ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 3' 4.504"
18.0512511
Longitude : E 100° 6' 43.7782"
100.1121606
No. : 154001
ตำบลสูงเม่น
Proposed by. jaturapat Date 29 August 2012
Approved by. แพร่ Date 5 September 2012
Province : Phrae
1 1527
Description

ประวัติความเป็นมาของชื่อ ตำบล “สูงเม่น”

“สูงเม่น” เดิมมีชื่อว่า “สุ่งเม่น” เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของบ้านสูงเม่นปัจจุบันนี้เคยมีป่าไม้ที่หนาทึบ

มีต้นไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีลำห้วยแม่มานไหลผ่านเหมาะแก่หมู่สัตว์ป่าทั้งหลายมาอยู่อาศัยในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีฝูงเม่นมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านสุ่งเม่น” ตลอดมาและในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่อบ้าน “สุ่งเม่น” เป็นบ้าน “สูงเม่น” อย่างเป็นทางการและเป็นตำบลหนึ่งของตำบลสูงเม่นในเวลาต่อมา

ตำบลสูงเม่นมีหมู่บ้านในเขตปกครอง จำนวน ๑๐ หมู่บ้านคือ

หมู่ที่ ๑ หมู่บ้านท่าล้อ มี ๒ ชุมชน คือ

- ชุมชนท่าล้อมร่วมใจ

- ชุมชนร่วมใจพัฒนา

หมู่ที่ ๒ หมู่บ้านเม่นทองพัฒนา

หมู่ที่ ๓ หมู่บ้านประชารักษ์ถิ่น

หมู่ที่ ๔ หมู่บ้านท่ามด

หมู่ที่ ๕ หมู่บ้านโตนใต้

หมู่ที่ ๖ หมู่บ้านโตน

หมู่ที่ ๗ หมู่บ้านล้อพัฒนา

หมู่ที่ ๘ หมู่บ้านท่าม้าพัฒนา

หมู่ที่ ๙ หมู่บ้านโตนใต้

หมู่ที่ ๑๐ หมู่บ้านโตนเหนือ

หมู่ที่ ๑ หมู่บ้านท่าล้อ มี ๒ ชุมชน คือ

- ชุมชนท่าล้อร่วมใจ

- ชุมชนร่วมใจพัฒนา

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

- ทิศเหนือ ติดกับ ลำเหมืองแม่มาน หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๗ ต.สูงเม่น

- ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลหัวฝาย

- ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลหัวฝาย และบ้านท่า ช้างหมู่ ที่ ๗

- ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนยันตรกิจโกศล

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง ศาสนสถาน โรงเรียน

- เจ้าอาวาสวัดสูงเม่น องค์แรก คือ ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายยศ กล้ำกลาย

- ครูใหญ่โรงเรียนสูงเม่นวิทยาคารคนแรก คือ นายแสน เทพปิตุพงศ์

๓. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้าน

เนื่องจากหมู่บ้านสุ่งเม่นหรือสูงเม่นปัจจุบัน มีทำเลที่เหมาะในการเลี้ยงสัตว์ สัตว์ต่างที่ใช้เดินทางและบรรทุกสินค้าจนเรียกว่า “ป๋างสุ่งม่น”หรือปางสูงเม่น เพราะมีลำห้วยแม่มานไหลผ่านมีน้ำ และหญ้าอุดมสมบูรณ์ให้สัตว์ได้ดื่มกิน และเจ้าของสัตว์ก็สามารถหาสัตว์ป่า ล่าเนื้อนำมาทำอาหารได้ แต่ในการเดินทางมีการใช้สัตว์หลายประเภท เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ลา ล่อ บ้างก็ใช้เป็นสัตว์บรรทุกสัมภาระ บ้างก็ใช้เป็นสัตว์เทียมเกวียน ลากจูงบ้าง เมื่อเดินทางมาถึงปางสูงเม่นก็หยุดพักแยกสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดไปเลี้ยงในสถานที่ต่างกันไป เพื่อไม่ให้สัตว์ทำร้ายกันและสะดวกต่อการดูแล โดยแบ่งเขต เช่น ทางทิศตะวันออกของบ้านสูงเม่นเหนือแม่น้ำแม่มานใช้เป็นที่เลี้ยงช้าง จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านท่าช้าง” ส่วนทางทิศใต้ใช้เป็นที่เลี้ยงลาหรือล่อ จึงเรียกว่า “บ้านท่าล่อ” ซึ่งปัจจุบันเป็นบ้านสูงเม่นหมู่ที่ ๑ ภายหลังมาคำเรียกหมู่บ้านได้เปลี่ยนไปเป็น “บ้านท่อล้อ”

คำเรียกหมู่บ้านท่าล้อนี้มีสมมุติฐานอีกประการหนึ่งคือ ในการเดินทางข้ามลำห้วยแม่มานซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีสะพาน เมื่อขบวนล้อเกวียนผ่านมาต้องมีท่าขึ้น-ลง ของขบวนล้อเกวียน เมื่อขึ้นจากท่าน้ำแล้วก็มาพักในบริเวณนี้นำสัตว์ไปกินน้ำกินหญ้า เจ้าของล้อเกวียนก็ทำการซ่อมแซม หรือสร้างล้อขึ้นใหม่แทนของที่ช้ำรุดไป ชาวบ้านแถบนี้ก็ได้ศึกษากระบวนการสร้างล้อเกวียน ซึ่งต่อมาภายหลังชาวบ้านแห่งนี้สามารถประกอบอาชีพเป็นช่างทำล้อเกวียนนำไปขายในหมู่บ้าน ต่างบ้านต่างตำบล หรือแม่แต่ต่างจังหวัดก็มี จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านท่าล้อ”

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านจดจำมาจนถึงทุกวันนี้ คือ

การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระราชินีนาถ

ในวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๐๑

๕. อาชีพสำคัญของประชาชนในหมู่บ้าน

ประชาชนหมู่บ้านท่าล้อมีอาชีพทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพรองคือ การทำล้อเกวียน (ไม้สัก) การสานเสื่อลำแพน เป็นต้น

๖. อาหารท้องถิ่นในหมู่บ้าน

- น้ำพริกน้ำปู ผักนึ่ง

- ตำเตา

- แกงหยวกใส่ปลาแห้ง

๗. ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญและศิลปวัฒนธรรม ภาษาที่ใช้สื่อสารในหมู่บ้าน

๗.๑ ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของหมู่บ้าน คือ

- การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ เป็นการแสดงการสัมมาคารวะผู้สูงอายุ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ของตน

- การทำพิธีเรียกขวัญทูลขวัญ

๗.๒ ศิลปวัฒนธรรมในหมู่บ้านและการเล่นต่างๆ

- การเล่นสะบ้า

- การกลิ้งเหรียญ

- การโยนหลุม

๗.๓ ภาษาที่ใช่สื่อสารในหมู่บ้าน

- ใช้ภาษาพื้นเมืองล้านนา (เมืองแป้)

๘. การแต่งกายของประชาชนในหมู่บ้าน

ในอดีต ผู้ชายใส่เสื้อหม้อฮ้อม เตี่ยวกี ผ้าขาวม้าคาดพุง

ผู้หญิง ใส่เสื้อหม้อฮ้อมมีกระดุมเงิน ใส่ผ้าถุง

ปัจจุบัน ชายหญิง ทำงานในทุ่งนา หรืออยู่กับบ้าน จะใช้เสื้อหม้อฮ้อมกางเกงแล้วแต่สะดวกเหมาะกับ การใส่รองเท้าบูท

การแต่งกายออกนอกเคหะสถานไปตลาด มักจะใช้แบบสากล คือ ใช้เสื้อผ้าที่มีขายตามตลาด

๙. โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ของคนในหมู่บ้านไม่มีข้อมูล

๑๐ พิธีกรรม/ความเชื่อ ของคนในหมู่บ้าน

พิธีกรรมทางศาสนา ทำบุญตักบาตร บรรพชา/อุปสมบท

พิธีกรรมตามความเชื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่สามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว จะมีการรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ ทำขวัญทูลขวัญ เลี้ยงผีปู่-ผีย่า

หมู่ที่ ๒ หมู่บ้านเม่นทองพัฒนา (บ้านสูงเม่นเหนือ)

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ ลำเหมืองหลวง และหมู่ที่ ๗ ต.ดอนมูล

ทิศใต้ ติดกับ ลำเหมืองแม่มาน และหมู่ที่ ๗ ต.สูงเม่น

ทิศตะวันออก ติดกับ ทุ่งนา และหมู่ที่ ๗ ต.ดอนมูล (บ้านร่องแหย่ง)

ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนยันตรกิจโกศล

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายนนท์ เจริญนุกูล (เหมืองหม้อ)

ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าอาวาส และครูใหญ่คนแรกของหมู่บ้านเหมือนกับบ้านหมู่ที่ ๑ เพราะใช้บริการโรงเรียนและวัดเดียวกันและเป็นตำบลเดียวกัน จึงมีชื่อกำนันเหมือนกัน

๓. ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของหมู่บ้าน

เนื่องจากหมู่ที่ ๒ อดีตเป็นที่อุดมสมบูรณ์ มีแมกไม้ขึ้นหนาทึบ เหมาะสำหรับนำช้างมาเลี้ยง ประกอบ

กับมีลำห้วยแม่มานไหลผ่าน ควานช้างจึงนำช้างมาอาบน้ำที่ท่าน้ำนี้ โดยเฉพาะบริเวณท้ายบ้านหน้าบ้านผู้ใหญ่นนท์ ชาวบ้านจึงเรียกบ้านนี้ว่าบ้านท่าช้างบ้าง ซึ่งบริเวณดังกล่าวปัจจุบันได้แยกเป็นหมู่บ้านที่ ๗ ต.สูงเม่นไปแล้ว

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความประทับใจ

ได้รับพระราชทานเงินขวัญถุง “กองทุนแม่แผ่นดิน” จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นหมู่บ้านแรก

ในตำบล เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐

๕. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนจดจำมาจนถึงทุกวันนี้

ช่วงปลายเดือนเมษายน ๒๕๒๙ หลังสงกรานต์ เกิดพายุฝนฟ้าคะนองทำให้บ้านเรือนในหมู่บ้านถูกลมพัดเสียหาย หลังคาบ้านพังไปเกือบ ๑๐ หลัง โดยเฉพาะหลังคาบ้านนายเสงี่ยม เวียงคำ นายอำนวย ขอบปี ถูกลมพัดยกเอาหลังคาบ้านไปตกบริเวณผากทางเข้าตำบลน้ำชำ ห่างจากจุดเกิดเหตุเกือบ ๒๐๐ เมตร ทำให้ชาวบ้านจดจำไม่ลืม

๖. อาชีพสำคัญของประชาชนในหมู่บ้าน คือ

- รับจ้างทั่วไป ๖๕ % - เกษตรกรรม ๑๐ %

- ค้าขาย ๒๐ % - รับราชการ ๕ %

๗. อาหารในหมู่บ้าน ได้แก่

- ลาบหมู ลาบเนื้อวัว/ควาย

- แกงอ่อม หมู-เนื้อ

- ต้มไก่ ยำไก่ คั่วไก่

- น้ำพริก ผักลวก

- ขนมจีน

๘. วัฒนธรรม/ประเพณี การแต่งกายและศิลปะการแสดงต่างๆในหมู่บ้าน

- ประเพณีสำคัญของหมู่บ้าน คือ การรดน้ำดำหัวผู้สูอายุในวันสงกรานต์

- ศิลปวัฒนธรรมการแสดงในหมู่บ้านมีการเล่นซะล้อ ซอ ซึง เป็นวงโดยเฉพาะในเทศกาลวันสงกรานต์

- การแต่งกาย ในสมัยก่อนอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะใส่เตี่ยวกี เสื้อหม้อฮ้อม ในปัจจุบันแต่งตัวตามยุคสมัย ส่วนเตี่ยวกีและเสื้อหม้อฮ้อมก็ยังมีคนใช้อยู่บ้าง

- ภาษาพูด ชาวบ้านจะพูดคำเมืองเหนือ

๙. แหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านบ้าน

- มีสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว ในชุมชน

- มีสวนสาธารณะให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้พักผ่อน

๑๐. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- มีการเซ่นไหว้ผีปู่ผีย่า ผีเรือน

๑๑. การศาสนา/ประเพณี ในหมู่บ้าน

- ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนา มีการบรรพชา อุปสมบทบุตรหลาน ฟังเทศน์ ใส่บาตร พิธีกรรมเข้าพรรษา ออกพรรษา

- พิธีงานสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ลอยกระทง ทอดกฐิน ผ้าป่าสามัคคี

หมู่ที่ ๓ หมู่บ้านประชารักษ์ถิ่น

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพระหลวง

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลน้ำชำ

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๒ ต.สูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๘ ต.สูงเม่น

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายธิ กันเดช

ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าอาวาสองค์แรก กำนันคนแรก ครูใหญ่คนแรกเหมือนกับหมู่ที่ ๑ เพราะใช้บริจาคบริการวัดและโรงเรียนเดียวกัน และเป็นตำบลเดียวกัน จึงมีข้อมูลเหมือนกัน

๓. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน เหตุผลที่ตั้งชื่อหมู่บ้าน

หมู่ที่ ๓ ประวัติความเป็นมาเหมือนกับประวัติชื่อตำบล ซึ่งหมู่บ้านที่ ๓ ได้ตั้งมานานแล้ว มีผู้นำมาหลาย

สมัย จนมาภายหลังพื้นที่หมู่ที่ ๓ ได้เปลี่ยนการปกครองอยู่ในเขตสุขาภิบาลสูงเม่น และเทศบาลตำบลสูงเม่น จึงมีการจัดตั้งกลุ่มคณะต่างๆ ขึ้น เพื่อช่วยเหลือการบริหารงานของผู้ใหญ่บ้าน อาทิ คณะกรรมการหมู่บ้าน ชุมชนผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน กลุ่มตำรวจบ้าน เป็นต้น เมื่อคณะกรรมการจากกลุ่มต่างๆ ได้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับมา โดยมติของประชาคมหมู่บ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านใหม่จากเดิมที่เรียกว่า “บ้านสูงเม่น” มาเป็น “ชุมชนประชารักษ์ถิ่น” มาจนปัจจุบัน

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนประทับใจมาจนถึงทุกวันนี้

- วันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ซึ่งเป็นที่ตั้งหมู่ที่ ๓

๕. อาชีพที่สำคัญของประชาชน และอาหารท้องถิ่นในหมู่บ้าน

- อาชีพสำคัญ คือการเกษตร

- อาหารท้องถิ่นในหมู่บ้าน คือ น้ำพริก น้ำปู ผักนึ่ง ตำเตา

๖. ประเพณีวัฒนธรรม การแต่งกาย การแสดงศิลปวัฒนธรรมตลอดจนการเล่นต่างๆ

- ประเพณีวัฒนธรรมสำคัญคือการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

- ศิลปวัฒนธรรม/การเล่นต่างๆ คือ การเล่นสะบ้า การเล่นกลิ้งเหรียญ เล่นโยนหลุม

- การแต่งกาย ผู้ชาย ใส่เสื้อหม้อฮ้อม ผ้าขาวม้าคาดพุง

หญิง ใส่เสื้อหม้อฮ้อม และซิ้นแล้

๗. แหล่งท่อเที่ยวโบราณสถานวัตถุ และภาพต่างๆ

- แหล่งท่องเที่ยววัดสูงเม่นเป็นการท่องเที่ยวอนุรักษ์วัฒนธรรม

- โบราณสถานมีวัดสูงเม่น เจดีย์ครูบามหาเถร แหล่งศึกษาคัมภีร์ใบลาน

- ภาษาพูด ใช้ภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ

๘. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- การรดน้ำมนต์ เพื่อเสดาะเคราะห์

- การเลี้ยงผีปู่ย่า

๙. ในด้านศาสนาเนื่องจากวัดสูงเม่นอยู่ในเขตของหมู่ที่ ๓ ความศรัทธาจึงได้ทำพิธีทางศาสนา และรักษาวัฒนธรรมประเพณีกันอย่างดี อาทิ การทำบุญตักบาตร จัดประเพณีวัฒนธรรม ประเพณีไหว้สาครูบามหาเถร ประเพณีตากธรรม เป็นต้น

หมู่บ้านที่ ๔ บ้านท่ามด

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพระหลวง

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลน้ำชำ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ ๘ ตำบลสูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ ๑๐ ตำบลสูงเม่น

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

- ผู้ใหญ่คนแรกของหมู่บ้าน คือ นายสอน ขยัก

- เจ้าอาวาสคนแรกของวัดศรีสว่าง คือ พระนายกัญจนวาสี

- ครูใหญ่โรงเรียนวัดศรีสว่างคนแรก คือ นายเจริญ เจือจาน (โรงเรียนยุบแล้ว)

- ส่วนกำนันตำบลสูงเม่น เหมือนในหมู่ที่ ๑

๓. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน

มีประวัติความเป็นมาพร้อมกับวัดศรีสว่าง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๖ วัดศรีดอกเดิมชื่อ “วัดแต๋นมด “

เพราะสถานที่เป็นป่าดงดิบ ติดลำน้ำแม่สาย ในครั้งนั้นมีพระรูปหนึ่งชื่อว่า พระนายกัญจนวาสี ได้อพยพติดตามโยมพ่อ โยมแม่มาจากจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงแสน ได้มาจำวัตรอยู่ริมดงแห่งนี้ วันหนึ่งพระนายได้เดินออกไปดูรอบๆ ที่พักได้พบแตนรังหนึ่ง ดูคล้ายมด พระนายเดินไปดูใกล้ๆ แตนก็ไม่ทำร้าย ตัวแตน (แต๋น) นั้นมีสีฟ้าอ่อน ไม่เหมือนแตนธรรมดาทั่วไป พระนายจึงกลับมาบอกโยมพ่อ โยมแม่ว่าดงนี้เป็นดงสำคัญตนจะตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นในดงแห่งนี้ โยมพ่อโยมแม่ก็ดีใจ

วันต่อมาพระนายได้ออกไปบอกให้ญาติโยมทั้งหลายที่อาศัยอยู่ริมดงแห่งนี้ ว่าจะตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น แล้วพาโยมทั้งหลายช่วยกันตัดไม้ทำที่พักอาศัย และสร้างศาลาที่ทำบุญ เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระสงฆ์จึงตั้งชื่อว่า “วัดแต๋นมด” และชุมชนแห่งนั้นก็มีชื่อเหมือนวัด ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๒ พระอุบาลี คุณูปมาจารย์เจ้าคณะจังหวัดแพร่ ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตปกครองจึงได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “วัดศรีสว่าง” และบ้านแต๋นมดก็เปลี่ยนไปตามวัดเป็นบ้านท่ามดมาจนถึงปัจจุบัน

๔. อาชีพที่สำคัญในชุมชน คือ

- การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้

- การทำการเกษตรกรรม

๕. ประเพณีวัฒนธรรม/งานเทศกาลประจำปี/การแต่งกาย/ศิลปวัฒนธรรม อาหารการกินในหมู่บ้าน

๕.๑ ประเพณี

- งานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์

- งานเทศกาลแห่เทียนพรรษา

- งานประเพณีลอยกระทง

- งานประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

- งานประเพณีกินสลากหรือตานก๋วยสลาก

๕.๒ การแต่งกายนิยมสวนเสื้อหม้อฮ้อม ผู้ชายใส่กางเกงยาก๊วย (เกี่ยวกี) ผู้หญิงสวมสิ้นแล้

๕.๓ อาหารพื้นเมือง เช่น แกงแค แกงอ่อม แกงฮังเล ลาบ น้ำพริกผักต้ม ไส้อั่ว

๕.๔ ศิลปวัฒนธรรม ได้มีการตัดตุงเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ

๖. โบราณสถาน/โบราณวัตถุ ในหมู่บ้าน

- โบราณสถานได้แก่ วัดศรีสว่าง

- โบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูป ชื่อ พระอสิหิงสอง

๗. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- พิธีกรรมการทำบายศรีสู่ขวัญ

- การทำพิธีเสดาะเคราะห์

- การบวงสรวงพ่อพญาแก้วในวัดศรีสว่าง

หมู่ที่ ๕ บ้านโตนใต้หมู่ที่ ๕

๑. อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๖ ตำบลสูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๙ ตำบลสูงเม่น

๒. การปกครองในปัจจุบัน

- เจ้าอาวาสคนแรกของวัดโชคเกษมคนแรก คือ ครูบาอุปทะ

- ผู้ใหญ่คนแรก คือ นายปั๋น พานพม (๒๕๑๔-๒๕๓๘)

- ครูใหญ่ โรงเรียนวัดโชคเกษม คนแรก คือ นายนิพนธ์ วรรณสุคนธ์

- กำนันคนแรกของตำบล เหมือนกับหมู่ที่ ๑ เพราะอยู่ตำบลเดียวกัน

๓. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน

เนื่องจากบ้านโตน หมู่ที่ ๕ เดิมมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีประชากรหนาแน่น ผู้ใหญ่บ้านดูแลและให้บริการไม่ทั่วถึง นายเสริมกันทา ซึ่งเป็นนายอำเภอในสมัยนั้น จึงได้แยกหมู่บ้านออกเป็น ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๖ โดยมายปั๋น พานพม เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ และนายยอง พวงลำเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ และในเวลาต่อมาประชากรหมู่ที่ ๕ ได้เพิ่มมากขึ้น ยากแก่การปกครองดูแลในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๔ หมู่บ้านหมู่ ๕ จึงแยกออกเป็น ๒ หมู่บ้าน คือหมู่บ้านที่ ๕ เดิมและหมู่ที่ ๙ โดยหมู่ที่ ๕ มีนายมงคล กังหัน ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ส่วนหมู่ที่ ๙ มีนายพวม พานพม เป็นผู้ ใหญ่บ้าน

บ้านโตน มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ เพราะเดิมมีชื่อเรียกหมู่บ้านว่า “บ้านสันโตน” เหตุที่เรี่ยกว่าบ้านสันโตน เพราะว่า เป็นหมู่บ้านที่โดดเดี่ยวห่างไกลจาหมู่บ้านอื่น การคมนาคมก็ไม่สะดวก ถนนหนทางก็เป็นทางล้อเกวียน คนที่ตั้งถิ่นฐานครอบครัวแรกไม่ทราบชื่อแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าเป็นพ่อ-แม่ ของแม่ใหญ่สีแก้ว พ่อใหญ่วงศ์ตั๋น ได้มาทำไร่ทำนา และทำสวนบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ แล้วต่อมาได้มีชาวบ้านจากถิ่นอื่นมาอยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้จนมีประชากรเพิ่มขึ้น และมีศูนย์กลางการบริหารหมู่บ้านที่วัดสร่างโศก หมู่ที่ ๖ ปัจจุบัน ชาวบ้านได้ปรึกษาหารือกันเพื่อเลือกผู้นำหมู่บ้านขึ้น ซึ่งเรียกว่า “แก่บ้าน” ผู้ใหญ่บ้านหรือแก่บ้านคนแรกไม่ปรากฏหลักฐานชื่ออะไร เมื่อผู้นำคนแรกถึงแก่กรรมลง ชาวบ้านก็ได้เลือกพ่อหนาน กิจตะวงศ์ กระสาย เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมา และได้ร่วมกันสร้างวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านขึ้นมาเรียกชื่อว่า “ วัดสันโตน” หรือวัดสร่างโศก ปัจจุบันโดยมีพระกาวินตา เป็นเจ้าอาวาสคนแรก และมีการสืบทอดมรดกทางศาสนาและสังคมสืบมาหลายชั่วคน จวบจนปัจจุบัน

เมื่อหมู่บ้านมีประชากรเพิ่มขึ้น มีการขยายบริเวณที่ทำกินให้กว้างขวางออกไป ประชาชนที่อาศัยทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านอันมีวัดสร่างโศกเป็นศูนย์กลาง มีความไม่สะดวกในการมาปฏิบัติศาสนพิธี ประกอบกับมีคณบดีที่มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดขึ้นใหม่ คือ พ่อหนานสุยะ อนันทสุข บิดาของหนานพิชัย อนันทสุข และแม่จันดี กาบเกี้ยว ได้ร่วมกับชาวบ้านผู้มีใจบุญทั้งหลาย ได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า “วัดศรีบุญเรือง เมืองหน้าด่าน” คือวัดโชคเกษมในปัจจุบัน โดยมีพระครูบาอุปทะเป็นเจ้าอาวาสคนแรกของวัดนี้ และมีประชาชนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยตั้งบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่ เรียกว่า “บ้านโตนใต้” และได้แยกออกมาเป็นหมู่บ้านใหม่ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นบ้านโตนใต้ หมู่ที่ ๕ ในปัจจุบัน

๔. อาชีพที่สำคัญของประชาชนและอาหารพื้นบ้านหมู่บ้านโตนใต้ หมู่ที่ ๕

- อาชีพหลัก คือ การทำเกษตร

- อาชีพสอง คือ การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก

อาหารพื้นเมือง แกงแค แกงอ่อม ลาบขม น้ำพริกผักนึ่ง น้ำพริกน้ำปู เป็นต้น

๕. วัฒนธรรมประเพณี/การแสดงศิลปวัฒนธรรม และการแต่งกายตลอดจนการ

- ประเพณีการรดน้ำดำหัววันสงกรานต์

- พระเพณีไหว้สถูปพระครูเกษมโชติคุณ

- ประเพณีตักบาตรเทโว

- การแต่งกาย ส่วนใหญ่ใช้แบบสากลทั่วไป ไปทำงานในไร่ใส่เสื้อหม้อฮ้อม ทั้งหญิงชาย ส่วนกางเกงใส่ตามสะดวก

๖. โบราณสถาน/โบราณวัตถุ ในหมู่บ้าน

- โบราณสถานได้แก่ วัดโชคเกษม

- สถูปพระครูเกษมโชติคุณ

๗. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- พิธีทำขวัญ

- เสดาะเคราะห์

- พิธีเลี้ยงผีปู่-ย่า

หมู่ที่ ๖ บ้านโตนหมู่ที่ ๖

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพระหลวง

ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ ๔ ตำบลน้ำชำ

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลสูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๕ ตำบลสูงเม่น

๒. การปกครองในปัจจุบัน

- เจ้าอาวาสคนแรกของวัดวร่างโศก คือ พระอธิการกาวินตา

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมุ่ที่ ๖ คือ นายยอง พวงคำ (อมรรัตนปัญญา)

- ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนวัดสร่างโศก คือ นายแสน ขานไข (เทพปิตุพงศ์)

- ส่วนกำนันคนแรกเหมือนกับหมู่ที่ ๑

๓. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

เนื่องจากหมู่ที่ ๖ เป็นหมู่บ้านที่แยกจากหมู่ที่ ๕ เดิม ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๔ แต่ตำแหน่งที่ตั้งหมู่บ้านนี้อยู่ในพิกัดทางภูมิศาสตร์ของหมู่ที่ ๕ เดิมทุกประการ ดังนั้นประวัติศาสตร์การสร้างบ้านแปลงเมือง จะเหมือนประวัติทางบ้านโตน หมู่ที่๕ ทุกประการ และมีหลักฐานการสร้างหมู่บ้านจากประวัติวัดสร่างโศก เพิ่มเติมให้เห็นท้ายนี้ด้วย

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านจดจำจนทุกวันนี้

วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๘ น้ำท่วมใหญ่ในหมู่บ้าน

๕. อาชีพที่สำคัญและอาหารพื้นบ้านในหมู่บ้าน

- อาชีพสำคัญคือการทำเกษตรกรรม

- การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก

- อาหารพื้นบ้านน้ำพริกน้ำปู ผักนึ่ง ผักลวก แกงอ่อม แกงแค

๖. ประเพณีวัฒนธรรมและการแต่งกายของคนในหมู่บ้าน/ภาษาที่ใช้

- รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุวันสงกรานต์

- ทำบุญเขาพรรษาและออกพรรษา

- งานพิธีลอยกระทง งานจันยี่เป็ง

- การแต่งกาย ด้วยชุดหม้อฮ้อม

ภาษาที่ใช้เป็นภาพื้นเมืองภาคเหนือ

๗. โบราณสถาน/โบราณวัตถุ ของหมู่บ้าน

- โบราณสถาน คือ วัดสร่างโศก และสถูปเจดีย์พระสงฆ์ในอดีต

- พระพุทธรูปต่างๆ

๘. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- เลี้ยงผีปู่-ย่า

- ทรงเจ้าพ่อขุนตาล

๙. ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญา

๑. นายสนิท กิงคง อายุ ๖๐ ปี บ้านเลขที่ ๙๘ หมู่ที่ ๖ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีความเชี่ยวชาญด้านการนวดแผนโบราณ

๒. นางโต๋ แก้วรอบ อายุ ๗๔ ปี บ้านเลขที่ ๙๐/๓ ม.๖ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีความเชี่ยวชาญด้านการจักสาน

๓. นายเสริมศักดิ์ มหาวัน อายุ ๓๘ ปี บ้านเลขที่ ๑๕๙ ม.๖ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีความเชี่ยวชาญด้านการเจียรไนอัญมณี

ประวัติวัดสร่างโศก

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชาวนายากจนครอบครัวหนึ่ง ได้มาทำมาหากินอยู่บริเวณเนินระหว่างแม่น้ำ ๒ สาย คือ แม่น้ำเหมืองและแม่น้ำร่องเกลี้ยง แม่น้ำ ๒ สายนี้ได้ไหลโอบอ้อมบริเวณเนินแห่งนี้เป็นแนวไหลสู่แม่น้ำยม นับได้ว่าเนินแห่งนี้ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี สามารถทำไร่เพาะปลูกได้ตลอดฤดูกาล ชาวนาครอบครัวนี้จึงตัดสินใจเลือกเอาถิ่นทำมาหากินบนเนินแห่งนี้ปักหลัก ตั้งฐานปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นครอบครัวแรกและเป็นครอบครัวเดียวสมัยนั้น จึงถูกเรียกว่า “บ้านสันโตน” (สันแปลว่าเนิน โตนแปลว่าสิ่งเดียว อันเดียว)

ต่อมาชาวบ้านจากถิ่นอื่นทราบข่าวความอุดมสมบูรณ์ของเนินแห่งนี้จึงหลั่งไหลพากันมาตั้งถิ่นฐาน จนในที่สุดบ้านสันโตนจึงมีผู้คนมาอาศัยหนาแน่นมากขึ้น

ประมาณปี จุลศักราช ๑๐๖๔ (พ.ศ. ๒๒๔๕) มีพระภิกษุรูปหนึ่งพร้อมกับสามเณรรูปหนึ่ง ชื่อ พระกาวินดา และสามเณรรัตนะ ได้เข้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่บ้านแห่งนี้ จนทำให้ชาวบ้านสันโตนเลื่อมใสในพระพุทธสาสนาแสละชักชวนร่วมมือกับพระกาวินดา และสามเณรรัตนะสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้นโดยตั้งชื่อว่า “วัดสันโตน”

ต่อมาประมาณ จุลศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ. ๒๓๙๕) วัดสันโตนได้เจริญและถูกพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ โดยมีพระครูคัมภีระเป็นเจ้าอาวาสได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างกุฎิพระวิหารใหม่แทนหลังที่ชำรุด โดยมีขนาดใหญ่และสวยงามกว่าหลังเดิม และได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดโตนเหนือ” มีพระภิกษุสามเณรจากสำนักอื่นมาอาศัยเพื่อศึกษาทางพระธรรมเป็นจำนวนถึง ๑๖ รูป

ในปีจุลศักราช ๑๒๘๐ (พ.ศ. ๒๔๖๑) กุฎิและพระวิหารที่พระคำภีระสร้างไว้ชำรุด เจ้าอาวาสคนใหม่ชื่อ พระครูอภิยะโสยาน ได้ร่วมกันศรัทธาวัดสร้างกุฎิและพระวิหาร เป็นครั้งที่ ๓ แต่การสร้างยังไม่เสร็จ พระครูภิระโสยานมรณภาพเสียก่อน ต่อมาก็มีพระพรหมา (พ่อหนานหลวงเทพ กางกั้น) เข้ามารับช่วงเป็นเจ้าอาวาสสร้างกุฎิจนแล้วเสร็จเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดโตนเหนือเป็น “วัดสร่างโศก”

จากนั้นประมาณปีจุลศักราช ๑๒๙๙ (พ.ศ. ๒๔๘๐) พระอธิการคำลือจันทศิริ เป็นเจ้าอาวาสได้ทำการพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องและได้สร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นมา (หลังที่ ๔) แต่การก่อสร้างยังไม่เสร็จท่านก็มามรณภาพเสียก่อน ต่อมาชาวบ้านไปนิมนต์พระครูสมุหัฐชาติ ชินวโร จากวัดสูงเม่นมารับช่วงสร้างพระวิหาร จนแล้วเสร็จในปีจุลศักราช ๑๓๓๗ (พ.ศ. ๒๕๑๘)

หมู่ที่ ๗ บ้านท่าล้อพัฒนา

๑. อาณาเขตขอนงหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลสูงเม่น

ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ ๑ ตำบลสูงเม่นและตำบลหัวฝาย

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลหัวฝาย

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๑ ตำบลสูงเม่น

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายชาญ ข้ามสาม

ส่วนข้อมูลอื่นๆ ในด้านนี้ตรงกับหมู่ที่ ๑ ทุกประการ

๓. ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของหมู่บ้าน

ชุมชนท่าล้อพัฒนา หมู่ที่ ๗ ตำบลสูงเม่น เป็นหมู่บ้านที่แยกใหม่ ส่วนใหญ่มีอาชีพทำล้อเกวียน จำหน่ายเป็นอาชีพหลัก จึงใช้ชื่ออาชีพเป็นชื่อของหมู่บ้าน เรี่ยกว่า หมู่บ้าน “ท่าล้อ” แต่พื้นที่บางส่วนในเขตท่าช้างวังขามซึ่งมีประชากรน้อยกว่าเขตบ้านท่าล้อ ชาวบ้านจึงได้มีมติเรียกชื่อของตนว่า “ชุมชนท่าล้อพัฒนา”

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ประทับใจประชาชน คือ

การที่ได้แยกหมู่บ้านมาจากหมู่บ้านที่ ๒ มาเป็นหมุ่บ้านทที่ ๗ ในปัจจุบัน ในพ.ศ. ๒๕๒๙

๕. เหตุการณ์ที่ทำให้ชาวบ้านจดจำมาตลอดจนทุกวานนี้ คือ

ตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗ ไทยรบกับญี่ปุ่นทำให้ข้าวยากหมากแพง ชุมชนต้องสร้างหลุมหลบภัยจากระเบิดที่ใช้ในสงครามครั้งนั้น

๖. อาชีพของชาวบ้าน อาหารพื้นบ้าน

- อาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน คือ การรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ รองลงมา ได้แก่ การเกษตร

- อาหารพื้นบ้านสำคัญ คือ แกงหน่อไม้ น้ำพริกผักนึ่ง และน้ำพริกตาแดง

๗. ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ/การแต่งกาย/ภาษาพูด

- ประเพณีวัฒนธรรม คือ การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การไหว้ผีปู่ผีย่า

- การแต่งกายนิยมใช้ผ้าหม้อฮ้อมทั้งหญิงและชาย

- ภาษาที่ใช้คือภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ

๘. โบราณสถานและโบราณวัตถุของหมู่บ้าน

- โบราณสถานสำคัญ คือ โบสถ์คริสตจักรไทยวัฒนธรรม

๙. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- สืบชะตา

- เสดาะเคราะห์

- เสกเป่าน้ำมนต์

๑๐. ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาในหมู่บ้าน

- นายสวัสดิ์ ขีดสร้อย อายุ ๖๘ ปี บ้านเลขที่ ๑๓๖/๑ ม.๗ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีความเชี่ยวชาญในการอ่านเขียน ภาษาล้านนา และจักรสาน

- นายหลวง จำเดิม อายุ ๗๘ ปี บ้านเลขที่ ๒๒๕ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เชี่ยวชาญการประดิษฐ์ของใช้จากกะลามะพร้าว

- นางคำมูล มั่งคั่ง อายุ ๖๕ ปี บ้านเลขที่ ๑๔๔ ม.๗ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เชี่ยวชาญด้านการใช้คาถาอาคมเป่าดับพิษไฟน้ำร้อนลวก

๑๑. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศาสนา

โบสถ์คริสจักรไทยวัฒนธรรม เกิดจากการเผยแพร่ ของ “พระกิตติคุณ” โดยศาสนทูตซีอาร์คาแลนเดอร์และภรรยาร่วมกับเจ้าหน้าที่คริสต์จักรที่ ๑ เทสร็จแล้วทำการสถาปนาเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๕๕

หมู่ที่ ๘ ชุมชนท่าม้าพัฒนา

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลพระหลวง

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลน้ำชำ

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๓ ตำบลสูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๔ ตำบลสูงมเม่น

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายปั๋น ชอุ่ม

- เจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง คนแรก คือ พระนายกัญจนวาสี

- ครูใหญ่คนแรก ของโรงเรียนวัดศรีสว่าง (ยุบ) คือนายเจริญ เจือจาน

- ส่วนกำนันคนแรกของตำบลเหมือนหมู่บ้านอื่นๆ

๓. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

ชุมชนท่าม้าพัฒนา หมู่ที่ ๘ ในอดีตเป็นทำเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้เขียวชอุ่ม มีแม่น้ำแม่มานไหลผ่านมีน้ำตลอดปี และมีระยะทางไม่ไกลจากที่ตั้ง “ป๋างสู่งเม่น” คณะคาราวานจึงได้กำหนดให้ป่าทางทิศตะวันตกเป็นที่เลี้ยงม้า มีทั้งม้าที่เป็นพาหนะสำหรับขี่ม้า ม้าต่าง ม้าลากจูง เป็นต้น ทำให้มีความสะดวกในการดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้สัตว์ต่างประเภทกับมาอยู่ร่วมกัน ซึ่งมันอาจทำร้ายกันได้ ส่วนสัตว์อื่น เช่น ช้างก็จัดให้ไปเลี้ยงทางทิศตะวันออกบริเวณบ้านท่าช้าง เป็นต้น

ในเวลาต่อมามีประชาชนมาอยู่อาศัยกันมากขึ้น เป็นหมู่บ้าน และตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านท่าม้า” และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครอง “บ้านท่าม้า” ก็อยู่ในเขตเทศบาลสูงเม่น การบริหารหมู่บ้านจะทำเป็นหมู่เป็นกลุ่มของคนในสาขาต่างๆ แทนที่จะเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านคนเดียว เหมือนเดิม จึงเปลี่ยนหมู่บ้านเสียใหม่ ว่า “ ชุมชนท่าม้าพัฒนา “ ที่คนในชุมชนทุกคน ทุกหมู่บ้านต่างช่วยกันพัฒนา

๔. ตำนานเรื่องเล่าของหมู่บ้าน

มีเรื่องเล่าว่านานมาแล้วมีผีแม่หม้ายออกอาละวาด ทำให้ผู้ชายในหมู่บ้านอื่นตายเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ชายบ้านท่าม้าไม่มีใครตายเพราะได้รับการปกป้องขัดขวางของเจ้าพ่อพญาแก้ว ท่านทำต้นหางนกยูงยักษ์หักล้มขวางทางไว้ไม่ให้ผีแม่หม้ายมาทำร้ายลูกหลานผู้ชายในหมู่บ้านนี้

๕. เหตุการณ์สำคัญในอดีตทำให้ประชาชนในหมู่บ้านประทับใจมาจนทุกวันนี้คือ ประชาชนในหมู่บ้านได้พระพุทธรูปปางมริชัยจากแม่น้ำยม มาประดิษฐานที่วัดศรีสว่าง ซึ่งชาวบ้านได้เสี่ยงทายเพื่อตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ในที่สุดได้ชื่อว่า “หลวงพ่อยมนา๑”

๖. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ประชาชนจดจำมาจนวันนี้ คือ

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เกิดเหตุการณ์วาตภัยถล่มหมู่บ้านทำให้บ้านเรือนเสียหายหลายหลัง มีบ้านที่

Location
ตำบลสูงเม่น
Tambon สูงเม่น Amphoe Sung Men Province Phrae
Details of access
Reference จตุรภัทร อิ่มเพ็ง Email mail@pco.go.th
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่
No. 108 Moo 13
Tambon ป่าแมต Amphoe Mueang Phrae Province Phrae ZIP code 54000
Tel. 054625496
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่