ประวัติของพระยอดเมืองขวาง
พระยอดพระยอดเมืองขวาง ได้ปฏิบัติภารกิจด้วยความรักชาติ ทำการป้องกันอธิปไตยดินแดนไทย พระมาจากตำแหน่งคุณพระยอด หมายถึงเป็นเจ้าเมือง ขวาง คือ เมืองเชียงขวางในลาวที่มีทุ่งไหหิน) เป็นวีรบุรุษของไทยสมัยร.5 (พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2443) เป็นบุตรของพระยาไกรเพ็ชร (มิตร กฤษณมิตร) เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยประจำอยู่จำปาศักดิ์ต่อมาได้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานเป็นเจ้าเมืองเชียงขวางและเมืองคำม่วนตามลำดับ ท่านทำงานในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมออกุสต์ ปาวีเคยเป็นกงสุลฝรั่งเศสประจำสยาม เมื่อครั้งหนึ่งฝรั่งเศสนำโดยปาวีเคยเป็นกงสุลประจำไทยได้บังคับให้ไทยยกฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส พอไทยไม่ยอม ฝรั่งเศสก็เอาเรือสามลำมาปิดปากน้ำขู่ไทยจนต้องยอม ปาวีถือว่าเป็นคนเนรคุณ เพราะครั้งหนึ่งไทยเคยช่วยชีวิตเขาแต่ต่อมากลับแว้งกัด
จากเหตุการณ์นี้ทำให้นายออกุสต์ ปาวีไม่พอใจกล่าวหาว่าพระยอดเมืองขวางเป็นฆาตกร บุกเข้าไปทำร้ายนายกรอสกุรังขณะนอนป่วยอยู่ในที่พักและนำเรื่องขึ้นพิจารณาคดีในศาลรับสั่งพิเศษรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร แม่ทัพใหญ่อีสานใต้เป็นประธานคณะผู้พิพากษาซึ่งประกอบด้วย พระยาสีหราชเดโชชัย พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์พระยาธรรมสารนิติ์ พระยาฤทธิรงค์ พระยาธรรมสารเนตติ์ มี หลวงสุนทรโกษาและนายหัสบำเรออัยการเป็นทนายฝ่ายโจทย์ มีนายตีเลกี (William Alfred Tilleke) ต่อมารับราชการเป็นพระยาอรรถการประสิทธิ์ต้นสกุลคุณะดิลกและนายเวอร์นอน เพจ (Vernon Page) ชาวอังกฤษเป็นทนายจำเลย
การพิจารณาคดี "พระยอดเมืองขวาง" ดำเนินเป็นเวลา 22 วัน ตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 16 มีนาคม พ.ศ. 2437 ศาลมีคำพิพากษาว่า พระยอดเมืองขวางไม่มีความผิดตามฟ้องและให้ปล่อยตัวเป็นอิสระสร้างความไม่พอใจให้กับนายลาเนสซังผู้สำเร็จราชการอินโดจีนและขอให้จัดตั้งศาลผสมไทย-ฝรั่งเศส ประกอบด้วยผู้พิพากษาฝรั่งเศส 3 คนเดินทางมาจากไซ่ง่อนและสยาม 2 คน พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2437 และตัดสินให้จำคุกพระยอดเมืองขวาง 20 ปี ด้วยเสียงข้างมาก 3 เสียงของฝ่ายฝรั่งเศสพระยอดเมืองขวางถูกจำคุกอยู่ 4 ปี ก็ได้รับอิสรภาพจากคำร้องขอของรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบำนาญให้เป็นพิเศษเดือนละ 500 บาท ท่านได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษผู้รักชาติต่อมาได้ล้มป่วยและเสียชีวิตใน ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) อายุได้ 48 ปี เป็นต้นสกุล "ยอดเพ็ชร์" และ "กฤษณมิตร"
ประวัติการก่อสร้างอนุสาวรีย์พระยอดเมืองขวาง
จังหวัดทหารบกนครพนมและกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 3 ซึ่งมีที่ตั้งที่หมู่ที่ 10 ตำบลกุรุคุ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานนามค่ายว่า “ ค่ายพระยอดเมืองขวาง ” ตามแจ้งความกองทัพบกลง ๓มกราคม ๒๕๒๑ เรื่อง พระราชทานค่ายทหาร ซึ่งกำลังพลและครอบครัวของทั้ง ๒ หน่วย ต่างมีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งจึงได้ร่วมกันสร้างศาลเพียงตาขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของกำลังพลและครอบครัวมาเป็นเวลานาน ต่อมาพันเอก สมศักดิ์ ถาวรศิริ (ยศในขณะนั้น) ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกนครพนมและพันโท เดชาปุณญบาล (ยศในขณะนั้น)ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๓ ดำริเห็นควรจัดสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นบริเวณด้านหน้าของที่ตั้งหน่วย เพื่อให้สมเกียรติและศักดิ์ศรี รวมทั้งยังเป็นการเผยแพร่คุณงามความดีของพระยอดเมืองขวาง ที่ท่านได้เสียสละเพื่อประเทศชาติให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้เป็นแบบอย่างต่อไป อีกทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์และเทิดพระเกียรติ แด่พระยอดเมืองขวาง รวมทั้งเป็นการเผยแพร่คุณงามความดีของท่าน ที่ได้มีความกล้าหาญและเสียสละเพื่อประเทศชาติ ตลอดจนเป็นขวัญและกำลังใจอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของทหารตลอดจนประชาชนทั่วไปได้ระลึกยึดถือเป็นแบบอย่างของผู้มีคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติจึงได้ร่วมมือพร้อมใจกันก่อสร้างอนุสาวรีย์ของท่าน ประดิษฐานไว้ ณ ค่ายพระยอดเมืองขวาง เป็นรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ขนาดเท่าครึ่งตัวจริงแต่งกายด้วยเครื่องแบบของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น