บุญพระเหวดบุญที่มีการเทศน์พระเหวดหรือมหาชาติ เรียกบุญพระเหวด หนังสือมหาชาติหรือ เวสสันดรชาดก เป็นหนังสือชาดกที่แสดงจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า คราวพระองค์เสวยพระชาติเป็นเวสสันดร บุญพระเวสสันดรกำหนดทำในเดือนสี่ เพราะมีกำหนดการทำคงเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนสี่ มูลเหตุแห่งการทำมีเรื่องเล่าไว้ในหนังสือเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยเถระได้ขึ้น ไปไว้พระธาตุเกษแก้วจุฤามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ไปพบและสนทนาพระศรีอริยเมตไตรโพธิ์สัตว์ ผู้ซึ่งจะ มาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระศรีอริยเมตไตรได้ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยแล้ว จึง สั่งความมากับพระมาลัยว่า ถ้ามนุษย์ต้องการพบและร่วมเกิดกับท่านจงอย่าฆ่าตีบีฑ์โบยพ่อแม่สมณพราหมณา จารย์อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้าและยุยงพระสงฆ์ให้แตกกัน ให้ตั้งใจฟังมหาเหวดให้จบในมื้อหนึ่งวันเดียว จะได้ เกิดร่วมและพบเห็นพระองค์อาศัยเหตุนี้ ประชาชนจึงพากันเอาบุญมหาชาติเป็นประจำทุกปี งานประเพณีบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีการสืบทอด ประเพณีบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติเป็นประจำทุกปี โดยมีวันโฮมบุญก่อน พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่ง ศาลา หรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธง ใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อนและเครื่องคาวหวาน สำหรับผี เปรต และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวน ผ้าผะเหวด วันต่อมาจะมีการแห่พระเวสสันดรชาดก โดยทำเป็นขบวนแห่ มีการ ประดับตกแต่งขบวนแห่แต่ละขบวนให้มีความสวยงามและเป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร หอพระอุปคุต หอพระอุปคุตนั้นใช้เสาไม้ไผ่ ๔ เสาปลูกให้สูงเพียงตา เอาฝาขัดแตะแอ้ม ๓ ด้าน เอาบาตร ร่ม กระโถน กาน้ำ จีวร ไม้เท้าเหล็กใส่ไว้ในหอ เวลาบ่าย ๓ โมง จัดเครื่องสักการะไปเชิญเอาพระอุปคุตมาอยู่หอ สมมุติว่าท่านอาศัยอยู่แม่น้ำ ห้วย หนอง หรือที่ใดที่หนึ่งใกล้กับที่นั้น มูลเหตุของพระอุปคุต เรื่องเดิมมีว่า พระอุปคุตเป็นระเถระผู้มีฤทธิ์ นิรมิตกุฏิอยู่กลางแม่น้ำมหาสมุทรครั้งพระเจ้าอโศก มหาราชรวบรวมพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าจากที่ต่าง ๆ มาบรรจุไว้ในสถูปที่พระองค์สร้างใหม่เสร็จแล้วจะ ทำการฉลอง จึงทรงปริวิตกถึงมารผู้เคยเป็นศัตรูคู่เวรของพระพุทธเจ้า จึงรับสั่งให้ไปนิมนต์พระอุปคุตมาในพิธี เมื่อมารรู้ว่าพระเจ้าอโศกจะฉลองเจดีย์ ก็มาแสดงอิทธิฤทธิ์โต้ตอบกับพระเถระ ครั้งสุดท้ายพระเถระนิรมิต หนังสุนัขเน่าผูกแขวนคอมารไว้มารแก้เองและให้ผู้ฤทธิ์ช่วยแก้ก็แก้ไม่ได้ มารจึงยอม พระเถระแก้หนังสุนัขเน่าออกแล้วให้เอาตัวไปกักไว้บนยอดเขา การฉลองเจดีย์ของพระเจ้าอโศกจึงปลอดภัย อาศัยเหตุนี้ในงานบุญพระเหวดทุกงาน จึงนิยมเชิญพระอุปคุตมาเพื่อป้องกันมาร คำเชิญพระอุปคุต โอกาสะ โอกาสะ ฝูงข้าทั้งหลายภายในมีพระสงฆ์เป็นเค้า ภายนอกมีออกตนเป็นประธาน พากันจัด เครื่องสักการระมาขาบไหว้แก่ยอดไท้อุปคุตเถระตนมีฤทธีองอาจ นิรมิตผาสารทแก้วกุฎีกลางนัททีแม่น้ำใหญ่มัก ใคร่ด้วยพรมหมจารี อยู่สุขีบ่โศกเศร้าบัดนี้ฝูงข้าพเจ้าทั้งหลาย พร้อมกันฟังยังพระเหวด ในช่วงเขตอาฮาม ขอ อัญเชิญเจ้ากูตนทงคุณคามมาก เป็นอาชแพ้แก่ผีในจักรวาลขอจงไปผาบมารทัง ๕ อันจะมาเบียดเบียนฝูงข้า ทั้งหลายให้หายโภยภัยอันตรายทุกส่ำ พร้อมพร่ำถ้วนทุกประการก็ข้าเทอญ พอว่าคำเชื้อเชิญจบแล้ว ก็ตีฆ้องร้องป่าวถือบาตรไตรจีวรแห่มาเวียนหอ ๓ รอบ แล้วเอาสิ่งของวางใน หอนั้นเวลาเพลและจังหัน จัดหาอาหารคาวหวานไปไว้ในหอนั้นด้วย ต่อไปก็เตรียมการไปแห่พระเหวด พิธีแห่พระเหวดเข้าเมือง เมื่อได้เวลาบ่าย ๔ โมงเศษทางวัดจะตีกลองโฮมพระสงฆ์ และญาติโยมจะไปรวมกันที่วัดจัดเอาฆ้อง กลอง และธรรมาสน์พร้อมด้วยพระพุทธรูปแห่ไป ณ ชายป่าใกล้บ้าน ซึ่งเป็นป่าที่มีดอกไม้ เมื่อไปถึงแล้วต่าง คนต่างเก็บเอาดอกไม้มา หัวหน้าพาไว้พระรับศีลและฟังเทศน์ การเทศน์ในพิธีนี้เทศน์เชิญพระเวสสันดรเข้า เมือง จบแล้วก็แห่แหนตีฆ้องหามพระพุทธรูปและพระสงฆ์ออกก่อน กระบวนแห่ดูเป็นการสนุกครึกครื้นมาก เมื่อมาถึงศาลาโรงธรรมก็แห่รอบ ๓ ครั้ง แล้วน าดอกไม้ไปบูชาวางไว้ข้างธรรมาสน์ พิธีแห่ข้าวพันก้อน ข้าวเหนียวที่ปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ทำเสียบไม้กะให้ได้ ๑,๐๐๐ ก้อน เพื่อเอาบูชาคาถาพันเรียกข้าวพัน ก้อน เมื่อได้เวลาตีสี่ ก็จัดการแห่ข้าวพันก้อน คำบูชาข้าวพันก้อน การแห่ข้าวพันก้อน แห่รอบศาลาโรงธรรม มีหัวหน้าว่าคำบูชา พวกลูกน้องว่าตามว่า นะโม นะไม จอมไตรปิฎก ยกออกมาเทศนาธรรม ขันหมากเบ็งงามสะพาส ข้าวพันก้อนอาชญ์บูชา สาธุ ว่า ดังนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบ ๓ รอบ แล้วขึ้นไปบนศาลา คำอาราธนาพระเหวด สุณันตุ โภนโต เย เทวาสังฆา ดูเรเทพยดาทั้งหลาย อันยายยังอยู่ ทุกหมู่ไม้ไพรพนอม ทุกเหวฮ่อมฮาว ป่า ทุกประเทศท่าฮาวเขา ทุกแถวเถาเถื่อนถ้ำ ทุกท่าน้ำและวังปลา พรรณนาฝูงเผดและผีอันมีใจโหดฮ้ายโทสะ จงให้เจ้าทังหลายปะละเสียยังใจอันเป็นบาปให้ค่อยโสภาพเงี่ยนโสตฟังธรรม เดาดาจำจื่อไว้ เป็นประทีปใต้ ส่องตามทาง ฝูงหมู่เทวดาทังหลาย อันรักษาวัดวาและประเทศทางเขตใต้ฮอดหลี่ผีทางเหนือมีผาไดผาด่าง ทาง ข้างซ้ายกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายเหนือมีแดนแกวเป็นเขต ทุกประเทศด้าวอันอยู่ห้องพระสุธา กับทังนางธรณีจำ จื่อน้ำ เป็นผู้ค้ำฝูงหมู่ปาณา ฝูงหมู่เทวดาเจ้าทังหลาย ภายบนมีพระอินทรพญาหรหมจงลงมาโมทนาซึ่งธรรม อันฝูงข้าทังหลาย (ภายในมีสมเด็จมหาราชครูเป็นเค้าภายนอกมีมหาราชตนเป็นอาชญ์ในเมืองแก้วราชอุบลกับ ทังกัลยาเมียมิ่งลูกแก้วกิ่งชายา กับทังราชปิตามารดาพ่อแม่ เฒ่าแก่พร้อมกันมาทังราชาแลอุปฮาช ทัง นักปราชญ์และอาจารย์ เนคมา ชาวนิคมบ้านนอก อันอยู่ขงขอกเมืองแก้วราชอุบล) ชวนกันมาพร้อมแพ่ง แต่ง เครื่องไหว้บูชา สหัสสาหลายมีมาก ดอกอุบลหลากพอพันบัวแดงบานไขกาบ ดอกผักตบอาจเขียวนิล ดอก กลางของหลายบ่น้อย พันหนึ่งค่อยขนขวาย ช่อทุงยายสะพาสข้าวพันก้อน อาชญ์บูชา บัดนี้ข้าจักแจกคาถาเวสสันดรชาดกเป็นคาถาพันผิจักแบ่งเป็นกัณฑ์ ได้สิบสามกัณฑ์ พรรณนาในทศ พรกัณฑ์เป็นเค้า มีสิบเก้าคาถา ข้าจักแบ่งบูชาแลสิ่งแลสิบเก้า บูชากัณฑ์ เค้าชื่อทศพร หิมพานต์กัณฑ์ถ้วนสอง มีคาถาฮ้อยสามสิบสี่คาถา เครื่องบูชาถวายไว้ ทานขันธ์กัณฑ์ถ้วนสาม มีคาถาหลายสองฮ้อยเก้า ยอเครื่องฮ้อย บูชา วนัปปเวสกัณฑ์ถ้วนสี่ มีห้าสิบเจ็ดคาถา เครื่องบูชาแบ่งไว้ บูชากัณฑ์ถ้วนหน้า มีเจ็ดสิบเก้าคาถา เครื่อง บูชาบ่ขาดบ่ตก จุลพนกัณฑ์ที่ถ้วนหก มีสามสิบห้าคาถา เครื่องบูชาจัดแต่งไว้ มหาพนกัณฑ์ถ้วนเจ็ดมีแปดสิบ คาถาเครื่องบูชามีไว้ กุมารกัณฑ์ถ้วนแปดมีฮ้อยหนึ่งคาถาเครื่องบูชาครบถ้วน มัทรีกัณฑ์ถ้วนเก้ามีเก้าสิบคาถา เครื่องบูชาแบ่งไว้ซู่อัน สักบรรพ์กันฑ์ถ้วนสิบ มีสี่สิบสามคาถา เครื่องบูชาตกแต่งไว้ มหาราชกัณฑ์ถ้วนสิบเอ็ดมี หกสิบเก้าคาถาเครื่องบูชาสะพาสงามดี ฉขัตตีย์กันฑ์ถ้วนสิบสองมีสามสิบหกคาถา เครื่องบูชาบ่น้อย นครกัณฑ์ ถ้วนสิบสามมีสี่สิบดเก้าคาถา เครื่องบูชาแต่งถ้วนมีครบล้วนยอถวายคาถาทังหลายรวมกัน สหัสสังได้พอพัน ครบถ้วน แต่งเครื่องล้วนบูชา แล้วจึงเชิญมายังเทวดาทุกเพศ ให้มาฟังยังเทศนา บัดนี้ฝูงข้าทังหลายขอ อาราธนาพระเจ้าผู้วิเศษขึ้นเทศนาเรื่องมหาเวสชาดก อันพระธรรมสังคาหกาจารย์เจ้ายกมาเทศนาว่า อาทิ กัลยานัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สพยัญ ชนัง เกวลปริปุณณังปริสุทธัง พรหมจริยัง ปกา เสถโนอาสะ อาราธนังกโรม พระสงฆ์ก็จะเริ่มเทศน์สังกาส คือพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนาเริ่มแต่ต้นไปจนถึงอันตรธาน การเทศน์พระเหวดไม่มีเวลาพักในระหว่างแม้จะเป็นเวลาฉันเช้าฉันเพลก็เทศน์ไปเรื่อย ๆ จวนจะถึงเวลาเพล ญาติโยมจะจัดกัณฑ์เทศน์คนละกัณฑ์ออกมารวมกันที่วัด แล้วแห่รอบศาลาโรงธรรมนำไปถวายพระเณรที่ตน นิมนต์มา เวลาบ่ายโมงจะมีบ้านใกล้เคียงแห่กัณฑ์หลอนมาถ้าถูกองค์ใดเทศน์ จะถวายองค์นั้นการเทศน์จะไป จบเอาอย่างช้าเวลา ๔ ทุ่ม เมื่อจบแล้วจัดขันดอกไม้ว่าคำขอขมาโทษแกพระสงฆ์
วัตถุประสงค์
๑) เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีวัฒนธรรมด้านศาสนาของชุมชนท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
๒) เพื่อให้พระพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในชุมชน
วัสดุ/อุปกรณ์
๑) ผ้าดิบสำหรับวาดภาพกัณฑ์เทศน์ ๑๓ กัณฑ์เทศน์
๒) ไม้ไผ่
กระบวนการ/ขั้นตอน (ทำอย่างไร)
๑) ชาวบ้านนิมนต์พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อ
๒) พราหมณ์ทำพิธีอัญเชิญพระเวสสันดรกลับเมือง (สมมติให้วัดห้วยแก้วเป็นเมืองพระเวสสันดร)
๓) ชาวบ้านช่วยกันถือผ้าดิบที่วาดภาพกัณฑ์เทศน์ ๑๓ กัณฑ์เทศน์ เดินขบวนแห่พร้อมร้องรำทำเพลงไปยังวัดห้วยแก้ว (โดยในระหว่างเดินขบวนแห่ก็จะมีการเรี่ยไรเงินทำบุญด้วย)
๔) เมื่อขบวนแห่ถึงวัด ชาวบ้านก็จะรับศีลรับพรจากพระสงฆ์ ถือเป็นอันเสร็จพิธี
คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
งานประเพณีบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ คืองานมหากุศล ให้ รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งใหญ่ อันมีการสละความเห็นแก่ตัว ของพระเวสสันดร เพื่อประโยชน์สุข ของมนุษยชาติ มีการฟังเทศน์มหาชาติตั้งแต่กัณฑ์แรก ถึงกัณฑ์สุดท้าย โดยเชื่อว่าถ้าฟังเทศน์มหาชาติครบทุก กัณฑ์ภายในวันเดียวจะทำให้ไปเกิดในภพพระอริยเมตไตรย์ การได้รับรู้ถึงความเสียสละของพระเวสสันดร ทำ ให้ผู้คนได้ซาบซึ้งถึงความดีอันยิ่งใหญ่ เกิดความซาบซึ้งในพระพุทธศาสนา มีผลต่อจิตใจของผู้คนให้ยึดถือเป็น แบบอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติ เป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีงามของผู้คน จนทำให้มีการสืบทอด สืบสาน ประเพณีบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติกันทุกหมู่บ้าน จากรุ่นสู่รุ่น การจัดงานประเพณีจึงมีคุณค่าทางสังคมเพราะ ประเพณีทางศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในสังคม เป็นศูนย์รวมของชาวพุทธทุกคนที่ประพฤติปฏิบัติ แบบเดียวกันในวันดังกล่าว
บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
ประชาชนในชุมชนร่วมกันจัดงานประเพณีบุญพระเหวดเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานงานประเพณีฯ ให้คงอยู่สืบไป
การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม (ถ้ามี)
ร่วมจัดกิจกรรมงานบุญประเพณีบุญพระเหวดกับชุมชน