ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 9' 35.3945"
17.1598318
Longitude : E 104° 9' 45.6718"
104.1626866
No. : 166877
รำมวยโบราณ งานแห่ปราสาทผึ้งสกลนคร ปี 2555
Proposed by. ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร Date 2 November 2012
Approved by. สกลนคร Date 2 November 2012
Province : Sakon Nakhon
0 1505
Description

การแสดงมวยโบราณ
แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
- ขบวนแห่มวยโบราณ
- ท่าไหว้ครูหรือรำเดี่ยว
- การต่อสู้
เป็นที่น่าสังเกตว่า มวยโบราณไม่ใช้การต่อสู้แบบเข้าคลุกวงใน ทั้งนี้เพราะจะทำให้เห็นลีลาท่าฟ้อนรำน้อยไป แต่นักมวยจะเข้าไปเล่นงานคู่ต่อสู้พร้อมกับถอยมาฟ้อนรำเป็นระยะๆ แล้วจึงบุกเข้าไปหรือเตรียมตั้งรับหรือตอบโต้คู่ต่อสู้ กล่าวได้ว่าความสนุกสนานของมวยโบราณ อยู่ที่ชั้นเชิงและกลเม็ดของนักมวยผู้ที่เจนจัด มักมีลูกเล่นกลเม็ดแพรวพรายทั้งท่ารุก ท่ารับ ซึ่งหมายถึงการฝึก หัดมาอย่างดีในท่ารุกเข้าพิชิตคู่ต่อสู้หลายแบบ นักมวยโบราณที่มีความคล่องตัวนิยมเล่นงานคู่ต่อสู้ด้วยเท้า ในขณะที่เสียเปรียบคู่ต่อสู้จนเสียหลัก นักมวยจะแก้ปัญหา เช่น การหลบ โดยหลบลอดได้อย่างเร็ว พร้อมใช้เท้าถีบคู่ต่อสู้ให้ล้มหรือใช้ศอกถอง แต่ก็ต้องระวังท่าจระเข้ฟาดหางจากฝ่ายตรงข้ามตอบโต้ด้วย มวยโบราณจึงมิใช่มวยที่ชกกันเอาแพ้ชนะเช่นมวยในปัจจุบัน แต่หากเป็นการต่อสู้ที่เน้นศิลปะของท่ารำ จึงควรให้เรียกว่าการรำมวยโบราณ มิใช่การชกมวยต่อยมวยเช่นในปัจจุบัน

ท่าฟ้อนของมวยโบราณอ่อนช้อยแต่เข้มแข็งทะมัดทะแมงอยู่ในการฟ้อนมวยโบราณ ท่าฟ้อนมวยโบราณนั้นทั้งหมดมี 14 ท่า คือ..
1. ท่าเสือออกจากเหล่า
2. ท่าย่างสามขุม
3. ท่ากุมภัณฑ์ถอยทัพ
4. ท่าลับหอกโมกขศักดิ์
5. ท่าตบผาบปราบมาร
6. ท่าทะยานเหยื่อเสือลากหาง
7. ท่าไก่เลียบเล้า
8. ท่าน้าวคันศร
9. ท่ากินนรเข้าถ้ำ
10. ท่าเตี้ยต่ำเสือหมอบ
11. ท่าทรพีชนพ่อ
12. ท่าล่อแก้วเมขลา
13. ท่าม้ากระทืบโรง
14. ท่าช้างโขลงทะลายป่า

นอกจากนั้นยังมีท่ารำมวยโบราณแบบที่รำเป็นขบวนแห่อีก 9 ท่า คือ
1. ท่ากาเต้นก้อนขี้ไถ
2. ท่าหวะพราย
3. ท่าย่างสามขุม
4. ท่าน้าวเฮียวไผ่
5. ท่าไล่ลูกแตก-ตบผาบปราบมาร
6. ท่าช้างม้วนงวง
7. ท่าทวงฮัก กวักชู้
8. ท่าแหลวถลา กาตากปีก
9. ท่าเลาะเลียบตูบ

การแต่งกาย
มวยโบราณนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คือ ดึงชายกระเบนให้สูงขึ้น เพื่อให้เห็นลายสักที่ขา สีของผ้าโจงกระเบนนิยมสีแดงหรือสีน้ำเงิน ปล่อยชายหางกระเบน ห้อยลงมาพองาม มีผ้าคาดเอวสีแดงหรือ น้ำเงิน (ใส่สลับกับผ้านุ่ง คือ ถ้าผ้านุ่งสีแดง ผ้าคาดเอวก็สีน้ำเงิน) ผ้าคาดเอวนี้จะช่วยรัดให้ผ้าโจงกระเบนแน่นกระชับ ที่สำคัญอีกอย่างก็คือ มีผ้าประเจียดโพกศีรษะ (ผ้าประเจียดคือ ผ้าลงยันต์ บรรจุมนต์ขลังของเกจิอาจารย์) นอกจากนั้นก็มีผ้ารัดต้นแขนทั้งสองข้าง เป็นผ้าสีแดง มีตะกรุดหรือเครื่องรางของขลังอยู่ข้างใน

Location
งานแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนครบนถนนสุขเกษม
Road สุขเกษม
Tambon ธาตุเชิงชุม Amphoe Mueang Sakon Nakhon Province Sakon Nakhon
Details of access
ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร
Reference ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร Email sathap_ws@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
Road ศูนย์ราชการ
Province Sakon Nakhon ZIP code 47000
Tel. 042-716247
Website province.m-culture.go.th/sakonnakhon
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่