ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 6° 26' 41.4528"
6.4448480
Longitude : E 101° 20' 57.0476"
101.3491799
No. : 98694
บ้านเจ้าเมืองเก่าโกตาบารู
Proposed by. admin group Date 16 June 2011
Approved by. ยะลา Date 29 November 2011
Province : Yala
4 1862
Description

เมืองเก่าโกตาบารู เคยเป็นเมืองเก่าในสมัยการแบ่งมณฑลปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง เป็นที่ตั้งของเมืองรามัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ ได้เปลี่ยนเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอรามัน ร่องรอยของความเป็นเมืองเก่าของโกตาบารู ที่ยังคงเหลืออยู่คือกำแพงดิน บ้านเก่าของเจ้าเมืองผู้ครองเมืองโกตาบารู (เมืองโกตาราไมเดิม) คนแรกและคนสุดท้ายของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช คือ ต่วนมาลาแลยาวอ ปัจจุบันยังมีลูกหลานผู้สืบสกุลอาศัยอยู่ ภาพจากอินเตอร์เน็ต พุทธศักราช 2465 รัฐบาลสยามได้จัดระบบการปกครองหัวเมืองมลายูใหม่ โดยแบ่งเป็น 7 หัวเมือง ขึ้นกับมณฑลปัตตานี มณฑลปัตตานี แบ่งออกเป็นปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และโกตาบารู โกตาบารูหรือเมืองรามันห์ ขึ้นกับจังหวัดยะลา มี"ต่วนกาลูแป" เป็นนายอำเภอคนแรก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงอรรถสิทธิสมบูรณ์" เมืองโกตาบารูในยุคนั้น เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีทั้งช้าง ป่าไม้ ทอง และแร่ทับทิม มีกองทหารที่กล้าหาญ องอาจ จนสามารถขยายอาณาเขตกว้างไปถึงเมืองเปอร์ลิสของมาเลเซีย และมีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันหลายคน โดยเจ้าเมืองที่เป็นที่นับถือชาวพุทธ ชาวมุสลิมและชาวจีนทั้งในถิ่นและนอกถิ่น คือ โต๊ะนิจาแว หรือเรียกสั้นๆว่า โต๊ะนิ ซึ่งปัจจุบัน สุสานโต๊ะนิ ก็เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของโกตาบารู มีเรื่องเล่าต่อกันว่า เจ้าเมืองโกตาบารู โดยเฉพาะพระยารัตนภักดี (ต่วนมาลาแลยาวอ) มีฐานะร่ำรวยเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป ท่านได้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนบ้านโกตาบารู (รัตนผดุงวิทยา) ให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของลูกหลานคนในท้องถิ่น รวมทั้งยังสร้างวังโกตาบารู ให้เป็นสถานที่ราชการ เป็นที่พบปะผู้คน เป็นศูนย์รวมของคนในท้องถิ่น โดยท่านเป็นที่รักของประชาชน ราษฎรคนไหนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ก็สามารถไปอาศัยในวังได้ โดยทำงานหรือทำนาเป็นการแลกเปลี่ยน วังโกตาบารู จึงเป็นสถานที่พักพิงของผู้คนสัญจรไปมา หรือคนที่มาทำธุระที่เมืองที่ต้องการเดินทางไปเมืองยะลา ก็จะเข้าพักค้างแรมที่วังโกตาบารูได้ เป็นที่รู้กันว่า ในเรือนครัวของวังโกตาบารู มีหม้อหุงข้างใบใหญ่ 2 ใบ จะหุงข้าวได้ตลอดเวลาเพื่อให้แขกที่มาพักแรมได้รับประทานอาหาร เจ้าเมืองโกตาบารู เป็นคนที่ชอบความสนุกสนาน ชอบการกีฬา โดยเฉพาะศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า"สิละ" เจ้าเมืองได้ฝึกชายหนุ่มในวังให้รำสิละเป็นทุกคน โดยหาครูฝึกมาจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตันของมาเลเซีย พอถึงวันสำคัญก็จะมีการแข่งขันรำสิละ ตกกลางคืนจะมีการแสดงลิเกฮูลู ลิเกฮูลูจึงถือกำเนิดที่เมืองโกตาบารูเป็นครั้งแรก ก่อนจะขยายไปสู่เมืองอื่นๆ เมืองโกตาบารู มีชื่ออีกชื่อว่า "โกตารามัย" แปลว่า เมืองแห่งความรื่นเริง ในยามที่มีงานสำคัญหรือต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลก็จะมีการฉลองอย่างสนุกสนานและสมเกียรติ ปัจจุบัน ยังมีลูกหลานเจ้าเมืองหลงเหลืออยู่ โดยใช้นามว่า"ต่วน"นำหน้า และส่วนใหญ่ยังคงพักอาศัยอยู่ที่บ้านโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โกตาบารู เป็นอำเภอในจังหวัดยะลา จนถึงพ.ศ.2481 จึงเปลี่ยนชื่อกลับไปเป็น"รามัน" โดยกระทรวงมหาดไทยให้เหตุผลว่าเพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น..ส่วน"โกตาบารู"เป็นชื่อตำบล โดยปัจจุบัน มีอนณาเขตติดต่อกับ.... ทิศเหนือ ติดกับตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศใต้ ติดกับตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศตะวันตก ติดตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัด สถานที่สำคัญที่ท่องเที่ยวที่หากมีเวลาก็แนะนำให้ไปได้แก่ สุสานโตะนิ น้ำตกโต๊ะแซะห์ แหล่งที่อยู่ของนกกระยางขาว

Location
Tambon โกตาบารู Amphoe Raman Province Yala
Details of access
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา Email yala@m-culture.go.th
No. 37 Road สุขยางค์
Tambon สะเตง Amphoe Mueang Yala Province Yala ZIP code 95000
Tel. 073203511,073213916 Fax. 073203511
Website ้http://povince.m-culture.go.th/yala
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่