ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 39' 20.9999"
13.6558333
Longitude : E 100° 16' 4.0001"
100.2677778
No. : 97236
การจับปลาหลด
Proposed by. admin group Date 14 June 2011
Approved by. สมุทรสาคร Date 21 August 2012
Province : Samut Sakhon
1 2691
Description
การจับปลาหลด - ปลาหลดเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งขนาดใหญ่กว่านิ้วมือเล็กน้อยมีเกล็ดเล็กๆผิวมีเมือกลื่นคล้ายปลาไหลหัวและห่างเรียวเล็กมีคีบเล็ก ๆ ปากแหลมอาศัยและหากินอยู่บริเวณหน้าดินก้นแหล่งน้ำ ในฤดูแล้งน้ำลดลงพื้นคลองมีโคลนตมมีปลาหลดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก วิธีจับปลาหลดมีด้วยกันสามวิธีคือ - 1. ใช้เบ็ดเล็ก ๆ เกี่ยวเหยื่อเช่นไส้เดือนแล้วหย่อนลงไปให้เหยื่อตกถึงก้นคลอง ปลาหลดจะกินเหยื่อและติดเบ็ด - 2. ในช่วงที่น้ำลดลงเหลือน้ำสูงจากพื้นคลองประมาณห้าสิบถึงแปดสิบเซนติเมตรชาวบ้านจะใช้กระป๋องน้ำลงไปตักดินโคลนประมาณเกือบเต็มกระป๋องเอียงกระป๋องให้อยู่เหนือพื้นน้ำเล็กน้อยใช้มืออีกข้างหนึ่งค่อย ๆ ไล่ดินออกจากกระป่องปลาหลดจะหนีลงไปที่ก้นกระป๋องเมื่อไล่ดินออกเกือบหมดเหลือปลาหลดอยู่ที่ก้นกระป๋องการทำเช่นนี้สามารถจับปลาหลดได้ครั้งละสองถึงสามตัว - 3. กรีดด้วยเหล็กสระโอ อุปกรณ์ส่วนมากทำด้วยทองเหลืองมีลักษณะคล้ายสระโอยาวประมาณหนึ่งคืบต่อด้ามด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณเมตรเศษเครื่องจับสัตว์น้ำชนิดนี้ใช้ได้ดีเมื่อมีระดับน้ำสูงจากพื้นโคลนประมาณสองถึงสามนิ้ว ปลาหลดจะอาศัยขุดรูอยู่ในโคลนลึกประมาณสองสามนิ้ว เวลาใช้งานผู้ใช้จับด้ามไม้ด้วยมือทั้งสองใช้ด้านหลังของเหล็กรูปสระโอกรีดลงไปในดินส่วนที่เป็นด้านหลังส่วนปลายของสระโอจะคล้องเข้าไปที่บริเวณกลางตัวของปลาหลด ปลาหลดจะติดอยู่ที่ส่วนโค้งของสระโอ การกรีดสระโอหนึ่งครั้งอาจมีปลาหลดติดขึ้นมาสองตัว - การจับปลาหลดจึงเป็นกิจกรรมหลังจากที่มีการจับปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำเหนือพื้นดินไปแล้วหลังจากจับปลาหลดก็มีกิจกรรมจับปลาไหลที่ฝั่งตัวอยู่ใต้ดิน หลังจากการจับปลาไหลก็จะมีการขุดหากบและปู หลังจากขุดกบและขุดปูแล้วก็มีกิจกรรมจับหนูนาหรือขุดจับกบที่จำศีลอยู่ในรู กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มฤดูแล้งไปจนกระทั่งถึงฤดูฝนที่เป็นฤดูต่อไป ในระยะนี้เป็นเวลาที่เด็ก ๆ ปิดภาคเรียนเด็กจะสนุกสนานกับกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการเรียนรู้ความเป็นไปของธรรมชาติซึมซับภูมิปัญญาของผู้ใหญ่เห็นวิธีการและเทคนิคในการแสวงหาอาหารที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ สร้างเหตุสร้างผลให้เกิดขึ้นในจิตใจของเด็ก ๆ เพื่อจะได้สืบสวนภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป แหล่งอ้างอิงข้อมูล พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน - จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย... พ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร
Location
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน
No. - Moo 6 Soi - Road -
Tambon ท่าไม้ Amphoe Krathum Baen Province Samut Sakhon
Details of access
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่