ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะการแสดงปัญจักซีละ ปัญจักสีลัต หรือซีละ (Silat) คือ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวมลายู ทำนองกับคาราเต้ ยูโด กังฟู หรือมวยไทยชาวมลายูในปักษ์ใต้ของไทย เรียกการต่อสู้แบบสีละอีกอย่างหนึ่งว่า “บือดีกา” เป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวอย่างสง่างาม ท่ารำ กำเนิดจากช่อดอกบอมอร์ในกระน้ำวน Mubin Sheppard ได้กล่าวถึงตำนานสีละไว้ว่า “การต่อสู้แบบสีละมีตั้งแต่ ๔๐๐ ปีมาแล้ว โดยกำเนิดที่เกาะสุมาตรา ต่อมาผู้สอนได้ดับแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัย” ซีละพื้นบ้านของชาวมลายูถิ่นปัตตานี แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ซีละยาโต๊ะ คือ ซีละอาศัยศิลปะการต่อสู้ เมื่อหนึ่งรุก อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไป ซีละตารี (รำ) คือ ซีละที่ต่อกรด้วยการชำนาญในจังหวะลีลาการร่ายรำ ส่วนมากใช้แสดงเฉพาะหน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชนชั้นสูง ซีละกายอ (กริช) คือซีละที่ต้องใช้กริชประกอบการร่ายรำ ไม่ใช้การต่อสู้ร่ายรำ ไม่ใช่การต่อสู้จริงๆ แต่อวดลีลากระบวนการต่อสู้ ส่วนมากมักแสดงในเวลากลางคืน ประวัติความเป็นมาของปัญจักสีลัต(ซีละ) ตำนามมีว่า สมัยหนึ่งสามสหายเชื้อสายสุมาตรา ชื่อ บูฮันนุดิน ซัมซุดดิน และ ฮามินนุดดินเดินทางจากเมืองมินิกาบัง ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของสุมาตรา สำนักวิทยายุทธนั้นอยู่ใกล้สะน้ำใหญ่ น้ำในสระไหลมาจากหน้าผาสูงชัน ริมสระมีต้นบอมอร์(ต้นอินทนิน) ออดอกสีม่วงสด กลมกลืนกับนกกินปลา ซึ่งถลาร่อนเล่นน้ำเองนิตย์ วันหนึ่งฮามินนุดดินไปตักน้ำที่สระแห่งนั้น เขาสังเกตเห็นว่าแรงน้ำตกทำให้น้ำในสระเป็นระลอกคลื่น หมุนเวียน และที่น่าทึ่งคือ ดอกบอมอร์ ช่อหนึ่งที่หล่นจากต้น ถูกน้ำพัดตกลงกลางสระน้ำ แล้งถอยย้อนกลับไปใกล้ตลิ่ง ลอยไปลอยมาเช่นนี้ประหนึ่งว่ามีชีวิตจิตใจ ฮามินนุดดินเพิ่มความพิศวงถึงกับว่ากระบอกไม้ไผ่ซึ่งบรรจุน้ำ แล้วจ้องมองดอกไม้ในสระเป็นเวลานาน จนกระทั้งกระแสลมและกระแสคลื่นพัดพาดอกบอมอร์ออกจากกระแสน้ำวน จากนั้นชายหนุ่มรีบคว้าดอกไม้กลับมา เขาได้ลีลาการลอยของดอกไม้มา ประยุกต์สอนการร่ายรำให้แก่เพื่อนทั้งสอง และคิดวิธีเคลื่อนไหว อาศัยแขน ขา เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ เมื่อสองสหายเดินทางกลับถิ่นเดิมแล้ว ก็ตั้งสำนักเพื่อถ่ายทอดวิชาที่ได้คิดค้นมา ปรากฏว่าผู้สนใจสมัครฝึกฝนศิลปะการต่อสู่แบบซีละเป็นที่แพร่หลายออกไปตามลำดับ ทำไมถึงเรียก “สีละ” คำว่า “สีละ”บางครั้งเขียนหรือพูดเป็น “ซีละ” หรือ “ซิละ” รากศัพท์มาจากคำว่า สีละ ในภาษา สันสกฤต เพราะดินแดนชาวมลายูในอดีต เคยเป็นดินแดนของอนาจักรของศรีวิชัย ซึ่งมีวัฒนธรรมอินเดียเป็นแม่บทสำคัญ เพราะฉะนันจึงภาษาสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ความเดินของสีละหมายถึงการต่อสู่ด้วยน้ำใจนักกีฬา ผู้เรียนวิชานี้ต้องมีศิลปะวินัยที่จะกลยุทธ์ไปใช้ในการป้องกันตัว ไม่ไปทำร้ายผู้ให้เกิดความเดือดร้อน เมื่อจะฝึกสีละ ผู้ฝึกจะต้องไหว้ครู โยนผ้าขาวข้าวสมางัต ด้านยาวและแหวน ๑ วง มามอบให้ครูผู้ฝึก ถือว่าเป็นค่าสมัคร (การไหว้ครู ผู้เรียบเรียง สันนิฐานว่า คงจะได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมมลายูดั้งเดิม จึงไม่ใช่ประเพณีตามหลักศาสนาอิสลาม) ผู้เป็นศิษย์ใหม่จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี ระยะเวลาที่เรียน ๓ เดือน ๑๐ วัน (ประมาณ ๑๐๐ วัน) จึงจะจบหลักสูตรในรุ่นหนึ่งๆ ผู้ที่เก่งที่สุดจะได้รับแหวนจากครูและได้รับเกียรติเป็นหัวหน้าทีมและสอนแทนครูได้ นายอาม๊ะ ลีดาฮามิ เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย เกิดวันที่ ๒๔ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ อายุ ๔๘ ปี ภูมิลำเนาเดิมตำบลบองอ ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๓๓ หมู่ที่ ๗ ตำบล เฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส