ประวัติความเป็นมา
ตำบลบ้านเอื้อง เป็นตำบลเก่าแก่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอศรีสงคราม ราษฎรส่วนใหญ่พอยพมาจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดนครราชสีมา ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ นิยมภาษาพูดภาษาไทญ้อ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอศรีสงคราม ประกอบด้วย 13 หมู่บ้าน
สภาพทั่วไปของตำบล
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินเขาเตี้ย ๆ มีพื้นที่ทั้งหมด 65 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 40,617 ไร่
อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลนาเดื่อ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลโพนสว่าง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
จำนวนประชากรของตำบล
จำนวนประชากรในเขต อบต. 10,603 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,277 หลังคาเรือน
ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่
อาชีพเสริม รับจ้าง เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย และอุตสาหกรรมในครัวเรือน
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1. วัด
2. ที่ทำการ อบต.
เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
เดินทางเข้าสู่ตำบลได้ 2 เส้นทาง คือ
1. จากจังหวัดนครพนม ใช้เส้นทางนครพนม-ศรีสงคราม ระยะทางประมาณ 88 กิโลเมตร จะผ่านอำเภอท่าอุเทน เมื่อถึงบ้านท่าดอกแก้ว ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จะเป็นสามแยก ให้เลี้ยวซ้าย เดินทางสู่อำเภอศรีสงคราม จะผ่านตัวอำเภอ เลี้ยวซ้ายก็จะเข้าสู่ตำบลบ้านเอื้อง เริ่มจากบ้านนาจาน หมู่ที่ 8,9 ตำบลบ้านเอื้อง
2. จากจังหวัดสกลนคร ใช้เส้นทางสกลนคร-นครพนม ถึงบ้านดอนเชียงบาน ให้เลี้ยวซ้ายเข้ามา ผ่านอำเภอนาหว้า ใช้เสน้ทางอำเภอนาหว้า-ศรีสงคราม ผ่านตำบลโพนสว่าง ก็จะเข้าสู่ตำบลบ้านอื้อง หรือใช้เส้นทางสายสกลนคร-นครพนม ถึงบ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เลี้ยวซ้าย เส้นทางท่าแร่-ศรีสงคราม ก็จะเข้าสู่ตำบลบ้านเอื้อง
สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 2,017 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 15 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.66 ของจำนวนหลังคาเรือน
ความสำคัญ
เป็นเครือข่ายทางวัฒนธรรมของอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม โดยให้การส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมของคนในชุมชน ให้มีความรักและห่วงแหนในศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนตนเอง รวมไปถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่ต่อไปด้วย โดยจะเห็นได้จากการจัดให้มีโครงการ/กิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม งานประเพณีงานบุญต่างๆ ของชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ ปี