ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 7' 2.7581"
15.1174328
Longitude : E 103° 36' 40.9928"
103.6113869
No. : 96335
การทำขวัญนาคหรือพิธีสู่ขวัญนาค
Proposed by. vannatit kitdee Date 12 June 2011
Approved by. สุรินทร์ Date 12 June 2011
Province : Surin
0 1447
Description
การทำขวัญนาคหรือพิธีสู่ขวัญนาค เริ่มตั้งแต่วันสุกดิบ หรือก่อนวันบวช ๑ วัน จะจัดเตรียมข้าวของ เครื่องใช้ ตกแต่งสถานที่ เตรียมอาหารถวายพระและรับแขก หรือผู้มาร่วมงาน เตรียมอุปกรณ์เครื่องทำขวัญนาค เช่น เครื่องบายศรี ๑ สำรับ เครื่องกระยาบวช ๑ สำรับ มะพร้าวอ่อน ไข่ขวัญ กล้วยน้ำหว้า ขันใส่ข้าวสาร ช้อนเงินหรือเคียวเกี่ยวข้าว ใบพลู ๗ ใบ เทียนชัย พาน แว่น เวียนเทียน นาคจะต้องโกนผม โกนคิ้วแล้วแต่งตัวด้วยผ้าขาว หรือผ้าไหม สวมชฎา (กูย/กวย เรียกว่า “จอม” หรือ “จ้อม” ) ทาแป้ง แต่งตัวเรียบร้อยแล้วพาไปนั่งกลางวงพิธี พ่อแม่พี่น้อง ญาตินั่งล้อมวง มีเครื่องอัฐบริขารและเครื่องบายศรีอยู่ตรงกลาง หมอพราหมณ์จะพูดคำขวัญหรือทำ พิธีสู่ขวัญเริ่มตั้งแต่ การเริ่มมีชีวิตเป็นคน บิดามารดาเลี้ยงด้วยความรัก ความยากลำบากจนโตเป็นผู้ใหญ่ ถือเป็นบุญคุณมหาศาลประมาณค่ามิได้ ฯลฯ เมื่อจบแต่ละบทก็จะเปิดแว่นเวียนเทียนไปจนรอบตัวนาค ๓ รอบแล้วป้อนน้ำมะพร้าวและขนม ๓ ครั้ง จากนั้นนาคก็นั่งคุกเข่า หมอบลงกราบพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ โปรยข้าวตอกดอกไม้ พิณพาทย์ มโหรีบรรเลง เป็นอันเสร็จพิธีสู่ขวัญนาค จากนั้น จะเริ่มต้นจากการแห่นาค อาจจะใช้ช้าง ม้า รถ เรือ หรือคนให้นาคขี่คอ (ตามแต่เจ้าภาพจะเตรียมการจัดงานให้ใหญ่โตแค่ไหนเพียงไร) บิดา มารดาอุ้มบาตรถือตาลปัตร และไตรจีวร ตามลำดับ ส่วนญาติพี่น้องจะช่วยถือเครื่องอัฐบริขาร เครื่องไทยธรรมและสิ่งของอื่นๆ ในสมัยก่อน การบวชนาคนั้น นับว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับชายหนุ่ม เพราะว่า บิดา มารดาในละแวกเดียวกันจะนัดกันบวชลูกชายคราวละมากๆ และมีพิธีใหญ่โต จัดขบวนแห่นาค ขี่ช้าง ล่อม้าแล้วแห่ไประยะไกลๆ เพื่อญาติพี่น้องและบ้านใกล้ บ้านไกลได้มีโอกาสทำบุญและอนุโมทนาร่วมกัน หนุ่มสาวที่ร่วมขบวนก็จะมีโอกาสพบปะ พูดคุยกันในงานนี้ การแต่งตัวเพื่ออวดกันและกัน ประชันกันเป็นที่นิยมกันมาก สิ่งที่นิยมอวดมากที่สุด ได้แก่ผ้าไหม ผู้ชายจะนุ่งโสร่งไหม ผ้าขาวม้าไหม พร้อมเครื่องประดับ ผู้หญิงแต่งตัวด้วยผ้าไหม ใครมีผ้าไหมที่สวยงามเก็บ เอาไว้ก็จะนำออกมาแต่งกันในวันนี้ นาคจะแต่งตัวด้วย ผ้าขาวหรือผ้าไหมที่พิเศษ ประดับด้วยแก้วแหวนเงินทองที่มีตามฐานะของเจ้าภาพ ทาแป้งแต่งตัว สวมชฎาบนศีรษะ (กูย/กวย เรียกว่า “จอม” หรือ “จ้อม” ) และมีคนคอยกางร่มหรือกางฉัตรให้ สำหรับช้างจะตกแต่งด้วยลวดลายที่สวยงาม และประดับประดาด้วยอาภรณ์ต่างๆ ให้สวยงาม ส่วนคนขี่ม้า ก็จะแต่งตัวและประดับม้าด้วยลวดลายต่างๆ ให้คล้ายม้าศึก ขณะที่แห่ขบวนนาคไปตามที่ต่างๆนั้น จะมีการแยกช้างตัวหนึ่งหรือหลายตัวที่ไม่มีนาคบวชนั่งอยู่ออกมาเพื่อเล่นม้าล่อและจะมีกลุ่มขี่ม้าจำนวนหนึ่งหรือมากกว่ามาล่อช้าง เมื่อช้างโกรธก็จะไล่ตีม้า เป็นการเล่นที่สนุกสนานยิ่ง เมื่อมาถึงวัด ขบวนแห่นาคต้องทำทักษิณาวรรต (เดินเวียนขวารอบพระอุโบสถ ๓ รอบ) ครบแล้วจุดธูปเทียนบูชาเสมาหน้าพระอุโบสถ โปรยทาน แล้วจึงเข้าอุโบสถ มีบิดาจูงมือขวา มารดาจูงมือซ้าย พานาคเข้าไปในโบสถ์ นาคจุดธูปเทียนบูชาพระประธาน กลับมานั่งที่ที่จัดไว้เฉพาะนาคนั่ง บิดา มารดา ส่งผ้าไตรให้นาค นาคกราบแล้วรับผ้า อุ้มผ้าไตรเดินเข่าพนมมือเข้าไปขอบรรพชาต่อพระอุปัชฌาย์ (บวชเป็นเณร) เมื่อครองผ้าแล้วเข้าไปรับศีล ๑๐ ข้อจากพระคู่สวด แล้วจึงอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ กล่าวคำขอนิสัย พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรให้ผู้บวช ห่างจากที่ประชุมสงฆ์ ประมาณ ๑๒ ศอก พระคู่สวดจะสมมติตนเป็นผู้สอน ทำการซักซ้อมผู้บวชแล้วเรียกผู้บวชไปทำการขออุปสมบทต่อที่ประชุมสงฆ์ ช่วงนี้จะมีการซักถามตรวจสอบคุณสมบัติ(เป็นภาษาบาลี หรือเรียกว่าการขานนาค - และถามอันตรายิกธรรม) เสร็จแล้วจะสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา ต่อมาพระอุปัชฌาย์จะสอนพระภิกษุใหม่ เป็นการบอกอนุศาสตร์(สิ่งที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ) เสร็จแล้วจึงถือว่า บวชเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์ จากนั้นกลับไปนั่งต่อท้ายพระสงฆ์เพื่อรับเครื่องไทยธรรมแล้วกลับมานั่งที่เดิม เตรียมกรวดน้ำในระหว่างที่พระสงฆ์อนุโมทนาและให้พร เป็นอันเสร็จพิธี ก่อนนาคจะเข้าโบสถ์เพื่อประกอบพิธีบวชนั้น เจ้าภาพ/นาค จะมีการโปรยทาน และแย่งลูกมะพร้าวเพื่อแลกรางวัล (ลูกมะพร้าวนี้จะทาน้ำมันให้ลื่น ยากต่อการรับหรือจับได้) ขบวนขากลับก็จะมีการเล่นขี่ม้าล่อช้างเป็นที่สนุกสนานตามเดิม
Location
อำเภอจอมพระ
Tambon จอมพระ Amphoe Chom Phra Province Surin
Details of access
สภาวัฒนธรรมอำเภอจอมพระ
Reference นายสนาน สุขสนิท
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
No. 796 Moo 20 Road เลี่ยงเมือง
Tambon นอกเมือง Amphoe Mueang Surin Province Surin ZIP code 32000
Tel. 044712854 Fax. 044512030
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่