"บาตร" บาตรพระภิกษุ,สามเณร" :ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "ใบ หรือ ลูกภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต" ภาพที่่พระสงฆ์ถือบาตรออกไปในเวลาเช้า ไม่ได้ไปขออาหารอย่างที่ชาวต่างประเทศเข้าใจ พระคุณเจ้าไปโปรดสัตว์ต่างหาก" และบาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร "สำหรับการตักบาตรของพุทธศาสนิกชน เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธถือปฎิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล พระภิกษุจะถือบาตรออกบิณฑบาต เพื่อรับอาหารหรือทานอื่น ๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่าง ๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ ประเพณีนี้ชาวพุทธ ถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเชื่อกันว่า อาหารที่ถวายไปนั้น จะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน
ลักษณะของบาตรพระภิกษุ,สามเณร :มีขาตั้งบาตรทำจากอลูมิเนียมหรือตาข่ายหวาย ตัวบาตรกลมรีปากบาตรกว้าง มีภาชนะฝาปิดบาตร และมีผ้าสานหุ้มบาตรเวลาเดินออกรับบิณฑบาตของพระภิกษู สามเณร สะพายใส่บ่า
วัสดุส่วนประกอบของบาตรพระภิกษุ,สามเณร :ทำมาจากอลูมิเนียมหรือแสตนเลสป้องกันสนิม, ผ้าสะพายบ่าหรือใส่คอ,ผ้าสานหรือถักหุ้มบาตรและหุ้มฝาบาตร
แหล่งที่มาของบาตรพระภิกษุ,สามเณร :โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน วัดศรีสว่าง บ้านสี่แยกโนนหัวนา หมู่ที่ 4 ตำบล นาจาน อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น