ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 16' 43.2919"
15.2786922
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 14' 38.004"
104.2438900
เลขที่ : 101101
ปั้นหม้อบ้านโก
เสนอโดย ssk วันที่ 29 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 6 พฤษภาคม 2563
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 1167
รายละเอียด

บ้านโก เป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อเรื่องการปั้นหม้อ เป็นเวลานานกว่า ๑๔๐ ปี หรือมากกว่า ๔ ชั่วอายุคนมาแล้ว คนเฒ่าที่เคยเป็นคนปั้นหม้อส่งลูกเรียนหนังสือจบชั้นสูงๆถึงปริญญาเอกปริญญาโท และปริญญาตรีมาแล้ว บอกว่า “มีเงินส่งลูกเรียนก็เพราะการปั้นหม้อนี่แหละ”

จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ได้กล่าวว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านโก อพยพย้ายมาจากเมืองกลาง (ปัจจุบันเข้าใจว่าเป็นอำเภอโนนสูง) จังหวัดนครราชสีมา โดยอพยพล่องเรือมาตามแม่น้ำมูล เนื่องจากชุมชนเดิมประสบปัญหาความแห้งแล้งและอดอยาก ประกอบกับแรงงานผู้ชายในหมู่บ้านถูกเกณฑ์แรงงานไปคล้องช้างและเข้าป่า แล้วหายไปไม่ได้ข่าวคราว ผู้หญิงในหมู่บ้านต้องหาเลี้ยงดูครอบครัวด้วยอาชีพปั้นหม้อหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ตีหม้อ”

ต่อมา การประกอบอาชีพปั้นหม้อแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถเลี้ยงชีพได้ จึงอพยพย้ายแสวงหาแหล่งทำมาหากินแบบต่างคนต่างไป ซึ่งแต่ละคนมีทักษะและความชำนาญในการปั้นหม้อเป็นพื้นฐาน จึงแสวงหาแหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพปั้นหม้อ จนกระทั่งอพยพมาถึงฝั่งลำน้ำมูลบริเวณปัจจุบัน มีทำเลและดินเหมาะสมตามที่ต้องการ คือ ใช้สำหรับปั้นหม้อ มีความคงทน เมื่อเผาแล้วมีสีแดงปนมีความสวยงาม สามารถแลกเปลี่ยนค้าขายได้ดี เมื่อพบแหล่งทำกินดังที่ต้องการ จึงตัดสินใจตั้งรกรากถิ่นฐานสภาพพื้นที่ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นที่ดอน มีต้นตะโกขึ้นอยู่มากมาย จึงเรียกชื่อบ้านว่า “บ้านโก”คนกลุ่มแรกที่อพยพมาจำนวน ๑๔ ครอบครัว เป็นชาวไทโคราช มีวัฒนธรรมและภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ส่วนมากผู้หญิงเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการใช้ฝีมือปั้นหม้อ ต่อมามีการผสมผสานกลมกลืนทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีไทลาวและเขมร จากการสมรสและการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เช่น ประเพณีการทำบุญเลี้ยงบ้านหรือบุญข้าวสาก แต่ดั้งเดิมคนลาวจะทำพิธีในเดือน ๑๐ ส่วนชาวไทยโคราช ทำพิธีบุญเลี้ยงบ้านร่วมกันในเดือน ๖ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการพยายามในการผสมผสานวัฒนธรรมเดิมของแต่ละเผ่าพันธุ์ ในการอยู่ร่วมกันของชาวบ้าน บ้านปั้นหม้อ“บ้านโก" ปัจจุบัน วัฒนธรรมการปั้นหม้อได้แพร่ขยายไปสู่ชุมชนและชาวบ้านอื่นๆ ที่มีความสนใจฝึกปฏิบัติยึดถือเป็นอาชีพโดยผ่านทางระบบกลไกความสัมพันธ์ทางด้านการสมรสของสมาชิกหมู่บ้านกับสมาชิกในชุมชนอื่นๆ เช่น ที่บ้านโพนทราย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นตัวอย่างอีกชุมชนหนึ่งที่มีสมาชิกจากบ้านโก ไปลงหลักปักฐานและยึดอาชีพปั้นหม้อเป็นหลักในการเลี้ยงครอบครัวเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีแหล่งดินทามที่เหมาะแก่การปั้นหม้อ

หลังจากเผาหม้อเสร็จจะเก็บเรียงรายไว้ใต้ถุนบ้านรอพ่อค้าจากภายนอกหมู่บ้าน ผู้สั่งซื้อสินค้าแต่ละประเภทมารับผลิตภัณฑ์ที่บ้าน หรือบางครั้งมีพ่อค้าที่อยู่ในชุมชนเดียวกันมารับไปขายภายนอกหมู่บ้าน รูปแบบการค้าขายแลกเปลี่ยน ในปัจจุบันผู้ผลิตไม่ต้องเสียเวลาไปเร่ขายสินค้าเอง เพราะมีพ่อค้าคนกลางทำหน้าที่แทน

ผลิตภัณฑ์ปั้นหม้อของบ้านโก มีทั้งแบบดั้งเดิมและแบบที่ได้รับการพัฒนาตามที่ตลาดต้องการ ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆในอดีต มีดังนี้ หม้อหุง (หุงข้าว) หม้อแกง (แกงกิน) หม้อลอก(นึ่งข้าวสาวไหม) หม้อแอ่ง (ใส่น้ำดื่ม) หม้อหวด (นึ่งข้าว) ซึ่งปัจจุบันไม่มีการผลิต

ปัจจุบันสินค้ามีหลากหลายมากขึ้นตามความต้องการของตลาด เช่น กระถางขนาดต่าง ๆ อ่างปลูกบัวเลี้ยงปลา แจกัน ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กระปุกออมสินรูปนกฮูก นกยูง บาตรทำบุญ ๑๐๘ เป็นต้น ผลผลิตในแต่ละเดือนขึ้นอยู่กับความขยันขันแข็งของแต่ละคน แต่ปริมาณที่ผลิตได้ตามปกติ

การประอาชีพทำนาในบ้านโก เพิ่งเริ่มไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่อาชีพหลักของชุมชนยังคงเป็นการปั้นหม้อ จนถึงปี ๒๕๒๗ ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมี การฝึกอบรมอาชีพ และจัดตั้งกลุ่มอาชีพแก่ชาวบ้าน ได้แก่ อาชีพการปลูกหอม กระเทียม พริก จึงเป็นอีกทางเลือกที่ชาวบ้านทำกันในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ อุตสาหกรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้หาวิธีช่วยเหลือ โดยเข้ามาส่งเสริมและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์การปั้นหม้อและสร้างโรงเรือนพร้อมเตาเผาขนาดใหญ่โดยใช้ความร้อนสูง มีคณะกรรมการดำเนินการกลุ่มเครื้องปั้นดินเผา เป็นการเพิ่มความสามารถในการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทำให้เป็นการเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน

ปัจจุบันมีกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านโก จัดตั้งกลุ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ มีจำนวนสมาชิกในกลุ่ม ๗๕ ครัวเรือน หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนในการจัดตั้งกลุ่ม คือ องค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อเดือน ประมาณ ๒๐,๐๐๐ –๓๐,๐๐๐ บาท หม้อบ้านโก เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลส้มป่อย

สถานที่ตั้ง
บ้านโก
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 บ้านโก ซอย - ถนน -
ตำบล ส้มป่อย อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง นายบรรหาร ทองสุทธิ์
ชื่อที่ทำงาน ทีทำการกำนันตำบลส้มป่อย
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 บ้านโก ซอย - ถนน -
ตำบล ส้มป่อย อำเภอ ราษีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33160
โทรศัพท์ 045-681255 โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่