ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 19° 47' 24"
19.7900000
Longitude : E 99° 41' 58.9999"
99.6997222
No. : 196779
เครือข่ายชมรมอนุรักษ์และสืบสานการแสดงนาฏศิลป์ อำเภอแม่ลาว
Proposed by. เชียงราย Date 29 June 2022
Approved by. เชียงราย Date 29 June 2022
Province : Chiang Rai
0 419
Description

เครือข่ายชมรมอนุรักษ์และสืบสานการแสดงนาฏศิลป์ อำเภอแม่ลาว ได้รับการรับรองจดแจ้งเป็นเครือข่าย และออกหนังสือรับรองเป็นเครือข่ายทางวัฒนธรรม ใบรับรองเลขที่ ๔๕๓/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยมี นางมาลัย ทะริยะ ข้าราชการบำนาญ เป็นประธานเครือข่าย ทางเครือข่ายได้เข้าร่วมแสดงนาฏศิลป์ร่วมงานต่างๆทั้งในอำเภอและนอกอำเภอ โดยผู้เข้าร่วมในเครือข่ายและผู้แสดงส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุในชุมชน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย

การแสดงส่วนใหญ่ของทางเครือข่ายจะใช้เป็นการฟ้อนเล็บ เนื่องจากเป็นการแสดงที่ไม่ได้จำกัดผู้แสดงและสามารถแสดงได้ในทุกสถานที่หากทางงานเทศกาล ประเพณีใด ต้องการคนแสดงจำนวนมาก ทางชมรมเครือข่ายพร้อมที่จะเตรียมการแสดงให้ได้

ฟ้อนเล็บ เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะ รูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง กระบวนท่ารำเป็นลีลาท่าฟ้อนที่มีความงดงามเช่นเดียวกับฟ้อนเทียน เพลงแต่ไม่ถือเทียน นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ ผู้แสดงจะร่ายรำตามทำนองเพลงที่เชื่องช้า ส่วนการใช้ท่าฟ้อนเล็บนั้น ช่างฟ้อนมักจะจำต่อๆ กันมา เป็นท่าฟ้อนดั้งเดิมของชาวเหนือ คือ ท่าพายเรือ ท่าบัวบานบิด และท่าหย่อน ต่อมาเมื่อนาฏศิลป์ทางภาคกลางแพร่มาสู่ภาคเหนือ การฟ้อนเล็บก็มีการปรับวิธีการฟ้อนให้เข้ากับท่ารำแม่บท เพิ่มท่ารำให้มากขึ้นและแตกต่างกันไป

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฟ้อนเป็นวงกลองตึ่งนง วงต๊กเส้ง หรือวงปี่พาทย์ล้านนา (นิยมใช้กับฟ้อนเล็บแม่ครูบัวเรียว) ซึ่งเป็นดนตรีของชาวภาคเหนือ ได้แก่ กลองแอว กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ฉิ่ง ปี่แนหน้อย ปี่แนหลวง แต่ถ้าเป็นวงต๊กเส้ง จะเพิ่ม สิ้ง มาด้วย เวลาดนตรีบรรเลงเสียงปี่ดังไพเราะเยือกเย็นมาก ท่วงทำนองเชื่องช้า เสียงกลองจะตีดัง ต๊ก สว่า ตึ่ง นง อย่างนี้เรื่อยไป ส่วนช่างฟ้อนก็จะฟ้อนช้า ๆ ไปตามลีลาของเพลง เพลงที่ใช้บรรเลงฟ้อนเล็บจะแบ่งตามท้องถิ่นหลักของแต่ละที่จะใช้เพลงฟ้อนเล็บต่างกัน ดังนี้

๑. เพลงมอญเชียงแสน(เชียงแสนหลวง) เป็นเพลงทำนองฟ้อนเล็บของท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายและพะเยา

๒. เพลงแม่ดำโปน เป็นเพลงทำนองฟ้อนเล็บของท้องถิ่นจังหวัดลำปาง

๓.เพลงแหย่ง เป็นเพลงทำนองฟ้อนเล็บของท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

ฟ้อนแต่ละชุดจะใช้จำนวนคนแตกต่างกันไป นิยมกันมี ๔ คู่ ๖ คู่ ๘ คู่ หรือ ๑๐ คู่

การแต่งกาย

แต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ คือ เกล้าผมทัดดอกไม้และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลมห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง และ สวมเล็บมือยาว ๘ นิ้ว โดยเว้นนิ้วหัวแม่มือ

การสืบสาน สร้างสรรค์ และพัฒนาต่อยอดข้อมูล

มีการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์และสืบสานการแสดงนาฏศิลป์ อำเภอแม่ลาว โดยมีนางมาลัย ทะริยะ เป็นประธานชมชม และได้ยื่นจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมระดับอำเภอ มีการรวมกลุ่มผู้แสดงในระดับอำเภอจำนวนตั้งแต่ ๑๐ – ๓๐๐ คน จัดการเรียนการสอนให้ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจ ให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ รักษาศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมไว้

การแสดงผลงานของข้อมูล

ในงานเทศกาล ประเพณี วันสำคัญต่างๆ ในอำเภอแม่ลาว และสถานที่อื่นๆ ตามผู้ว่าจ้าง จัดการเรียนการสอนให้ทั้งผู้สูงอายุ และเด็ก เยาวชน ในชุมชน

Category
Cultural Network
Location
No. 218 Moo หมู่ที่ 10 บ้านป่าก่อดำ Soi 6 Road พหลโยธิน
Amphoe Mae Lao Province Chiang Rai
Details of access
Reference นางมาลัย ทะริยะ
No. 218 Moo หมู่ที่ 10 บ้านป่าก่อดำ Soi 6 Road พหลโยธิน
Province Chiang Rai ZIP code 57250
Tel. 086-0455157
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่