ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 10° 26' 1.9655"
10.4338793
Longitude : E 99° 14' 54.9017"
99.2485838
No. : 97970
วัดปากน้ำชุมพร
Proposed by. นายปิยะพงษ์ มณีศรี Date 14 June 2011
Approved by. ชุมพร Date 18 January 2012
Province : Chumphon
2 3787
Description

วัดปากน้ำชุมพร ตั้งอยู่ เลขที่ ๓๗๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย จัดตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เดิมวัดปากน้ำชุมพร ตั้งอยู่บนที่ดินซึ่งมีพระพุทธรูปโบราณประดิษฐานอยู่และมีบริเวณที่ดินต่อกันกับโรงเจรักศีลธรรม มีประวัติเล่าต่อกันมาว่าเจ้าอาวาสรูปแรกที่สร้างวัด ชื่อพระอธิการรื่น เป็นชาวอำเภอบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่จะเป็น พ.ศ. ที่เท่าไรนั้นไม่ปรากฏชัด เพียงแต่มีผู้เฒ่าเล่าว่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ตอนแรกตั้งวัดนั้นมีกุฏิที่พักสงฆ์อยู่ ๒ หลัง หลังคามุงจาก พื้นไม้กระดาน ถือว่าเป็นสำนำสงฆ์ มีโบสถ์ชั่วคราว หลังคามุงจากเช่นเดียวกัน มีผู้เล่าว่า แม่ชีเอี่ยม เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปขึ้น ปั้นโดยนายช่างซึ่งมาจากวัดสุบรรรนิมิต ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร พระพุทธรูปองค์นี้ปั้นด้วยปูนซีเมนต์และปูนขาว มีแกนไม้ข้างในเป็นโพรง หน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๔ ศอก พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุประมาณ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว เพราะสร้างหลังจากสำนักสงฆ์มีขึ้น เจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ชื่อ “สว่าง” เป็นชาวบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ชื่อ “ล้อม” เป็นชาวตำบลนาทุ่ง อำเภอท่าตะเภา จังหวัดชุมพร ต่อมาได้ทำการย้ายวัดจากที่เดิมไปอยู่ทางทิศเหนือ ห่างจากที่ตั้งเดิม ๔ เส้น สาเหตุที่ย้าย เพราะที่ตั้งเดิมเป็นหนองน้ำและอยู่เชิงเขามากเกินไป ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ขึ้น ทำด้วยไม้เนื้อแข็งพื้นเมือง หลังคามุงด้วยสังกะสีบ้างมุงด้วยกระเบื้องดินเผาแผ่นเล็กๆบ้าง นับว่าวัดค่อยเจริญขึ้นมาตามลำดับ มีอาณาบริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันออกจดฝั่งทะเล ชาวบ้านเรียกว่า “ท่าหน้าวัด” เมื่อสมภารล้อม ได้ย้ายวัดมาอยู่ในที่ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ในช่วงแรกได้ใช้อุโบสถหลังเดิม ที่หลังคามุงด้วยจากทำพิธีสังฆกรรม ต่ามานายคู จับฮุ่ย ( เถ้าแก่ฮวย ) และขุนประชุม ชลมุล ( เถ้าแก่แสน ) พร้อมด้วยชาวบ้านปากน้ำชุมพร ได้มีจิตศรัทธาสละทรัพย์และร่วมกันสร้างอุโบสถหลังใหม่ พร้อมกับสร้างเจดีย์ไว้หน้าอุโบสถ โดยสร้างด้วยเสาไม้แก่น ผนังอิฐถือปูน มีขนาดเล็กพอเหมาะกับสมัยนั้น เพราะผู้คนมีไม่มาก และพระภิกษุก็ยังไม่มาก อุโบสถหลังนี้มีขนาดกว้าง ๖ ศอก ยาว ๕ วา ช่างผู้สร้างชื่อนายไถ่ แซ่เลี้ยว และอุโบสถหลังนี้มีอายุ ๖๔ ปี และได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ชื่อ หีต ไม่ปรากฏชาติภูมิ เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ชื่อ โต ไม่ปรากฏชาติภูมิ เจ้าอาวาสรูปที่ ๖ ชื่อ หีต ไม่ปรากฏชาติภูมิ เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ ชื่อ นา เป็นชาวตำบลปากน้ำชุมพร อำเภอเมืองชุมพร เจ้าอาวาสรูปที่ ๘ ชื่อ โฉม เป็นชาวกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าอาวาสรูปที่ ๙ ชื่อ เชย ติสฺสโร เป็นชาวลังเคี่ย จังหวัดมะริด ประเทศพม่า ขณะที่ท่านได้บวชจำพรรษาอยู่ที่อำเภอท่าแซะ ขุนผจญนรทุษฐ์ กำนันตำบลปากน้ำ ในสมันนั้นเห็นว่า วัดปากน้ำชุมพร ได้ว่างเจ้าอาวาส จึงได้ไปอาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาส และต่อมาท่านได้พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูชลธีธรรมประมุข สมัยที่พระครูธรรมประมุข ( เชย ติสฺสโร ) เป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านได้ชักชวนชาวบ้านร่วมกันสร้างความเจริญให้แก่วัดหลายอย่าง ดังนี้ ๑. สร้างกุฏิเพิ่มขึ้นอีก ๓ หลัง เพราะมีพระภิกษุจำพรรษามากขึ้น ๒. สร้างหอสวดมนต์ขึ้น ๑ หลัง ๓.จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น เพื่อส่งเสริมการศึกษาพระธรรมวินัยแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนพุทธศาสนิกชนที่สนใจในการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยสนับสนุนส่งเข้าสอบนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี , โท และเอก มีนักเรียนสอบได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ ๔. ได้ส่งเสริมการศึกษาประชาบาล อนุเคราะห์ให้โรงเรียนตั้งอยู่ในวัดและรับเป็นผู้อุปถัมภ์ตลอดมา นอกจากนี้ ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดและอุโบสถหลังใหม่ โดยขยายด้านหลังอุโบสถให้กว้างขึ้นไปอีก ๔ ศอก และสร้างศาลาการเปรียญขึ้นอีก ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ขนาดกว้าง ๑๕.๗๐ เมตร ยาว ๒๗.๕๐ เมตร เสาคอนกรีต เครื่องไม้เนื้อแข็งพื้นเมือง เพดานไม้จำปา หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ศาลาหลังนี้ได้เป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านและวัดเป็นอย่างมาก นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญอย่างยิ่งในระยะที่ท่านพระครูชลธีธรรมประมุข ( เชย ติสฺสโร ) เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านได้ครองสมณเพศจนมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐ ชื่อ เทพ อุปนนฺโท ( จางวางวงศ์ ) เป็นเครือญาติกับพระครูชลธีธรรมประมุข ( เชย ติสฺสโร ) ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดเทพ อุปนนฺดท ฐานะนุกรมของพระครูวาทีธรรมรส เจ้าคณะอำเภอเมืองชุมพร ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูชลธีธรรมประมุข” แทนพระครูชลธีธรรมประมุข ( เชย ติสฺสโร ) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำชุมพร ในสมัยที่พระครูชลธีธรรมประมุข ( เทพ อุปนนฺโท ) เป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้นท่านได้จัดสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ขึ้นอีก ๒ หลัง และ หอฉันท์อีก ๑ หลัง ต่อมาท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำชุมพร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๑ ชื่อ พระปลัดถ้วม วิริยาวุโธ ซึ่งเป็นเครือญาติกับพระครูชลธีธรรมประมุข อดีตเจ้าอาวาสทั้ง ๒ รูป เมื่อพระครูชลธีธรรมประมุข ( เทพ อุปนนฺโท ) ได้ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดปากน้ำชุมพรแล้ว คณะสงฆ์และชาวบ้านได้ไปอาราธนาพระปลัดถ้วม วิริยาวุโธ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำชุมพรต่อจากพระครูชลธีธรรมประมุข ( เทพ อุปนนฺโท ) ซึ่งในขณะนั้นท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ สำนักสงฆ์เสด็จในกรม ( วัดเขตอุดมศักดิ์วนาราม ) หาดทรายรี และต่อมาท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ ที่ “พระครูสุนทรวิริยานุยุต” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ และต่อมาท่านเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ ในสมัยที่พระครูสุนทรวิริยานุยุต ( ถ้วม วิริยาวุโธ ) เป็นเจ้าอาวาสอยู่นี้ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงผังวัดใหม่โดยถมที่ในบริเวณวัดทั้งหมด แล้วย้ายวัดจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศใต้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ และได้สร้างอุโบสถใหม่ ๑ หลัง เนื่องจากอุโบสถหลังเก่าชำรุดมากพร้อมทั้งสร้างเมรุ ศาลาฌาปนสถานสำหรับบำเพ็ญกุศลศพ สร้างกำแพงรอบวัดทั้งหมด ทำถนนลาดยางรอบวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ ทางวัดได้จัดงานยกช่อฟ้าอุโบสถขึ้น และได้ทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้มาทรงเป็นประธานในพิธียกช่อฟ้า และทางสำนักพระราชวังก็ได้ตอบรับพร้อมกับแจ้งหมายกำหนดการมาแล้ว แต่เมื่อถึงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นวัดหมายกำหนดการทำพียกช่อฟ้า ทางสำนักพระราชวังได้แจ้งมาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่สามารถเสด็จมาได้ เพราะทัศนวิสัยไม่ดี จึงต้องเลื่อนกำหนดไปเป็นวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๒๒ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธอิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ มาเป็นประธานประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถวัดปากน้ำชุมพร ต่อมาระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึงปัจจุบัน ท่านได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปโบราณพร้อมกับสร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ( โบสถ์น้อย ) สร้างซุ้มประตูวัดทั้งสองด้าน หอระฆัง วิหาร เป็นที่ประดิษฐานอดีตเจ้าอาวาส และสร้างกุฏิสำนักงานเจ้าอาวาส ( กุฏิวิริยาวุธานุสรณ์ ) มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔ ไร่ ๒ งาน ๔๐ ตรว. เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๐
ปัจจุบัน มีพระครูสุนทรวิริยานุยุต เป็นเจ้าอาวาส ความสำคัญ - วัดปากน้ำชุมพร เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรม - เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอปะทิว เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

Category
Religious place
Location
บ้านปากน้ำชุมพร
No. ๓๗๐ MooRoad โทร. ๐ ๗๗๕๒ ๑๑๕๕
Tambon ปากน้ำ Amphoe Mueang Chumphon Province Chumphon
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
Organization สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชุมพร
Tambon ปากน้ำ Amphoe Mueang Chumphon Province Chumphon ZIP code 86000
Tel. ๐๗๗ ๕๑๒๑๐๕
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่