ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 20° 6' 43.9999"
20.1122222
Longitude : E 100° 30' 49"
100.5136111
No. : 193405
พิธีกรรมสู่ขวัญควาย
Proposed by. เชียงราย Date 5 January 2021
Approved by. เชียงราย Date 6 January 2021
Province : Chiang Rai
0 1224
Description

ประวัติความเป็นมาของข้อมูล

อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายนั้น ชาวบ้านส่วนมากล้วนทำการเกษตรกร อาทิ การเพาะปลูกที่เกี่ยวพันกับท้องนา ซึ่งสิ่งที่มีค่าในด้านแรงงานที่ช่วยชาวนานั้น คือ ควาย ที่ชาวบ้านเวียงแก่นได้กล่าวไว้ว่า “มีนาก็ต้องมีควาย มีควายก็มีนา” ซึ่งเป็นของคู่กัน เพราะคนเราได้ทำการใช้แรงควาย เอาควายมาทำนาแต่ก่อนหน้านั้นจะมีการใช้จอบขุดดินทำนา แต่เนื่องจากไม่ทันการ จึงมีความคิดที่เอาควายมาใช้ เมื่อหมดฤดูไถหว่าน ชาวนาจึงมีพิธีบายศีลสู่ขวัญ หรือเรียกกันว่า “สู่ขวัญควาย” โดยไปเกี่ยวหญ้าอ่อนให้ควายกิน เอาน้ำให้ควายอาบขัดสีฉวีวรรณอย่างงาม เพราะเจ้าของล้วนเอาใจซึ่งคนโบราญได้ยกย่องควายว่ามีบุญคุณแก่ตัว ในวันนั้นควายจะได้รับความสุขที่สุด ดังนั้นแล้วควายจึงถือเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีค่ามาก และไม่นิยมรับประทานเนื้อควาย โดยมากจะเลี้ยงมันจนเฒ่าแก่และตายไปเอง

ประเพณี/พิธีกรรม หรือความเชื่อของการสู่ขวัญควายหรือการฮ้องขวัญควาย

การสู่ขวัญควาย มีการพิสูจน์ควายมีกี่ขวัญ โดยสังเกตจากก้นหอย หรือรากขวัญตามร่ายกายของสัตย์ ซึ่งควายอาจมีขวัญตั้งแต่ 10 ถึง 12 ดังนั้นขวัญควายจะหายง่ายกว่าขวัญคน เพราะมีขนหนาและหยาบ

พิธีสู่ขวัญควาย นำเอาเครื่องพิธีมาวางบนเสื่อที่ปูไว้ แล้วจูงควายไปอาบน้ำจนสะอาด แล้วจูงควายไปผูกกับเสา จากนั้นก็เป็นพิธีเชิญพิธีกร หรือปู่อาจารย์ ทำพิธีปัดเคราะห์ เรียกขวัญ

เครื่องทำพิธีสู่ขวัญควาย

- ทำบายศรีนมแมว หรือบายศรีปากชาม อย่างใดอย่างหนึ่ง

- ทำกรวยดอกไม้

- ด้ายสำหรับผูกเขาควายเวลาสู่ขวัญ

- หญ้าอ่อน 1 หาบ สำหรับเป็นรางวัลแก่ควาย (หญ้าต้นข้าว)

- ข้าวเหนียวสุก 1 กล่อง

- ไก่ต้มหนึ่งคู่

- เหล้าไหหนึ่ง

- ขนมบางอย่าง อาทิ ขนมต้นขาว ขนมต้มแดง หรือข้าวต้มมัด

- น้ำขมิ้นน้ำส้มป่อยใส่ขันเงิน สำหรับพรมควาย

บททำขวัญ

  • ประการที่ ๑ ความกตัญญูรู้คุณ คนไทยถือว่าควายเป็นสัตว์ใหญ่ และมีบุญคุณแก่ตน เพราะช่วยในการไถ การทำไร่นา
  • ประการที่ ๒ ความเมตตากรุณา บททำขวัญควายสะท้อนความรู้สึกเมตตากรุณาต่อควาย ในคำ สู่ขวัญควาย กล่าวถึงการเอาหญ้าอ่อน หวานอร่อยมาให้ควายเคี้ยวกิน เป็นการให้รางวัลแก่ควาย
  • ประการที่ ๓ ความสำนึกผิดที่เคยรุนแรงต่อควาย โดยกล่าวถึงว่าขณะที่มีการไถนาอยู่นั้น บางครั้งควายเดินช้า มัวกินหญ้าตามข้างทาง คนอาจจะตีฟาดด้วยเชือกกระแทกด้วยปฏัก ควายได้รับความเจ็บปวดทรมานแสนสาหัสก็อดทนกลํ้ากลืนไว้ เพราะพูดไม่ได้ ชาวนารู้สึกสำนึกผิด จึงทำพิธีบายศรีสู่ขวัญขอขมาวัวควาย นับเป็นคุณธรรมอันประเสริฐในหัวใจของชาวนา ในแง่นี้พิธีสู่ขวัญควายจึงเป็นพิธีที่มนุษย์ขอขมาโทษ และปลอบขวัญควายซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉาน

บทสู่ขวัญควาย

บทสู่ขวัญประเภทนี้มีใจความสำคัญกล่าวถึงการสำนึกถึงบุญคุณและการขอโทษต่อควาย ควายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ควบคู่กับเกษตรกรไทยในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ควายไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่ให้คนใช้เป็นแรงงานเท่านั้น หากแต่เป็นเพื่อนตายในการต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติไทย

ลักษณะเด่นที่เป็นอัตลักษณ์

พิธีสู่ขวัญควาย ได้ประพฤติปฏิบัติกันมา เพื่อตอบแทนบุญคุณของควายที่ได้ใช้งาน เป็นพิธีที่มนุษย์มาขอขมาโทษ และปลอบขวัญควาย ซึ่งเป็นสัตว์เดรัชฉาน เป็นพิธีที่ทำกัน เมื่อเสร็จจากภารกิจการปลูกข้าว ทำไร่ทำนาแล้วก็จะมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ที่ได้ใช้แรงให้ระลึกถึงบุญคุณของควายที่ได้ให้แรงงานไถนา โดยการทำพิธีสู่ขวัญควาย คือการบายศรี เป็นการสอนให้คนรู้จักความกตัญญูรู้คุณ มีเมตตากรุณา ซึ่งผู้ทำพิธีมักเป็นเจ้าของควายเอง คนกับควายวิถีชีวิตชาวชนบทนั้นจึงผูกพันลึกซึ้ง มีความรักและเอื้ออาทรต่อกัน ไม่ว่าคนหรือสัตว์ มิตรภาพที่จะดำรงอยู่ได้เนิ่นนาน สายใยผูกรัดไม่ให้ขาด คือ น้ำใจ ซึ่งควายตัวผู้จะให้เครื่องนุ่งห่มและให้ธงตัวผู้ ควายตัวเมียวจะให้ธงตัวเมีย ใช้เป็นของสมมุติในการตอบแทนบุญคุณของควาย อันทั้งยังมีขัน สรวย เพื่อขอสุมมาคารวะที่ได้ทำร้าย ได้ด่าว่าควาย ก็จะมีน้ำขมิ้น น้ำส้มป่อย จะได้ไม่มีเวรไม่มีกรรมต่อกันโดยรวมและจะมีลักษณะพิธีการสู่ขวัญควายคล้ายๆกับการสู่ขวัญคน ซึ่งการสู่ขวัญควายจะตรงกับ เดือน ๙ ของทุกปี พิธีสู่ขวัญควาย จึงเป็นพิธีที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับควาย ที่เป็นไปด้วยความอ่อนโยน เอื้ออาทร

และรู้สึกสำนึกในบุญคุณควาย ประเพณีสู่ขวัญควาย จึงเป็นประเพณีที่สมควรจะอนุรักษ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้เห็นภูมิปัญญาและจิตวิญญาณของบรรพชนไทย ในปัจจุบันวิถีการทำนาได้เปลี่ยนแปลงไปควายมีบทบาทน้อยลงอย่างมาก มีเทคโนโลยีอย่างอื่นเข้ามาแทนที่ควาย พิธีทำขวัญควายรวมถึงบทสู่ขวัญควาย จึงเสี่ยงต่อการสูญหายและการสืบทอดในอนาคต

ขั้นตอน/วิธีการ/ดำเนินการ

การทำพิธีสู่ขวัญควาย

โดยจะต้องจัดเตรียมหญ้าอ่อนให้เพียงพอให้ควายกินตลอดช่วงทำพิธี นำดอกไม้ ธูป เทียน ไก่ต้ม เหล้าขาว ข้าวเหนียว กล้วย หมาก พลู ด้ายสายสิญจน์ และน้ำส้มป่อย นำไปไว้มุมใดมุมหนึ่งของคอกควาย และใส่แอกเข้ากับควาย จากนั้นกล่าวคำเชิญ เมื่อกล่าวถึงท่อน “ปลดแอก” ให้ปลดแอกออก แล้วนำกรวยดอกไม้ธูปเทียนมัดไว้ที่เขาควาย หลังจากคำกล่าวจบลง ให้ทำการปอนข้าวปอนน้ำให้แก่ควาย พร้อมกับนำน้ำส้มป่อยประพรมควาย เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อวัว ควาย ที่ช่วยในการปลูกข้าวตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้น เพื่อเรียกขวัญวัวควายที่อาจตกใจ และเพื่อขออโหสิกรรมหรือขอขมาลาโทษที่ทุบตีด่าว่าตลอดฤดูกาลที่ใช้งาน ขออย่าให้เป็นเวรเป็นกรรมต่อไป เป็นพิธีที่จัดขึ้นหลังจากพิธีเก็บเกี่ยวผ่านไป

วิธีทำขวัญควาย

- นำเอาเครื่องพิธีมาวางบนเสื่อที่ปูไว้ในแหล่งหรือคอกควาย

- เจ้าของนำควายไปอาบน้ำ ขัดสีฉวีวรรณจนหมดจดสะอาด

- จูงควายมาผูกไว้กับเสาหรือหลักในคอก

- จากนั้นก็ไปเชิญพิธีกร หรือ ปู่อาจารย์มาทำพิธีปัดเคราะห์ เรียกขวัญ

- เอาด้ายผูกกรวยดอกไม้ติดกับเขาควาย บางรายเอาด้ายสายสิญจน์ผูกคนไว้ด้วย

- เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยประพรมเพื่อให้ควายอยู่สุขสบาย

- พอทำพิธีเสร็จ เจ้าของยกเครื่องข้าวขวัญออกไป และนำเอาหญ้าอ่อนมาให้ควายกินเป็นเสร็จพิธีทำขวัญควาย

- สำหรับเจ้าของยังไม่เสร็จเพราะยังจะชวนพิธีกรมากินไก่และดื่มเหล้าจากไหนั้น สนุกสนานตลอดวัน ถือว่างานปักดำได้ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นการฉลองความเหนื่อยยากจากการไถนาและดำนาอีกส่วนหนึ่งด้วย

Location
Tambon ม่วงยาย Amphoe Wiang Kaen Province Chiang Rai
Details of access
Reference สิริรัตน์ โอภาพ Email sirirat_kn@hotmail.com
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่