ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 5' 20.5573"
17.0890437
Longitude : E 103° 49' 20.3588"
103.8223219
No. : 171330
หมอเหยา
Proposed by. สถาป วงศ์สีดา คนญ้อแท้ๆๆ Date 28 November 2012
Approved by. สกลนคร Date 28 November 2012
Province : Sakon Nakhon
1 413
Description

ประวัติความเป็นมาของการ “เหยา” สาเหตุของการเหยานั้นชาวไทโส้เรียนไสยศาสตร์ในทางต่าง ๆ กัน เช่น เรียนเพื่อรักษาคนป่วย เรียนเพื่ออยู่นงคงกระพัน ฯลฯ การเรียนในวิชาไสยศาสตร์แบ่งออกได้ ๓ ประเภทคือ
๑. เรียนเฉพามนต์ หรือเวทมนต์คาถา เพื่อรักษาคนป่วยมีกิจกรรม เช่น ทำน้ำมนต์ขับไล่ เสี่ยงทาย จับ ผูก และมัดให้วิญญาณร้ายออกไป หรือยอมจำนน
๒. เรียนเฉพาะมนต์คาถาเกี่ยวกับการอยู่ยงคงกระพัน ฟันแทงไม่เข้า
๓. เรียนเฉพาะมนต์คาถา ที่ทำร้ายฝ่ายตรงข้าม หรือบุคคลที่เป็นศัตรูให้พ่ายแพ้ เจ็บไข้ได้ป่วยถึงแก่ความตายไป เช่น มนต์ทอบกระดูก (เสกกระดูกไก่เข้าท้อง) ใส่หุ่นหนัง (หนังควายเข้าท้อง) บังฟัน (ฟันไม่ให้เห็นตัว) ยิงหน้าท้อย (ยิงด้วยไม้ไสยศาสตร์) ลูกเท่าเข็มยิงเข้าไปใต้ผิวหนังเจ็บปวดมาก) ผู้คงแก่เรียนอาจจะเรียนเอาวิชาต่าง ๆ ไว้หลายอย่าง
วิญญาณเกี่ยวกับการเหยา เมื่อผู้เรียนวิชาอาคมเหล่านี้ถึงแก่กรรมวิญญาณก็พเนจรเร่ร่อนหาที่อยู่ อาศัย บางครั้งวิญญาณจะเข้าสิงสู่กับคนดี (คนที่มีสุขภาพดี) ให้มีอาการป่วยเกิดขึ้น จะเหยียวยาอย่างไรก็ไม่หายหรือบางครั้งจะเข้าสิงสู่คนป่วย ทราบได้โดยการสังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย จะมีอาการเพ้อคลั่งพูดไปต่าง ๆ นานา เช่น พูดว่าตนเองเป็นใครอยู่ที่ไหน ต้องการอะไร ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นก็จะทราบทันทีว่าวิญญาณพเนจรเหล่านั้นต้องการอะไร หากต้องการที่อยู่แห่งใดผู้ที่ถูกวิญญาณสิงขณะนั้นจะพูดออกมา คนที่ชักถามวิญญาณคนแรกเรียกว่าหมอสื่อ ล่าม หรือเจ้าจ้ำผี (คือผู้ที่สามารถพูดกับผีรู้เรื่อง)
เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่จะต้องแก้ไขเหตุการณ์นั้นได้เมื่อถึงคราวคับขัน จึงต้องรีบช่วยเหลือคนป่วยก่อนเป็นอันดับแรก ถามคนที่วิญญาณสิ่งนั้นว่ามีความประสงค์สิ่งใด ผู้ป่วยที่ถูกวิญญาณสิงนั้นก็จะแจ้งความประสงค์ทุกอย่างที่ผีต้องการ ล่ามก็จะรับปากจัดสนองความประสงค์นั้นทุกประการ เมื่อสำเร็จตามความประสงค์แล้วผู้ที่ถูกวิญญาณสิงนั้นก็จะมีอาการดีขึ้นและ ในที่สุดก็คืนสู่สภาพปกติธรรมดาเหมือนคนทั่วไป ต่อมาญาติของผู้ที่ถูกสิงจะสร้างที่อยู่ให้ เรียกว่าเรือนผี อาจจะทำด้วยปีปหรือเรือนไม้หลังเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายศาลเจ้าทั่ว ๆ ไป เสร็จแล้วก็อัญเชิญวิญญาณดังกล่าวเข้าไปพักอาศัย
ที่มาของการเหยา
๑. การเหยาแก้บน การเหยาแก้บนนี้เป็นการเหยาเมื่อ ครบกำหนดการบนบานไว้ ญาติพี่น้องของผู้ป่วยจะเชิญหมอเหยา ผู้เป็นที่นิยมของคนทั้งหลายมาเสี่ยงทายดู เช่น ล่ามจะถามหมอเหยาว่า “บัดนี้ถึงกำหนด “บะ” ไว้แล้ว หรือ?” “จื่อความแม้นแทนความเก่าได้บ่” “คายคุมหลายปานได๋” หมอเหยาจะตอบว่า “คายคุมคือขวานแผ่ เหล้าด้ามเหล้าปี ลักเอิ้นเวียก เสียกสะไน” ล่ามจะตอบว่า “บล็องบิเอิ้นเวียกเสียกสะไนหนีเวียกบ่ให้ถามหนี้ความบ่ให้เว้า เชิญหลุดไต่ขัวฝ่ายหล่ายๆไต่ขัวแผ”
คำแปลล่าม “คายใส่ คือ ราคาเท่าไหร่ เหล้ากี่ขวด กี่ไห ผ้าขาวกี่วา กำไลแขนกี่คู่ เทียนกี่คู่ เทียนเล่มบาทกี่คู่
คำแปลหมอเหยา เงินหกบาท เหล้าหนึ่งไห ผ้าขาวหนึ่งวา กำไลแขนหนึ่งคู่เทียนกูดและเทียนเล่มบาทอย่างละ ๒ คู่ ถ้าหายป่วยจึงจะเอา หากไม่หายก็ไม่เอา
หากวิญญาณที่สิงอยู่ในคนป่วยมาหลายวันนั้นเกิดความพออกพอใจก็จะรีบลุกขึ้น ฟ้อนรำด้วยความดีอกดีใจ โดยหมอเหยาช่วยลำอ่อน ลำเชิญเป็นกำลังใจ จะมีการละเล่นแบบต่าง ๆ ตามวิญญาณแต่ละวิญญาณนั้นจะพอใจจึงจะเลิกรากันไป (หากวิญญาณดังกล่าวไม่เกิดความพอใจหมอผีหมอเหยาคนใดก็ไม่เล่นด้วย ต้องติดต่อหาหมอเหยาคนใหม่ ระยะเวลาของการเล่น ประมาณ ๑ ชั่วโมง ถึง ๑๒ ชั่วโมง บางครั้ง นานถึง๑ วัน ๑ คืนก็มี แล้วแต่ความพอใจหรือไม่พอใจของวิญญาณ นั้น)
๒.ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเหยา ผู้ที่สามารถจูงใจ หรือเร้าใจให้วิญญาณและทำให้วิญญาณนั้นพอใจได้เรียกว่า “หมอเหยา” หมอเหยาที่มีหลักจิตวิทยาสามารถทำให้วิญญาณพอใจได้มากก็เป็นที่นิยมมาก การที่มีผู้นิยมมากหรือน้อยนั้นเกิดจากสาเหตุดังนี้
๒.๑ ทำให้คนป่วยหายเร็ว
๒.๒ สามารถรู้ความต้องการของวิญญาณได้ชัดเจน
๒.๓ ลูกศิษย์หรือคนป่วยมาให้รักษามาก
๒.๔ อื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ความมีสัจจะ ความมีเมตตา กรุณาของหมอเหยา
๓.หมอผี คือหมอปราบผี ส่วนมากเป็นหมอผู้ชาย เรียนวิชาไสยศาสตร์ หรือเวทมนต์คาถาเพื่อปราบผีโดยเฉพาะ วิญญาณทั้งหลายพากันเกรงกลัวหมอผีประเภทนี้มาก
๔.หมอเหยา หรือผู้ทรงเจ้า ทำหน้าที่คล้ายผู้ประนีประนอมทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นระหว่างวิญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนวิญญาณทั้งหลายมีความรักใคร่นับถือหมอผีประเภทนี้มาก
๕.ล่าม คือ ผู้ที่ความสำคัญและความชำนาญในการถามเอาความต่าง ๆ จาก “ หมอเหยา” วิญญาณส่วนใหญ่ถ้าไม่มีผู้ใดถามก็จะไม่บอกต้องอาศัยล่ามเป็นสื่อกลาง
๖.นางเทียม คือ คนที่หายจากอาการป่วยเนื่องจากถูกวิญญาณสิงนั่นเอง และวิญญาณต้องอยู่ด้วย ถึงขวบปีจะมีการเลี้ยงชุมนุมผี ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ และเดือน ๖ จึงจะหมดฤดูการเลี้ยงนางเทียมนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ลูกแก้ว”
๗.เจ้าจ้ำ คือบุคคลที่ถูกสมมุติให้เป็นตัวแทนของหมู่บ้าน มีหน้าที่ปฏิบัติรักษา เป็นผู้บอกกล่าวเป็นผู้ติดต่อสื่อสารกับวิญญาณที่มีประจำในหมู่บ้านแทนชาว บ้าน “เจ้าจ้ำ ” ส่วนมากเป็นชายจะมีหมู่บ้านละหนึ่งคนเท่านั้น และเจ้าจ้ำนี้มักจะไม่ค่อยมีความเกี่ยวพันกับพวกอื่นที่กล่าวมาแล้ว
บุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์มากที่สุด สามารถประสานกับทุกฝ่ายได้ คือ “ล่าม” ผู้ ที่ถูกสมมุติให้เป็นล่าม จะเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือของผู้คนโดยทั่วไป รวมทั้งบรรดาวิญญาณต่าง ๆ มากกว่าบุคคลประเภทอื่น “ล่าม” จึงมีความสำคัญมาก
๘.เบี๊ยะเจ้าดำ หัวหน้าบรรดาผู้ถือผีหรือวิญญาณประจำหมู่บ้านประเภทของผีที่เกี่ยวข้องกับการเหยา ๔ ประเภท คือ
๑.๑ ผีหมอมนต์
๑.๒ ผีฟ้าหรือผีน้ำ
๑.๓ ผีคูณ
๑.๔ ผีคูลหรือผีตะกูล
๒.พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเหยาดังนี้ คือ
๒.๑ประเภทหมอมนต์มีพิธีกรรม เช่น เหยาเสี่ยง หรือเหยาบน
๒.๒ประเภทผีฟ้า (ผีน้ำ) มีพิธีกรรม คือ
-เหยาธรรมดา
-เหยารักษาคนป่วย
รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ดังนี้คือ
๑.พิธีเกลือกไข่ ใช้ไข่ไก่ ๑ ฟอง ให้ผู้ชำนาญในการเกลือกไข่ อธิษฐานเสี่ยงทาย หากเป็นผีคุณให้กินตา หากเป็นผีเชื้อ (ผีตระกูลบรรพบุรุษ) ให้กินปีก หากเป็นผีต้องให้กินกระดูกสันหลังแล้วใช้มือทั้งสองข้างถือไข่กวาดและถูเบา ๆ ตามร่างกายผู้ป่วยให้สำแดงเดชที่ไข่ตามอธิษฐานเสี่ยงทายแล้วก็ทุบไข่เพื่อ แกะดูตำหนิว่าเกิดตำหนิที่ส่วนใดของไข่จะทราบได้ว่าเกิดจากผีประเภทใด ก็จะบะ (การบน) ไว้เป็นเสร็จพิธี
๒.พิธีลงยันต์ เริ่มด้วยการทำคายขันห้า วางไว้บนหมอนใช้ผ้ายันต์ปิดตาคนที่จะลงยันต์มือทั้งสองของคนที่จะลงยันต์จะ ประนมมือนึกถึงคุณศรีรัตนะตรัย แล้วนั่งตามที่ตนถนัดผู้ลงยันต์จะมีอาการสั่นไปเรื่อย ๆ ถ้าหากทราบเกี่ยวกับเรื่องใดก็จะกล่าวเรื่องนั้นออกมาในทำนองว่าผิดผีป่า ผีนา
ผิดผีบ้านอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถามจะถามว่าจะให้ทำอย่างไร ต้องการอะไร ผู้ลงยันต์ก็ตอบในทำนองให้ “บน” ให้คนป่วยหายเสียก่อนหากหายแล้วให้แก้ตามที่บนไว้ ซึ่งเรียกว่า “คาย”
ประกอบด้วย ขันห้า เงิน ๓ บาท ส่วนเหล้า ๑ ขวดนั้นไว้นอกคาย เมื่อคนป่วยหายแล้วก็แก้บนเลิกคายเป็นเสร็จพิธี
๓.พิธีกระท็อง ใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว ผ่าครึ่ง โยนลงในกระดังที่มีข้าวสารประมาณหยิบมือเดียวพร้อมทั้งอธิษฐานเสี่ยงทายตาม ความชำนาญของผู้เสี่ยงทาย เมื่อเสี่ยงเป็นที่พอใจแล้วก็จะบนไว้ในทำนองว่าถ้าหากคนป่วยหาย จะแก้บนให้ตามต้องการทุกอย่างเป็นเสร็จพิธี
ประเภทของการเหยา
๑.พิธีเหยาเรียกขวัญ แต่งคาย ขันห้าไข่ไก่ ๑ ฟอง ข้าวสาร ๑ ถ้วย เงิน ๖ บาท ง้าว ๑ เล่ม เหล้า ๑ ขวด น้ำหอม ๑ ขัน หมอน ๑ ใบ แคน ๑ อัน พร้อมด้วยคนเป่า พอได้ฤกษ์หมอเขาก็จะเริ่มพิธีโดยขับลำหมอแคนก็จะเป่าแคนประกอบ ในการขับลำนี้จะเป็นการเสี่ยงทายหาสาเหตุว่า ในขณะนี้ขวัญของคนป่วยอยู่ที่ใดและอยู่กับใคร เมื่อหมอแคนเป่าแคนหมอเหยาก็จะขับลำเรียกขวัญของคนป่วยอยู่ ณ ที่ใดก็ให้รีบกลับมา เมื่อขวัญมาแล้วหมอเหยาก็จะบอกว่า ขวัญมาแล้ว และทำการผูกแขนรับขวัญคนป่วย เป็นเสร็จพิธี
๒.เหยารักษาคนป่วย โดยการแต่งคาย ตามแบบอย่างการเหยาเรียกขวัญทุกอย่าง เพิ่มผ้าถุง ๑ ผืน เงิน ๑๒ บาท หมอเหยาจะเพิ่มอิทธิฤทธิ์ในการปราบผีวิญญาณที่เข้ามาสิงในร่างของคนป่วย เช่นการเหยียบไฟ แล้วมาเหยียบบริเวณของร่างกายคนป่วยที่เข้าใจว่าผีสิงอยู่ ตัดกระทงหน้าวัว คล้ายกระทงสามเหลี่ยมใช้เฉพาะกรณีที่มีการตัดกรรมตัดเวร โดยใช้เส้นด้ายยาวพอประมาณปลายเชือกหรือด้ายข้างหนึ่งให้ผู้ป่วยถือไว้ใน ลักษณะนั่งจับเหยียดเท้าทั้งสองไปข้างหน้าปลายเชือกอีกข้าง
หนึ่งผูกติดกระทง หมอผีจะถือง้าวพร้อมกับขับลำตัดกรรมตัดเวร แล้วใช้ง้าวตัดด้ายที่ตัดผูกแขนผูกคอผู้ป่วยไว้เพื่อเป็นการป้องกันวิญญาณ ร้ายไม่ให้เข้ามารังควาญอีก นอกจากนี้หมอเหยายังอมเทียนเป่าเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยในทุก ๆ แห่ง ที่คิดว่าวิญญาณสิงอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย

๓.การเหยาแก้บน แต่งคายเหมือนกัน พิธีข้างต้น(เหยารักษาคนป่วย) มีแต่งคายเพิ่มอีก ๑ คาย และเพิ่มกระทง ๙ ช่อง ให้ทำรูปช้าง รูปม้า หรือรูปวัว (แต่งคล้ายกับเครื่องสะเดาะเคราะห์) หมอเหยาจะเริ่มเหยาด้วยการแต่งชุดตามผีบอกนั่งพับเพียบก้มเงยหน้า มือทั้งสองเสยผมพร้อมกับลำบอกให้ทราบว่าผู้ป่วยได้หายจากอาการป่วยแล้วจึง ได้นำเครื่องบนมาสังเวย ขอให้วิญญาณที่มีส่วนเกี่ยวข้องมารับเครื่องเหล่านี้ และทำพิธีเชิญผีให้ออจากร่างของผู้ป่วย โดยใช้ข้าวเหนียวสุกกวาดตามร่างของผู้ป่วยซึ่งในขณะนั้นหายดีแล้ว อยู่ในลักษณะนั่งเหยียดขาทั้งสองข้าง หมอเหยาจะลำขับวิญญาณที่ยังคงเหลืออยู่ให้ออกไปโดยใช้ข้าวสุกกวาดตามร่างกาย ของผู้ป่วยแล้วทิ้งลงในกระทง ประมาณ ๓-๕ ครั้ง แล้วทำการตัดด้ายจองเวร จองกรรม โดยหมอเหยาใช้ง้าวตัดด้ายซึ่งผูกระหว่างกระทงและมือของผู้ถือขาดออกเป็น ๒ ท่อน ญาติของผู้ป่วยจะยกกระทงนั้นออกจากบริเวณบ้านไปตามทิศทางที่ “ล่าม” บอก เพื่อส่งวิญญาณและในขณะเดียวกันหมอเหยาก็จะเสี่ยงทายหาสมุนไพรเพื่อรักษาคน ป่วยให้หายขาดต่อไป

Location
Tambon กุดบาก Amphoe Kut Bak Province Sakon Nakhon
Details of access
Reference นายสถาป วงศ์สีดา Email sathap_w@hotmail.com
Organization สนง.วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร
Province Sakon Nakhon
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่