"เลื่อยลันดา" หรือเลื่อยวิลันดา :ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายความว่า เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้น โคนใหญ่ ปลายรี ที่โคนของเลื่อยลันดามีด้ามทำด้วยไม้เป็นคันสำหรับจับเลื่อย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เลื่อยตัดและเลื่อยโกรก เลื่อยใช้ตัดไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้ มีฟันถี่ จำนวนฟัน 15-20 ซี่ ต่อความยาว 1 นิ้ว เลื่อยโกรกจะมีฟัน ห่าง 5-8 ซี่ ต่อความยาว 1 นิ้ว เป็นเลื่อยใช้สำหรับผ่าไม้ตามความยาวของเสี้ยนไม้
ลักษณะของเลื่อยลันดาหรือเลื่อยวิลันดา :ตัวเลื่อยและใบเลื่อย ตัวเลื่อยเป็นโครงเหล็กมีด้ามหรือมือจับ ส่วนใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า มีความเหนียว ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดละเอียดและหยาบ ฟันเลื่อยคม สำหรับตัดโลหะและเลื่อยไม้ ใช้แรงคนในการเลื่อย
วัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบ :ใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า มีความเหนียว ด้ามจับทำจากไม้หรือพลาสติก
แหล่งที่มาของเลื่อยลันดา :เก็บรักษาไว้ที่โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน วัดศรีสว่าง บ้านสี่แยกโนนหัวนา หมู่ที่ 4 ตำบล นาจาน อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น