ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประเภทแหล่งอนุสรณ์สถานจัดตั้งขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 13 ตำบล บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียงได้จัดแสดงหลักฐานที่ ได้จากการสำรวจขุด ค้น ที่บ้านเชียง และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง อันประกอบด้วยกลุ่มภาชนะดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย |
จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มาจากการพบภาชนะลายเขียนสี เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยชาวบ้านเชียง ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ชาวอเมริกัน ได้พบภาชนะดินเผาที่บ้านเชียงโดยบังเอิญจึงนำไปแจ้งที่กรมศิลปากร ปีพ.ศ. 2510 จึงได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกปี พ.ศ.2515 ได้ขุดค้นเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีในพร้อมกับแหล่งอื่นในบ้านเชียง และครั้งสุดท้ายปีพ.ศ. 2517-2518 กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ร่วมมือขุดค้นและหาข้อมูลใหม่เพิ่มเติม โดยเรียกโครงการนี้ว่า " โครงการ โบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งชาติ บ้านเชียง จึงได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 เป็นต้นมา |
พ.ศ. 2524 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับกรมศิลปากร ได้ของบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มาสร้างอาคารหลังแรก แต่เนื่องจาก สภาพพื้นที่ยังเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน นายมีชัย ฤชพันธุ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอเงินงบประมาณในโครงการเงิน กสช. มาปรับปรุงพื้นที่ให้สวยงาม และพรรคชาติไทยยังได้บริจาคต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับให้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียง ด้วยเช่นกัน |
พ.ศ. 2525 ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ของบประมาณสร้างอาคารหลังที่ 2 จากมูลนิธิ จอร์น เอฟ เคเนดี แห่งประเทศไทย และกรมศิลปากรได้มีงบประมาณสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 6,100,000 บาท เนื่องจากในวโรกาสสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุ 84 พรรษา กรมศิลปากร ได้กราบบังคมทูลพระบรมราชานุญาตใช้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า "อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ทรงเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ในวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2530 |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ปัจจุบันมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 25 ไร่ คือ บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง หลุมขุดค้นทางโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน และบ้านไทพาน ด้วยเหตุผลที่คนบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีหลักฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนยุคนั้น ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เป็นอย่างดี คณะกรรมการมรดกโลกได้ร่วมกันตกลงยอมรับให้ขึ้นบัญชี " แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง "ไว้เป็นแหล่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 359 ของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2535 |
การจัดแสดง
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียง ได้แบ่งการจัดแสดงออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้ 1.การจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 2.การจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมบ้านเชียงที่อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี |
แบ่งการจัดแสดงตามอาคารดังนี้ | 1. | อาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล | | อาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งตามห้องจัด แสดง ดังต่อไปนี้ | | ห้องที่ 1 | จัดแสดงขั้นตอนการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีลำดับขั้นตอนดังนี้ | | | 1.1 | การเตรียมการและการสำรวจ เริ่มตั้งแต่การจัดทำโครงการ การหาทุน การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น หาสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์บุคคลในท้องถิ่น การเก็บตัวอย่างโบราณวัตถุ เป็นต้น | | | 1.2 | เทคนิคและการขุดค้นจะถูกกำหนดขึ้นตามสภาพของแหล่งโบราณคดี การบันทึกข้อมูล ถ่ายภาพ วาดภาพ ซ่อมสงวนโบราณวัตถุ เป็นต้น | | | 1.3 | การศึกษา วิเคราะห์และวิจัย นักโบราณคดีไม่ได้เชี่ยวชาญหมดทุกเรื่องเสมอไป จึงต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น นักธรณีวิทยา นักมานุษยวิทยา นักสัตววิทยา นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เมื่อผลการศึกษาเป็นที่รู้แล้ว นักโบราณคดีจะนำมาประกอบและร่วมพิจารณาตีความ ตั้งสมมุติฐานหรือสรุปต่อไป | | | 1.4 | การเสนอรายงาน ผลได้จากการสรุปข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงขั้นสมบูรณ์ จะต้องนำออกมาเผยแพร่ และจัดแสดงในรูปแบบต่างๆ | | ห้องที่ 2 | สมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | | | ด้วยความมีพื้นที่กว้างขวาง มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย การตั้งหลักแหล่งของคนจึงกระจัดกระจายไปตามลุ่มน้ำ | | ต่างๆ ดังจะเห็นว่าได้พบเครื่องมือหินกะเทาะที่เก่าแก่ที่สุดดที่จังหวัดเลย มุกดาหาร และได้พัฒนาเครื่องมือมาเป็นโลหะสำริด จากหลักฐานการขุดค้นที่บ้านโนนนกทา อ. ภูเวียง จังหวัดขอนแก่นหรือที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จ. อุดรธานีทั้งสองแหล่งกำหนดอายุได้ 5000 กว่าปีมาแล้ว นับเป็นจุดเริ่มต้นของจุดสำริดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | | | ต่อมาประมาณ 2700 ปีมาแล้ว คนยุคก่อนประวัติศาสตร์เริ่มมีการนำเหล็กมาใช้เป็นเครื่องมือแทนสำริด ส่วน | | เครื่องประดับยังคงนิยมทำด้วยสำริดอยู่บ้าง ช่วงระยะหลังต่อมา การตั้งถิ่นที่อยู่มักจะตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการขยายพื้นที่การเพาะปลูกมากขึ้นนั่นเอง การค้นพบโบราณวัตถุมักจะพบในแหล่งสกลนคร ซึ่งมีแม่น้ำสงครามและลำน้ำสาขา เป็นแหล่งสำคัญ นอกจากนี้ยังกระจายไปถึงแอ่งโคราช ซึ่งได้พบจากหลักฐานการขุดค้นที่บ้านธารปราสาท อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา | | ห้องที่ 3 | การจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียง จากบ้านนาดี ต. พังง ูอ. หนองหาน จ. อุดรธานี จากบ้านนาโก ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย และจากจังหวัดหนองคาย | | ห้องที่ 4 | การจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ จากบ้านธารปราสาท อ. โนนสูง จ.นครราชสีมา | | ห้องที่ 5 | การจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียง จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่ จังหวัดอุดรธานี และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง | 2. | อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี | | อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียง แบ่งการจัดแสดงออกตามห้องดังต่อไปนี้ | | ห้องที่ 1 | ห้องโลหะกรรม | | | จัดแสดงเกี่ยวกับการขุดค้นทางโบราณคดีบ้านเชียง และเรื่องราวของการทำสำริดและเหล็ก รวมถึงแหล่งแร่โบราณตามแหล่งต่างๆด้วย | | ห้องที่ 2 | ห้องเครื่องปั้นดินเผา เป็นห้องที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา การกำหนดอายุลักษณะเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ ภาชนะดินเผากับประเพณีการฝังศพ ตลอดจนเทคนิคการผลิตภาชนะดินเผาที่บ้านเชียง | | ห้องที่ 3 | ห้องบ้านเชียง การค้นพบสำริดที่สาบสูญ เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีพ.ศ. 2525-2529 แสดงผลการสำรวจขุดค้นและศึกษา วิจัย หลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้จาการขุดค้นร่วมกันระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่บ้านเชียง เมื่อปีพ.ศ. 2517-2518 | | ห้องที่ 4 | ห้องบ้านเชียงวันนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลและวัตถุพื้นบ้านของชาวบ้านเชียงในปัจจุบัน ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชาวพวน มาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเชียงตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์หรือเมื่อประมาณ 200ปีมาแล้วซึ่งเดิมมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่เมื่อมีการขุดพบโบราณคดีที่บ้านเชียง สังคมและการดำรงชีวิตส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงไป | | | | |
|
แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน | แหล่งโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน ห่างจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ บ้านเชียงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 | เมตร เป็น1ในหลายแห่งที่ขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียง แหล่งนี้ได้ขุดค้นเมื่อปีพ.ศ.2515 เป็นหลุมขุดค้นที่จัดอยู่สมัยปลายของวัฒนธรรมบ้านเชียง มีอายุระหว่าง 2300-1800 ปีมาแล้ว สมัยนี้ภาชนะดินเผาจะเขียนลายพื้นสีแดงบนลายสีนวลเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง และฉาบด้วยน้ำดินสีแดงแล้วขัดมัน ส่วนด้านโลหะกรรม ยุคนี้รู้จักการนำเหล็กมาใช้ได้แล้ว ส่วนสำริดถึงแม้จะพบทำเป็นเครื่องใช้น้อยลง แต่ยังคงทำเป็นเครื่องประดับที่พัฒนาด้านความประณีต และสวยงามมากกว่าทุกสมัย | บ้านไทพวน | | บ้านไทพวน อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ บ้านเชียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 700 เมตร เดิม | เป็นบ้านของนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ มอบให้กรมศิลปากร เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นโบราณสถาน และได้มีการขุดค้นตาม หลักวิชาการทางโบราณคดี ได้พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาเยือนแหล่งโบราณคดีนี้ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จประทับบนบ้านหลังนี้ ได้ทรงถามทุกข์-สุข ของนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ และครอบครัว ทรงถามถึงชีวิตความเป็นอยู่แบบ "คนไทพวน" เช่น กินอยู่ อย่างไร ห้องครัวทำอย่างไร ห้องน้ำใช้อย่างไร สวนครัวปลูกอะไรบ้าง จนทำให้ นายพจน์ มนตรีพิทักษ์ซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณ ต่อมาจึงได้มอบบ้านและที่ดินหลังนี้ ให้กรมศิลปากรเป็นผู้อนุรักษ์เอาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา เนื่องจาก บริเวณแห่งนี้มีเนื้อที่ค่อนข้างคับแคบ ไม่สะดวก ต่อมาผู้มาเยือน นางนิภาภรณ์ กลางพรหม จึงได้มอบที่ดินที่อยู่ติดกันให้ แก่กรมศิลปากรมีเนื้อที่ประมาณ 41 ตารางวา รวมกับพื้นที่ทั้งหมดได้ประมาณ 275 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ในความรับผิด ชอบ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง กำลังจะพัฒนาการจัดแสดงวัฒนธรรม " แบบไทพวน " ไว้ในอาคารดังกล่าว บริเวณบ้านไทพวนจะปลูกต้นไม้ พืชผักสวนครัว รั้วบ้าน กินได้ ให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบท้องถิ่น ไทพวน |
|
โบราณวัตถุที่สำคัญ
1. ภาชนะดินเผา ก้นกลม คอยาว ลายขูด ชำรุด แตกต่อไว้ทั้งใบ ขุดค้นได้ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงตั้งแต่ปี พ.ศ.2510- 2518
2. ภาชนะดินเผา ก้นกลม ปากเล็ก ลายขูด ชำรุด แตกต่อไว้ทั้งใบ ตรงบ่ามีสันนูนหยัก
3. ภาชนะดินเผา ก้นกลม ปากบาน ลายเขียนสีแดง ชำรุด ปากบิ่น
4. ภาชนะดินเผา มีเชิง สีดำ ปากบาน ลายขูด ชำรุด กะเทาะ
5. ภาชนะดินเผา ก้นกลม ปากบาน ลายเขียนสีแดง ฯลฯ