ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 24' 57.8862"
16.4160795
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 9' 11.6716"
101.1532421
เลขที่ : 100606
ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ
เสนอโดย khaunruan วันที่ 23 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย เพชรบูรณ์ วันที่ 2 มิถุนายน 2555
จังหวัด : เพชรบูรณ์
0 1108
รายละเอียด

                 ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายกลบธาตุ เป็นงานประเพณีของชาวตำบลในเมืองและตำบลสะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ จัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษไทย ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกือบจะสูญหายไปกับกาลเวลาแล้ว ต่อมาทางเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ได้เห็นความสำคัญของของประเพณีดังกล่าว จึงได้สนับสนุนและฟื้นฟูให้ประเพณีอันทรงคุณค่านี้ ให้คงอยู่คู่กับจังหวัดเพชรบูรณ์ตลอดไป ได้ใช้วัดทุ่งสะเดียงและวัดช้างเผือก เป็นสถานที่ในการจัดงาน โดย นางธีรพร พรพฤฒิพันธุ์ นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ ได้ร่วมกับประชาชนทั้ง 17 ชุม ได้ร่วมกันจัดงานสืบสานประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ ที่วัดทุ่งสะเดียง และวัดช้างเผือก ซึ่งนอกจากเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสืบสาน สืบทอดแล้ว ยังเป็นการสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนและสังคมด้วย       พิธีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุของเมืองเพชรบูรณ์นั้น จะแตกต่างไปจากการก่อพระเจดีย์ทรายธรรมดาของที่อื่นๆ ทั่วไปที่มีรากฐานความเป็นมาจากการเป็นพิธีเพียงแค่ขนทรายเข้าวัด เพื่อชดเชยดินทรายในวัดที่ผู้คนได้นำติดเท้าออกมาจากวัด แต่ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุของเมืองเพชรบูรณ์นั้นเป็นพิธีกรรมที่เพิ่มเติมการผูกโยงกับญาติพี่น้องบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับ  

         โดยพิธีจะเริ่มต้นก่อนถึงวันงาน 1 วัน จะมีการตีฆ้องร้องป่าวไปตามบ้านเรือนเพื่อประกาศให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมงาน เมื่อถึงกำหนดงาน ชาวบ้านจะนำธาตุหรืออัฐิของญาติพี่น้อง บรรพบุรุษที่เสียชีวิตภายในระยะเวลา 3 ปีมาทำพิธีกลบธาตุ โดยบรรดาญาติพี่น้องจะนำธาตุหรืออัฐิดังกล่าวไปล้างทำความสะอาดและใช้น้ำอบ น้ำหอม มาประพรมให้สะอาด จากนั้นวันรุ่งขึ้น จะนำธาตุพร้อมกับทรายไปก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ โดยแต่เดิมนั้น อัฐิจะถูกนำไปใส่ในหม้อใบเล็ก แล้วนำทรายมาก่อกลบหม้ออัฐิจนมิด แล้วตกแต่งเป็นรูปเจดีย์ แต่ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนเป็นนำอัฐิเก็บใส่โกศและวางไว้ข้างเจดีย์ทรายแทน หลังจากถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์แล้ว ชาวบ้านจะนำโกศบรรจุธาตุวางไว้ข้างเจดีย์ เปิดฝาพร้อมจุดธูปหนึ่งดอก ปักลงไปในโกศบรรจุธาตุ เพื่อให้ดวงวิญญาณได้รับทราบและอนุโมทนาบุญกุศลที่ได้ทำบุญให้ หลังจากที่ได้ก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุเสร็จสิ้น พระภิกษุสงฆ์ ทำพิธีสวดบังกุศลและเจริญพระพุทธมนต์เย็น เช้าวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านจะมาร่วมทำบุญตักบาตรที่วัด ซึ่งในอดีต งานประเพณีดังกล่าว ถือเป็นช่วงหยุดการทำงานของชาวบ้าน เนื่องจากเป็นช่วงเสร็จสิ้นการทำนา ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ชาวบ้านจะอยู่กรรม 3 วัน คือ ทุกคนจะหยุดทำงานทุกอย่างทั้งนอกบ้านและในบ้าน พร้อมกับรวมตัวเล่นการละเล่นต่างๆ ในวัด เช่น การร้องเพลงฉ่อยพื้นบ้าน การเล่นดึงหนัง การเล่นนางด้ง การฟ้อนแม่ศรี การเล่นลิงลม เป็นต้น สร้างความสนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง  

         ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ เป็นประเพณีที่ทรงคุณค่าทั้งทางด้านคติความเชื่อและภูมิปัญญาของคนเพชรบูรณ์ โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่า มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อมนุษย์หมดลมแล้ว ร่างกายจะถูกนำไปเผาด้วยไฟ คงเหลือแต่อัฐิเท่านั้น ฉะนั้น ในช่วงแรกของการเสียชีวิตไป จึงต้องสร้างสมดุลโดยการนำอัฐิมาสัมผัสกับธาตุทั้ง 4 เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน โดยธาตุลมคือ การเปิดให้สัมผัสกับอากาศ ธาตุน้ำคือ การประพรมน้ำอบ น้ำหอม ธาตุไฟคือ ธูปเทียนที่นำมากราบไหว้ และธาตุดินคือ กองทรายที่นำมากลบนั่นเอง จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงคุณงามความดี ความผูกพันต่อบรรพบุรุษและความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้น การที่แต่ละคนได้มาสัมผัสกับกระดูกหรือธาตุของญาติพี่น้องที่เคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมาก่อน ยังเป็นการสื่อคติสอนใจถึงความไม่เที่ยงของสังขาร เพื่อให้ผู้มีชีวิตอยู่ได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต และควรดำรงตนอยู่ด้วยการมีสติและไม่ประมาทอีกด้วย ภูมิปัญญาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แฝงอยู่ในประเพณีนี้คือ การรวมตัวกันของญาติพี่น้องของผู้ตายไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด ก็จะต้องกลับมารวมตัวกันทั้งหมด เพื่อประกอบพิธีกลบธาตุร่วมกันอย่างอบอุ่น อีกทั้งยังมีการแบ่งงานกันทำในครอบครัวตามความถนัดของแต่ละคน อันเป็นประเพณีที่สร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวก่อให้เกิดความร่วมมือ ความรักความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในครอบครัว  จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงคุณงามความดี ความผูกพันต่อบรรพบุรุษและความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้น การที่แต่ละคนได้มาสัมผัสกับกระดูกหรือธาตุของญาติพี่น้องที่เคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมาก่อน ยังเป็นการสื่อคติสอนใจถึงความไม่เที่ยงของสังขาร เพื่อให้ผู้มีชีวิตอยู่ได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต และควรดำรงตนอยู่ด้วยการมีสติและไม่ประมาทอีกด้วย ภูมิปัญญาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แฝงอยู่ในประเพณีนี้คือ การรวมตัวกันของญาติพี่น้องของผู้ตายไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด ก็จะต้องกลับมารวมตัวกันทั้งหมด เพื่อประกอบพิธีกลบธาตุร่วมกันอย่างอบอุ่น อีกทั้งยังมีการแบ่งงานกันทำในครอบครัวตามความถนัดของแต่ละคน อันเป็นประเพณีที่สร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวก่อให้เกิดความร่วมมือ ความรักความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในครอบครัว  จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงคุณงามความดี ความผูกพันต่อบรรพบุรุษและความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้น การที่แต่ละคนได้มาสัมผัสกับกระดูกหรือธาตุของญาติพี่น้องที่เคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมาก่อน ยังเป็นการสื่อคติสอนใจถึงความไม่เที่ยงของสังขาร เพื่อให้ผู้มีชีวิตอยู่ได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต และควรดำรงตนอยู่ด้วยการมีสติและไม่ประมาทอีกด้วย ภูมิปัญญาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แฝงอยู่ในประเพณีนี้คือ การรวมตัวกันของญาติพี่น้องของผู้ตายไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด ก็จะต้องกลับมารวมตัวกันทั้งหมด เพื่อประกอบพิธีกลบธาตุร่วมกันอย่างอบอุ่น อีกทั้งยังมีการแบ่งงานกันทำในครอบครัวตามความถนัดของแต่ละคน อันเป็นประเพณีที่สร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวก่อให้เกิดความร่วมมือ ความรักความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในครอบครัว    จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงคุณงามความดี ความผูกพันต่อบรรพบุรุษและความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้น การที่แต่ละคนได้มาสัมผัสกับกระดูกหรือธาตุของญาติพี่น้องที่เคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมาก่อน ยังเป็นการสื่อคติสอนใจถึงความไม่เที่ยงของสังขาร เพื่อให้ผู้มีชีวิตอยู่ได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต และควรดำรงตนอยู่ด้วยการมีสติและไม่ประมาทอีกด้วย ภูมิปัญญาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่แฝงอยู่ในประเพณีนี้คือ การรวมตัวกันของญาติพี่น้องของผู้ตายไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด ก็จะต้องกลับมารวมตัวกันทั้งหมด เพื่อประกอบพิธีกลบธาตุร่วมกันอย่างอบอุ่น อีกทั้งยังมีการแบ่งงานกันทำในครอบครัวตามความถนัดของแต่ละคน อันเป็นประเพณีที่สร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวก่อให้เกิดความร่วมมือ ความรักความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในครอบครัว ทรายแต่ละเม็ดที่ก่อรวมกันเป็นเจดีย์ในประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีและผูกพันโยงใยในครอบครัวและเครือญาติอันเป็นอัตลักษณ์ประการหนึ่งของคนเพชรบูรณ์ โดยปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม คือ เจดีย์ทราย นั่นเอง 

คำสำคัญ
ประเพณี
สถานที่ตั้ง
วัดทุ่งสะเดียง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านสะเดียง ถนน สว่างพัฒนา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองเพชรบูรณ์ จังหวัด เพชรบูรณ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://www.oknation.net
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองเพชรบูรณ์ จังหวัด เพชรบูรณ์ รหัสไปรษณีย์ 67000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่