ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 12° 35' 16.9652"
12.5880459
Longitude : E 102° 4' 44.8572"
102.0791270
No. : 195912
เทวรูปสนองพระองค์พระเจ้ากรุงธนบุรี
Proposed by. จันทบุรี Date 25 Febuary 2022
Approved by. จันทบุรี Date 25 Febuary 2022
Province : Chanthaburi
0 321
Description

เทวรูปสนองพระองค์พระเจ้ากรุงธนบุรีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรีหลาย ๆ คนอาจเคยไปไหว้ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่จันทบุรี จะเห็นว่ามีศาลเล็ก ๆ อยู่ศาลหนึ่ง น้อยคนจะนักที่จะรู้ว่ามีเทวรูปพระเจ้ากรุงธนบุรีประดิษฐานอยู่ เป็นศาลเก่าแก่ที่มีอายุกว่าร้อยปี ซึ่งสร้างขึ้นก่อนศาลรูปหมวกเสียอีก แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองศาลนี้ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่า (บ้านลุ่ม) ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยบุกเข้าตี และยังหลงเหลือร่องรอยคูน้ำคันดินบางส่วนภายในค่ายตากสินซึ่งอยู่ทางด้านหลังของศาลแห่งนี้ที่มาของศาลนี้ ในที่นี้แอดมินขอเรียกว่า “ศาลเดิม” ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 ตามทรงประสงค์ของหม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี เนื่องจากศาลเก่าที่สร้างด้วยไม้ที่อยู่คู่กับศาลเทพารักษ์ใกล้กับต้นข่อยทั้งสองต้น (ตรงศาลหลักเมืองในปัจจุบัน) มีสภาพชำรุด จึงได้สร้างศาลใหม่ขึ้นบริเวณด้านตรงข้าม (ตรงศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในปัจจุบัน)แต่เดิมศาลนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศาลหลักเมืองใหม่ ไม่ได้ตั้งใจที่จะสร้างเป็นศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เอาไว้แต่แรก จากคำบอกเล่าของหม่อมหลวงเนตร บุญภักดี ได้กล่าวถึงเอาไว้ว่า“เมื่อสร้างเสร็จจะทำพิธีอัญเชิญจ้าวพ่อหลักเมืองมาประทับศาลใหม่ แต่จะเป็นโดยการเข้าทรงหรือโดยเข้าฝันจำไม่ได้แน่ จ้าวพ่อหลักเมืองไม่ยอมมาประทับศาลใหม่ โดยมีรับสั่งว่าศาลใหม่ไม่ใช่ที่ตั้งหลักเมืองเดิม ศาลที่สร้างใหม่จึงปล่อยว่างไว้มานาน และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้มีการสร้างเทวรูปขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ ศาลแห่งนี้ขึ้นมาแทนศาลเดิมแห่งนี้ หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ได้ขอแบบแปลนมาจากกรมศิลปากร เป็นชนิดแบบไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรมุข มีบันไดด้านหน้าและข้างรวมสามด้าน มีประตู ๓ ช่องหล่อด้วยคอนกรีต หลังคาประดับด้วยกระเบื้องสี ประตูประดับด้วยแก้วสี ภายในก่อเป็นแท่นติดกับหลังศาลและสร้างรูปหล่อสีทองขึ้นประดิษฐานไว้บนแท่นด้วยองค์หนึ่ง คือ เทวรูปพระเจ้ากรุงธนบุรี นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการทำลวดลายเพดาน และบานประตูหน้าต่างประดับมุก ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว ศาลนี้มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 3,000 บาท โดยทรัพย์ทั้งหมดของหม่อมเจ้าสฤษดิเดช ทีนี้เราจะมาพูดถึงเทวรูปองค์นี้กันนะครับเทวรูปพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น หากมองเผินๆ จะมีลักษณะท่าทางคล้ายคลึงกับพระสยามเทวาธิราช ซึ่งหลวงสาครคชเขตต์ได้ทูลถามหม่อมเจ้าสฤษดิเดช จึงทราบว่า ทรงประสงค์ให้รูปพระสยามเทวาธิราช เป็นเทพเจ้าประประจำองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พร้อมทั้งให้ช่างจารึกอักษรไว้ที่ใต้แท่นบูชาว่า “เทวรูปสนองพระองค์พระเจ้ากรุงธนบุรี” เอาไว้ด้วยลักษณะของเทวรูปนี้ ประทับยืนย่อพระชานุเพียงเล็กน้อยบนฐานสิงห์ ด้านหน้าของมวยผมมีพระอมิตาภะพุทธเจ้าประทับอยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นพระโพธิสัตว์ มีการประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ ทั้งศิราภรณ์ กรองศอ สร้อยประคำ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท ครองผ้าเฉวียงพระอังสาแล้วคาดทับด้วยสายธุรำ และนุ่งผ้ายาวจนถึงข้อพระบาท พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระเบนฝ่าพระหัตถ์ไปทางขวา พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงกริช อาจสื่อถึงเหตุการณ์ที่พระองค์ทรงใช้พระแสงกริชแทงช้างพังคีรีกุญชรให้เข้าชนทำลายประตูเมืองและยึดเมืองจันทบูรไว้ได้สำเร็จ ที่ฐานมีจารึกว่า “พระเจ้ากรุงธนบุรี” และใต้ฐานของซุ้มมีจารึกระบุปี “พ.ศ. 2464” อาจจะเป็นปีที่นำเทวรูปองค์นี้มาประดิษฐานไว้นั่นเองการสร้างเทวรูปในลักษณะเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะในยุคนั้น แนวคิดการสร้างรูปเหมือนบุคคลแทนองค์พระมหากษัตริย์ในลักษณะพระบรมรูปเหมือนจริงยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่มักจะสร้างให้เคารพบูชาในรูปแบบของพระพุทธรูปหรือเทวรูป อย่างในสมัยอยุธยา เช่น เทวรูปพระเจ้าอู่ทอง เทวรูปพระนเรศ หรือในสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีการสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร หรือพระพุทธรูปประจำรัชกาล รวมทั้งมีการสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เพื่ออุทิศพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์อยุธยาและธนบุรีด้วย ซึ่งต่างจากยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองที่นิยมสร้างประติมากรรมรูปบุคคลเหมือนจริงอย่างแพร่หลายในรูปแบบของอนุสารีย์ต่าง ๆ เราจึงพบเห็นการสร้างพระบรมรูปเหมือนจริงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือบุคคลสำคัญต่าง ๆ อยู่มากมายทั่วประเทศแอดมินเพจ CHANTista & Stories เรียบเรียงเอกสารอ้างอิง- สาครคชเขตต์, หลวง. (2495). ฝรั่งเศสยึดจันทบุรีและปกครองตราด. จันทบุรี: โรงพิมพ์บรรยงค์การพิมพ์.- เอนก บุญภักดี. (2512). บันทึกการศึกษาเรื่องเมืองจันทบุรี. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ. (พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นายปัญญา เอครพานิช ณ เมรุวัดไผ่ล้อม ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี วันที่ 6 ธันวาคม 2512)

Location
ค่ายตากสินจันทบุรี
Tambon วัดใหม่ Amphoe Mueang Chanthaburi Province Chanthaburi
Details of access
https://www.facebook.com/CHANTistaandStories/
Organization facebook CHANTista&Stories
Amphoe Mueang Chanthaburi Province Chanthaburi ZIP code 22000
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่