อยละ 2x10-5 โดยมวล เป็นธาตุที่ค่อนข้างเปราะและทนความร้อนจึงนิยมใช้ทำโลหะผสม ในสมัยอียิปต์ มีการใช้พลวงในรูปสติบไนต์(stinite) สำหรับใช้เขียนขอบตาและคิ้วให้ดำ
- โลหะผสมระหว่างพลวงกับตะกั่ว จะช่วยเพิ่มความทนทานให้ตะกั่วเพื่อทำแผ่นตะกั่วในแบตเตอรี่
- โลหะผสมระหว่างพลวง ดีบุก และตะกั่ว ใช้ทำตัวพิมพ์และโลหะบัดกรีบางชนิด ใช้ทำส่วนประกอบของกระสุนปืน (tracer bullet) หรือพลุควัน หัวไม้ขีดไฟ ผ้าทนไฟ(flame-proofing material) หมึกพิมพ์โรเนียว วัสดุสายโทรศัพท์และสายไฟขนาดใหญ่ ทำวัสดุหุ้มสายเคเบิลหรือปลอกเคเบิล (cable sheathing) และหลอดยาสีฟัน
- โลหะผสมระหว่างพลวงกับสารหนู ใช้ผลิตสารกึ่งตัวนำ (semiconductor) อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์
- สารประกอบของพลวงเช่น พลวงออกไซด์ พลวงซัลไฟด์ โซเดียมแอนติโมเนต (sodium antimonite) และ antimonytrichloride ใช้ทำวัสดุทนไฟ สารเคลือบเซรามิกส์ แก้ว เครื่องปั้นดินเผา สี และใช้ในอุตสาหกรรมยาง
- พลวงบริสุทธิ์ใช้ทำสารกึ่งตัวนำ เช่น ไดโอด และตัวจับคลื่นอินฟราเรด
ที่มา http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem10/note6.html