บ้านไร่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า ชาวภูไท มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ใด แต่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า ชาวภูไทอยู่เหนือแผ่นดินไทยในปัจจุบัน แต่ทางบ้านเมืองเกิดความแห้งแล้ง ผู้เป็นหัวหน้าพิจารณาแล้วเห็นว่า น่าจะอพยพหาแหล่งที่อยู่ใหม่ จึงไดอพยพผู้คนราวสามหมื่นคน ลงมาตามลุ่มน้ำโขงผ่านเมืองเวียงจันทน์ราว ๆ ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา กรุงศรีสัตนาคนหุต มีผู้เป็นหัวหน้าคือ พ่อขุนพระเยาว
จนมาถึงเมือง วังอ่างคำ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกข่า ซึ่งเห็นว่าอุดมสมบูรณ์ดี จึงไดตั้งหลักอยู่ที่นั้น พวกข่าเป็นเมืองอิสระ ไม่ขึ้นต่อผู้ใด ต่อมาได้เกิดใช้กำลังสู้รบกับพวกภูไท เพื่อกันเป็นใหญ่แต่ไม่มีฝ่ายใดชนะ พ่อขุนพระเยาวจึงได้ตกลงกับหัวหน้าชาวข่า ว่าฝ่ายใดสร้างหน้าไม้แล้วยิ่งใส่หน้าผาแล้วติดอยู่กับหน้าผาถึง 3 ครั้ง ให้เป็นฝ่ายชนะ และมีอำนาจปกครองอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทั้งภูไทและข่าจึงตกลงตามนั้น
ชาวข่าจึงทำหน้าไม้ใหญ่ แข็งแรง แต่ภูไททำหน้าไม้อันเล็ก แต่ลูกหน้าไม้เอาขี้สูตร (ขี้ของแมลงตัวเล็ก ๆ ชนิดหนึ่งจะเหนียวมาก) ติดไว้ตรงปลาย เมื่อยิงหน้าไม้ใส่หน้าผาลูกหน้าไม้จะติดยึดที่หน้าผาด้วยขี้สูตร ภูไทจึงเป็นฝ่ายชนะชาวข่า
พ่อขุนเมืองพระเยาว มีบุตรกับนางลาว (ได้รับพระราชทานจากพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต) จำนวน 2 คน คือ เจ้าก่ากับเจ้าแก้ว ต่อมาพ่อขุนพระเยาวจึงแก่กรรม ภูไทได้ยกเจ้าก่อเป็นเจ้าเมืองวังอ่างคำ
จนพ.ศ. 2569 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ (รัชกาลที่ 3)พระอนุวงค์ก่อกบฎ จึงทรงโปรดเกล้าให้จัดทัพมาปราบ กระทั่งจับเจ้าอนุวงค์ได้ กองทัพได้กวาดต้อนผู้คนตามสายทางลงไปอยู่ในภาคกลาง ภูไทส่วนมากหลบหนีไปอาศัยอยู่เมืองราชคำฮั่วโดยอาศัยอยู่ตามป่าตามเขา
พ.ศ. 2378 เจ้าราชองค์อินทร์ กับเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ได้เกลี้ยงกล่อมผู้คนที่ซุ่มอยู่ตามป่าเขาว่า เมืองเวียงจันทน์ได้อ่อนน้อมต่อพระเจ้ากรุงสยามแล้ว ขอให้กลับไปทำมาหากินตามเดิม ชาวภูไทเมืองวังอ่างคำ ได้อพยพตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหารและ เมืองเว (เรณูนคร) จังหวัดนครพนม