ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 6° 24' 10.2406"
6.4028446
Longitude : E 101° 42' 23.4151"
101.7065042
No. : 93226
การนวดแผนไทย
Proposed by. admin group Date 8 June 2011
Approved by. นราธิวาส Date 8 May 2012
Province : Narathiwat
0 2195
Description
ภูมิปัญญาชาวบ้านสาขา การนวดแผนไทย ประวัติการนวดแพทย์แผนไทย การนวด หมายถึง วิธีการกด การคลึง การบีบ การดึง การเขยื้อน ตามศาสตร์และศิลปะการนวดไทย เพื่อการบำบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพร่างกาย การนวดเพื่อบำบัดอาการปวดที่พบบ่อย อาการที่พบบ่อย ที่ประชาชนสามารถนวดตนเองหรือนวดให้กับคนในครอบครัว เพื่อบำบัดรักษาเบื้องต้น ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยคอ ปวดเมื่อยแขน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลัง และปวดเมื่อยขา แต่หากนวดแล้วมีอาการปวดมากขึ้นหรืออาการไม่ทุเลา ควรไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่โรงพยาบาล หรือ สถานีอนามัยใกล้บ้าน ๑) อาการปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะที่ใช้การนวดได้ คือ ปวดศีรษะจากความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ทำงานหนัก ร่างกายอ่อนเพลีย ใช้สายตาและสมองมากเกินไป วิธีการนวด ๑. นวดพื้นฐานบ่า ท่านนวด : ผู้ถูกนวดนั่งขัดสมาธิหรือนั่งห้อยขา ผู้นวดยืนอยู่ด้านหลังของผู้ถูกนวด ๑) วางนิ้วหัวแม่มือคู่กัน กดลงบนแนวกล้ามเนื้อบ่า แนวเส้นที่ ๑ โดยใช้น้ำหนัก ๕๐ ปอนด์ (ครึ่งหนึ่งของกำลังผู้นวด) ๒) แนวเส้นที่ ๒ เพิ่มน้ำหนัก ๗๐ ปอนด์ (๓ ใน ๔ ของกำลังผู้นวด) ๓) แนวเส้นที่ ๓ เพิ่มน้ำหนัก ๙๐ ปอนด์ (กำลังของผู้นวดทั้งหมด) ๔) ให้นวดซ้ำตามข้อ ๑) ถึงข้อ ๓) ประมาณ ๓ – ๕ ครั้ง ๕) นวดอีกข้างหนึ่ง ดังเช่นข้อ ๑) ถึงข้อ ๔) ๒. นวดศีรษะ ๓ จุด ท่านวด : ผู้ถูกนวดนั่งขัดสมาธิหรือนั่งห้อยขา ผู้นวดอยู่ด้านหลังของผู้ถูกนวดในท่าพรหมสี่หน้า (ผู้นวดตั้งเข่าข้างใดข้างหนึ่งขึ้น) ๑) ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบริเวณท้ายทอยด้านขวา ๒) หัวแม่มือกดลงบริเวณท้ายทอยด้านซ้าย ๓) หัวแม่มือกดลงบริเวณกึ่งกลางท้ายทอยชิดกะโหลกศีรษะ ๒) อาการปวดเมื่อยคอ วิธีการนวด ๑. นวดพื้นฐานบ่า วิธีการนวดพื้นฐานบ่าปวดเมื่อคอเช่นเดียวกับการนวดพื้นฐานบ่าปวดศีรษะที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ๒. นวดโค้งคอ ท่านวด : ผู้ถูกนวดนั่งขัดสมาธิหรือนั่งห้อยขา ผู้นวดนั่งอยู่ด้านหลังของผู้ถูกนวดในท่าพรหมสี่หน้า ๑) ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดตรงบริเวณต้นคอ แล้วนวดไล่ไปตามแนวโค้งคอ ไปจนถึงฐานกะโหลกศีรษะ ๒) ให้นวดซ้ำ ตามข้อ ๑ ประมาณ ๓ – ๕ ครั้ง ๓. กดจุดบริเวณไหปลาร้า ท่านวด : ผู้ถูกนวดนั่งขัดสมาธิหรือนั่งห้อยขา ผู้นวดนั่งอยู่ด้านหลังของผู้ถูกนวดในท่าพรหมสี่หน้า ๑) ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงที่กึ่งกลางร่องไหปลาร้า ทั้ง ๒ ข้าง ๓) อาการปวดเมื่อยแขน วิธีการนวด ๑. นวดแขนด้านใน ท่านวด : ผู้ถูกนวดหนอนหงาย ผู้นวดนั่งคุกเข่าคู่อยู่ด้านข้างของผู้ถูกนวด ๑) ใช้ส้นมือกดบริเวณกึ่งกลางแขนท่อนบน และมืออีกข้างจับชีพจรที่ข้อมือ ๒) วางนิ้วหัวแม่มือคู่กันกดลงที่ข้อพับแขนด้านใน แล้วกดไล่ลงไปตามแนวกลางแขนไป จนถึงเส้นสร้อยข้อมือ ๓) ทำซ้ำตามข้อ ๑) และข้อ ๒)ประมาณ ๓ – ๕ ครั้ง ๒. นวดแขนด้านนอก ท่านวด : ผู้นวดนอนหงาย ผู้ถูกนวดนั่งคุกเข่าอยู่ด้านข้างผู้ถูกนวด ๑) นิ้วหัวแม่มือ กดลงบนแนวแขนด้านนอก ตั้งแต่ใต้กล้ามเนื้อต้นแขนกดไล่ลงไปจนถึงเหนือข้อศอก ๒) นิ้วหัวแม่มือคู่กัน กดลงบริเวณใต้ข้อศอกบริเวณแขนด้านนอกแล้วกดไล่ไปจนถึงบริเวณข้อมือ ๓) ทำซ้ำตามข้อ ๑) และข้อ ๒)ประมาณ ๒ – ๕ ครั้ง ๔) อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อหลัง ท่านวด : ผู้ถูกนวดนอนตะแคงเข่าคู้ ๙๐ องศา ผู้นวดนั่งคุกเข่าคู่หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด วิธีการนวด นวดพื้นฐานหลังทั้ง ๒ ข้าง ๑) ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบริเวณเอว (ตรงกับแนวหัวตะคาด) บนร่องกล้ามเนื้อชิดกระดูสันหลังโดยใช้น้ำหนัก ๕๐ ปอนด์ แล้วกดไล่ขึ้นไปตามแนวร่องกล้ามเนื้อชิดกระดูกสันหลังจนชิดปุ่มกระดูกต้นคอ ๒) เพิ่มน้ำหนัก ๗๐ ปอนด์ ๓) ทำซ้ำตามข้อ ๑) และข้อ ๒) ประมาณ ๓ – ๕ ครั้ง ๔) นวดอีกข้าง ดังเช่นข้อ ๑) ถึงข้อ ๓) ๕) อาการปวดเมื่อยขา วิธีการนวด ท่านวด : ผู้ถูกนวดนอนหงาย ผู้นวดนั่งพับเพียบ ๑) นวดเส้นพื้นฐานขาแนวเส้นที่ ๑ ใช้นิ้วหัวแม่มือ กดลงบนแนวร่องกล้ามเนื้อชิด กระดูกสันหน้าแข้ข้างหัวเข่า (จุดนี้เรียกว่าจุดนาคบาทที่๑) แล้วเลื่อนมากดจุดนาคบาทที่ ๒ ซึ่งห่างจากจุดนาคบาทที่ ๑ ประมาณ ๑ นิ้ว แล้วกดลงบนแนวร่องกล้ามเนื้อชิด กดเรียงนิ้วต่อเนื่องไปจนถึงข้อเท้า ๒) นวดพื้นฐานขาแนวเส้นที่ ๒ ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างวางคู่กัน กดลงบนแนวร่อง กล้ามเนื้อต้นขาเหนือหัวเข่าประมาณ ๒ นิ้ว แล้วกดเรียงนิ้วหัวแม่มือคู่ต่อเนื่องไปตามแนวร่องกล้ามเนื้อขาท่อนบนจนชิดปุ่มกระดูกหัวตะคาก ๓) นวดเส้นพื้นฐานขาแนวเส้นที่ ๑ กดลงบนแนวร่องกล้ามเนื้อต้นขาท่อนบนใน กดเรียง นิ้วคู่ต่อเนื่องไล่ลงไปตามแนวร่องกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอกจนชิดข้อเข่า โดยเว้นบริเวณหัวเข่าไว้ไม่ต้องกด ๔) นวดพื้นฐานขาแนวเส้นที่ ๒ กดลงบนแนวร่องกล้ามเนื้อขาด้านนอก กดเรียงนิ้วคู่ ต่อเนื่องตามแนวร่องกล้ามเนื้อขาด้านข้างท่อนล่างจนถึงปลายเท้า ๕) การนวดคลายหลังเท้า ๖) การเปิดประตูลม ๑. การนวดขาด้านนอก ท่านวด : ผู้นวดนอนตะแคงเข่าคู้ ๙๐ องศา ผู้นวดนั่งคุกเข่าคู่หันหน้าเข้าหาทางด้านหลังของผู้ถูก นวด ๑) จุดที่ ๑ สลักเพชร คือ บริเวณจุดสูงที่สุดของสะโพก ๒) จุดที่ ๒ หัวตะคาก ๓) จุดที่ ๓ รอยบุ๋มของข้อต่อกระดูกสะโพก ๔) คลายกล้ามนเนื้อต้นขา ๕) นวดพื้นฐานขาด้านนอกท่อนล่าง ๒. การนวดขาด้านใน ท่านวด : ผู้ถูกนวดนอนตะแคงเข่าคู้ ๙๐ องศา ผู้นวดนั่งคุกเข่าหันหน้าเข้าหาทางด้านหลังของผู้ ถูกนวด ๑) กดลงตรงกึ่งกลางกล้ามเนื้อขาท่อนบน ไล่ลง จนถึงบริเวณเหนือเข่า ๒) เปิดประตูลมเข่า ๓) กดลงบนแนวร่องกล้ามเนื้อขาท่อนล่าง ชิดกระดูกสันหน้าแข้งด้านใน ไล่ลงจนชิดตาตุ่ม ๔) ทำซ้ำตามข้อ ๑) ถึงข้อ ๓)ประมาณ ๓ – ๕ ครั้ง เพิ่มเติม ๑. หลังจากนวดแล้ว อาจประคบสมุนไพรหรือประคบร้อนในบริเวณที่นวดได้ เพื่อช่วยลดการอักเสบ จากการนวด ครั้งละประมาณ ๑๐ – ๑๕ นาที ๒. ในการนวดห้ามบิด ดัด สลัด แขน ขา คอ บ่า และหลัง เพราะอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือ เกิดอันตรายได้ ประโยชน์ของการนวด ๑. ทำให้การไหล่เวียนเลือดดีขึ้น เส้นเลือดฝอยขายตัว และขับถ่ายของเสียจาดเซลล์สู่ระบบเลือดดำ และปัสสาวะได้เพิ่มขึ้น ทำให้บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากการคั่งค้างของสาเคมีที่เป้นของเสียจากการทำงานของเซลล์ ๒. ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น ๓. ทำให้เลือดที่ผิวหนังไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังเพิ่มขึ้น มีผลกระตุ้นการขับเหงื่อและ ไขมัน ทำให้ผิวหนังเต่งตึงกว่าเดิม และทำความสะอาดง่าย ๔. ทำให้รู้สึกผ่อนคลายทั้งระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ๕. การนวดมีผลกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้ย่อยอาหารและขับถ่ายกากอาหารได้ดีขึ้น ดังนั้นการนวดจึงมีผลลดอาการท้องผูกและช่วยให้มีความอยากอาหาร ข้อห้ามในการนวด ๑. มีไข้สูงเกิน ๓๘.๕ องศาเซลเซียส ๒. บริเวณที่กระดูกแตก หัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดดี ๓. บริเวณที่เป็นมะเร็ง ๔. ความดันโลหิตสูง ที่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือ คลื่นไส้อาเจียน ๕. บริเวณที่เป็นแผลเปิด แผลเรื้อรัง หรือบริเวณที่มีรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้ ๖. บริเวณที่มีการบาดเจ็บภายใน ๔๘ ชั่วโมง ๗. บริเวณที่ผ่าตัดภายในระยะเวลา ๑ เดือน ๘. บริเวณที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ (DVT) ๙. โรคติดเชื้อเฉียบพลัน ๑๐. กระดูกหักรุนแรง ข้อควรระวังในการนวด ๑. หญิงตั้งครรภ์ ๒. ผู้สูงอายุ และเด็ก ๓. โรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข็ง เป็นต้น ๔. ความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือ คลื่นไส้อาเจียน ๕. เบาหวาน ๖. กระดูกพรุน ๗. มีความผิดปกติของหารแข็งตัวของเลือด มีประวัติเลือดออกผิดปกติรวมทั้งกินยาละลายลิ่มเลือด ๘. ข้อหลวม / ข้อเคลื่อน /ข้อหลุด ๙. บริเวณที่มีการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม ๑๐. บริเวณที่แผลหายยังไม่สนิทดี ๑๑. ผิวที่แตกง่าย ๑๒. บริเวณที่ปลูกผิวถ่ายผิว อาการแทรกซ้อนจากการนวดและการดูแลเบื้องต้น อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการนวด ได้แก่ ระบม รอยแดง รอยช้ำ มึนศีรษะ บ้านหมุน ประจำเดือนผิดปกติ มักเกิดจากผู้รับบริการครั้งแรก การลงน้ำหนักมากเกินทน การลงน้ำหนักบริเวณใกล้ระบบประสาทอัตโนมัติตามแนวไขสันหลัง การดูแลเบื้องต้น อาการระบบ รู้สึกไม่สบาย รอยแดง รอยช้ำ สามารถหายได้เองภายใน ๓ – ๗ วัน อาจไม่ต้องทำอะไร ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ แต่ต้องคอยสังเกตว่ามีอาการควรจะดีขึ้นเรื่อยๆ หากมีอาการระบบมากขึ้นก็ให้ประคบวันละ ๑ – ๒ ครั้ง อาการมึนศีรษะ เหงื่ออกมาก ประจำเดือนมาก่อน หรือมามากขึ้นให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ประคบเบาๆบริเวณต้นคอ หรือกลางหลัง หากอาการไม่บรรเทา หรือหนักขึ้น เช่น ระบบมากจนลุกเดินไม่ได้ มึนศีรษะมากจนเดินเซ อ่อนแรง ชา บวม ความดันโลหิตสูงฉับพลัน หัวใจเต้นผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์แผนปัจจุบัน ข้อมูลพื้นฐานของผู้ให้ข้อมูล ชื่อ นายลุกมัน นามสกุล มะรือซะ เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย วัน เดือน ปีเกิด ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ อายุ ๒๔ ปี ภูมิลำเนา (บ้านเกิด) นราธิวาส ที่อยู่ปัจจุบัน (ที่สามารถติดต่อได้) บ้านเลขที่ ๙๒ หมู่ที่ ๑ ตำบล ยี่งอ อำเภอ ยี่งอ จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ ๙๖๐๐๐ วุฒิการศึกษา/ระดับการศึกษา วิทยาศาสตร์บัญทิต ปริญญาตรี โทรศัพท์มือถือ ๐๘ ๑๖๐๙ ๒๕๓๘ สถานที่ทำงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียนโทรศัพท์ ๐ ๗๓๕๖ ๕๑๘๘
Location
ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ
No. 92 Moo 1 Soi - Road -
Tambon ยี่งอ Amphoe Yi-ngo Province Narathiwat
Details of access
-
Reference นายลุกมัน มะรือซะ Email -
Organization - Email -
No. 92 Moo 1 Soi - Road -
Tambon ยี่งอ Amphoe Yi-ngo Province Narathiwat ZIP code 96180
Tel. ๐๘ ๑๖๐๙ ๒๕๓๘ Fax. -
Website -
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่