การทำไพหญ้าคาภูมิปัญญาสาขาศิลปหัตถกรรมและสิ่งทอ หญ้าคาเป็นวัชพืชศัตรูร้ายที่อยู่คู่กับเกษตรกรไทยมาช้านาน สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นพืชที่กำจัดได้ยาก ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ เกษตรกรยิ่งนัก แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้นกลับพบว่ามันเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์ที่ใครๆต้องการเนื่องจากมันสามารถนำมาทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด และยังสามารถนำมามุงเป็นหลังคาป้องกั้นความร้อนจากแสงแดด และฝนตก ที่สำคัญมันได้ชื่อว่าเป็นพืชทางเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้คนในหลายๆท้องที่อีกด้วย (www.stou.ac.th)
จากการสัมภาษณ์นางลุน หล่มชาลี กล่าวว่า อาชีพ เกษตรกรรม เกิดวันที่ พ.ศ. 2472 จบการศึกษา ป.4 บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 3บ้านนาคูณ ตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น 40150
ประวัติความเป็นมาในสมัยก่อนจะนำหญ้ามาทำเป็นหลังคา สร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย ทำเองเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน โดยเรียนรู้มาจากตา สอนให้ทำตั้งแต่อายุได้ 13 ปี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. ไม้ไผ่ 2. หญ้าคา 3. ต้นคร้า
วิธีทำ
1. ตัดหญ้าคามาตากแดด 1-2วัน
2. นำไม้สางหญ้าส่วนที่ไม่เท่ากันออก นำหญ้ามาทำให้เท่ากัน
3. ไม้ไผ่ผ่าซีกกว้างขนาด 2 เซนติเมตร ยาว 1.20 - 1.50 เมตร ใช้สำหรับเป็นแกนผูกยึดหญ้าคากับตอก
4. เริ่มไพหญ้าคา โดยการหยิบหญ้าคาที่ละหยิบมือพับลงบนไม้ไผ่ จากนั้น เย็บด้วยจักตอกที่ทำมาจากต้นคร้าทำเป็นเส้นบาง ๆ ยาว 0.5 - 1 เมตร สำหรับใช้มัดหญ้าคากับไม้ไผ่ ชาวบ้านนิยมใช้ต้นคร้าทำตอก เนื่องจากมีความเหนียว ยืดหยุ่น ไม่กรอบ ไม่หักง่าย มัดให้แน่นลักษณะคล้ายการเย็บผ้า และให้ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งหมดความยาวของไม้นั้น พอเสร็จก็ให้มัดให้แน่น
5. จากนั้นจึงนำไพหญ้าคาไปตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1-2วัน พอแห้งแล้วก็ให้เก็บทับๆกันทีละ10 ตับ วางสลับไปมา ทั้งนี้เพื่อจะได้สะดวกในเวลาเคลื่อนย้ายและนับขายต่อไป
ประโยชน์ของภูมิปัญญามุงหลังคาหรือฝาบ้านสามารถป้องกันแสงแดดและฝน ใช้มุงหลังคาโรงเรือนหรือฟาร์ม ฯลฯ