ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 38' 28.7844"
16.6413290
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 23' 17.9333"
103.3883148
เลขที่ : 106045
ปริวาสกรรม
เสนอโดย วิทย์ วันที่ 2 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 4 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 7659
รายละเอียด

ทุกวันนี้งานปริวาสกรรมได้จัดขึ้นมากมายตามวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ข้าพเจ้าเห็นความสำคัญเป็นอย่างมากในส่วนของงานปริวาสกรรม จึงมีศรัทธาจัดงานปริวาสกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปีภายใน วัดหนองต้นไทร ต.โพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จังหวัด พิจิตร ซึ่งกำหนดการจัดปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุนั้น จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และ ปริวาสกรรมก่อน เข้าพรรษาของพระภิกษุ ๑๕ วัน ซึ่งแต่ละครั้งนั้น จะมีพระภิกษุจากทั่วประเทศ ได้เข้ามาประพฤติปริวาสเป็นจำนวนมากรวมทั้งยังมี สามเณร อุบาสก - อุบาสิกา ได้เข้ามาร่วมปฏิบัติธรรมด้วยเป็นจำนวนมาก

ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำ สังฆกรรมงาน “ปริวาสกรรม” นี้ จะยังประโยชน์ต่อพระภิกษุสงฆ์ และผู้สนใจใฝ่ในธรรมทุกท่าน ซึ่งกุศลธรรมทั้งมวลที่ข้าพเจ้าและคณะสงฆ์ วัดหนองต้นไทร ได้มีเจตนากระทำแล้วนี้ ขอถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อยังประโยชน์เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนาสืบไป

ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของ "ปริวาสกรรม"

๑. เพื่อดำรงธรรมวินัยให้ยั่งยืน เพราะมีครูบาอาจารย์มาให้ความรู้ ทางธรรม ทั้งด้านปริยัติธรรมและการปฏิบัติธรรม

๒. เพื่ออนุเคราะห์กุลบุตรที่บวชมา และต้องการชำระสิกขาบท (ศีล)ให้บริสุทธิ์

๓. เพื่อเปิดโอกาสให้นักปฏิบัติธรรมได้เจริญ สมถะ-วิปัสสนา กรรมฐาน ทั้งพระภิกษุ-สามเณร อุบาสก-อุบาสิกา

๔. เป็นการ รวมพระภิกษุต่างถิ่นต่างอาวาสได้อย่างมาก บ่งบอกถึงความสามัคคีในหมู่สงฆ์ว่ายังแน่นแฟ้นดีอยู่

เป็นนิมิตหมายแห่งความเจริญในพระพุทธศาสนา

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

“ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้ประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เอง เหมือนแย่งกัน เข้าไปสู่กองไฟ มีแต่ความรุ่มร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะ ทองคำ กับคนจนดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำจากกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจ ย่อมมีความสุขเท่ากัน นี่เป็นข้อยืนยันว่าความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจ เป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจ แม้กระท่อมมุงด้วยใบไม้ มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย”

“ปริวาส” เป็นชื่อของสังฆกรรมประเภทหนึ่งที่สงฆ์จะพึงกระทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งการอยู่

ปริวาสเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “การอยู่กรรม”จึงนิยมเรียกรวมกันว่า “ปริวาสกรรม”

"ปริวาส” หมายถึง “การอยู่ใช้” หรือ “การอยู่รอบ” หรือเรียกสามัญว่า “การอยู่กรรม”(วุฏฐานวิธี) คือ อยูู่่ให้ครบ

กระบวนการ สิ้นสุดกรรมวิธีทุกขั้นตอนของการอยู่ปริวาสกรรมทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อยู่ใช้กรรมหรือความผิดที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัย

ต้องอาบัติ “สังฆาทิเสส” ซึ่งอาจจะล่วงละเมิดโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจล่วงละเมิดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีนั้น

ให้พ้นมลทิน หมดจดบริสุทธิ์ไม่มีเหลือเครื่องเศร้าหมองอันจะเป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญในทางจิต

ของพระภิกษุสงฆ์

ปริวาสกรรมมีเพื่อสำหรับบุคคล ๒ ประเภท คือ

๐ ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์

๐ ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่บวชอยู่แล้วในพระพุทธศาสนาแต่ต้องครุกาบัติ

ความเป็นมาของการอยู่ปริวาส

ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์

“ปริวาส” คำนี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล เนื่องด้วยมีคฤหัสถ์มากมายที่ไม่ใช่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา หรือ ไม่ได้นับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอื่นหรือลัทธิอื่น ๆ มาก่อน ซึ่งคนจำพวกนี้เรียกว่าเดียรถีย์ ซึ่งเดียรถีย์เหล่านี้เมื่อได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้าบ้าง หรือพระอัครสาวกบ้างก็เกิดมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา คิดจะเข้ามานับถือพระพุทธศาสนา โดยจะยังครองเพศเป็นคฤหัสถ์เช่นเดิมหรือจะขอบวชก็ตามพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะให้คนเหล่านี้ได้อบรมตนให้เข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาเสียก่อนเป็น

เวลา ๔ เดือน จึงได้ทรงอนุญาตให้อยู่ประพฤติตนเรียกว่า “ติตถิยปริวาส” ไว้

คนที่ถูกกำหนดว่าเป็นเดียรถีย์ต้องอยู่ ติตถิยปริวาส ๔ เดือนนั้น ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า ติตถิยปริวาสในพระบาลีนั้น พึงให้แก่อัญเดียรถีย์ชาตินิครนถ์เท่านั้น; ไม่ควรให้แก่ชนเหล่าอื่นฯ ซึ่งในข้อนี้พระอรรถกถาจารย์ท่านแก้ไว้ว่า ติตถิยปริวาสนี้ ควรให้แก่อาชีวกหรืออเจลกะผู้เป็นปริพาชกเปลือยเท่านั้นฯ ความอีกตอนหนึ่งว่า ส่วนเดียรถีย์แม้คนอื่น ใดไม่เคยบวชในพระศาสนานี้ มา...ควรให้ปริวาส ๔ เดือนแก่เธอนั้น..ขึ้นชื่อว่า ติตถิยปริวาสนี้ ท่านเรียกว่า อัปปฏิจฉันนปริวาสฯ(สมนต.๓/๕๓-๕๔) ในฏีกาสารัตถทีปนี ซึ่งเป็นฏีกาของสมันตปาสาทิกาอีกทีหนึ่ง แต่งโดยพระ

สารีบุตรชาวลังกา (ไม่ใช่สารัตถทีปนี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ของพระพุทธโฆษาจารย์) ท่านแก้อรรถคำว่า อาชีวก และ อเจลกะ ไว้ว่า อาชีวก ได้แก่ คนที่นุ่งผ้าสไบเฉียงข้างบนผืนเดียว ส่วนข้างล่างเปลือย อเจลกะ ได้แก่คนที่เปลือยกายทั้งหมด

คนสองประเภทนี้เท่านั้น คือ คนเปลือยครึ่งท่อนกับคนเปลือยทั้งหมด ส่วนที่เป็นดาบสชีปะขาวอื่นมี ปริพาชก เป็นต้น ที่ยังมีผ้าขนสัตว์หรือผ้าพันกายเป็นเครื่องหมายของลัทธิอยู่ ถือว่าได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องอยู่ปริวาสก่อน ๔ เดือน อย่างเช่น อัครสาวกทั้ง ๒ ซึ่งเป็นปริพาชกและเคยอยู่กับปริพาชกมาก่อนก็ดี สีหเสนาบดีชาวเมืองเวสาลีซึ่งเป็นศิษย์เอกของนิครนถ์นาฏบุตรพาวรีพราหมณ์ทั้ง ๑๖ คน ชานุสโสณีพราหมณ์ ติมพรุกขปริพาชก วัปปศากยสาวกนิครนถ์ สุลิมปริพาชก กาปทกมาณพ และโลกายติกพราหมณ์ก็ดี ท่านเหล่านี้ไม่ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน

เพราะท่านเหล่านี้ท่านเรียกว่า สันสกถติสัทธา ได่แก่ผู้ที่มุ่งหน้าเข้ามาหา มาถามปัญหาโดยมีศรัทธาเป็นประธาน ซึ่งก็ได้แก่ผู้ที่เป็นสาวกบารมีญาณแก่กล้าเต็มที่แล้วนั่นเอง

ในทางคัมภีร์ชั้นบาลีนั้น ผู้ที่ไม่ได้เป็นชีเปลือยก็เคยมีปรากฏว่าอยู่ติตถิยปริวาสมาบ้างแล้ว ในตอนที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตติตถิยปริวาส ๔ เดือน นี้ ได้แก่พวกเดียรถีย์(วินย.๔/๘๖/๑๐๑-๒) ท่านหมายเอาคนนอกศาสนาผู้มีความเห็นผิดเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วย เช่นสภิยพราหมณ์ ผู้นึกดูหมิ่นพระพุทธเจ้า(สภิยสูตร ๒๕/๕๔๘) และปสุรปริพาชก ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ เป็นต้น คนเหล่านี้ก็ยังมีเสื้อผ้าอยู่ และการอนุญาตติยถิยปริวาส ให้แก่

อเจลกกัสสปะ ชาวเมืองอุชุญญนคร ซึ่งทั้งสามท่านที่ยกตัวอย่างมานี้ ภายหลังเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงขออยู่ปริวาสถึง ๔ ปี

ปริวาสสำหรับพระภิกษุสงฆ์

ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์นี้ เป็นปริวาสตามปกติสำหรับภิกษุผู้บวชอยู่แล้วในพระพุทธศาสนา แต่ไปต้อง “ครุกาบัติ” จึงจำเป็นต้องประพฤติปริวาสเพื่อนำตนให้พ้นจากอาบัติ ตามเงื่อนไขทางพระวินัยและเงื่อนไขของสงฆ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การประพฤติวุฏฐานวิธี”

“การประพฤติวุฏฐานวิธี”

วุฏฐานวิธี คือ กฎระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้จะเปลื้องตนออกจากครุกาบัติสังฆาทิเสส มีทั้งหมด ๔ ขั้นตอน คือ

๑. ปริวาส หรือ อยู่ประพฤติปริวาส หรือ อยู่กรรม (โดยสงฆ์เห็นชอบที่ ๓ ราตรี)

๒. มานัต ประพฤติมานัต ๖ ราตรี หรือ นับราตรี ๖ ราตรีแล้วสงฆ์สวดระงับอาบัติ

๓. อัพภาน หรือ การเรียกเข้าหมู่ โดยพระสงฆ์ ๒๐ รูป สวดให้อัพภาน

๔. ปฏิกัสสนา ประพฤติมูลายปฏิกัสสนา (ถ้าต้องอันตราบัติในระหว่างหรือการชักเข้าหาอาบัติเดิม)

ทั้ง ๔ ขั้นตอนนี้รวมกันเข้าเรียกว่า “การประพฤติวุฎฐานวิธี” แปลว่าระเบียบหรือขั้นตอนปฏิบัติตนเพื่อออกจากอาบัติ อันได้แก่ “สังฆาทิเสส”

ส่วนประกอบของการประพฤติวุฏฐานวิธีประกอบด้วยสงฆ์ ๒ ฝ่าย

ขั้นตอนการ ประพฤติวุฎฐานวิธี นั้น จะต้องประกอบด้วยสงฆ์ที่ทำสังฆกรรม คือ ประกอบด้วยคณะสงฆ์ ๒ ฝ่าย ซึ่งคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่ายนั้นมีหน้าที่ดังนี้ คือ

พระภิกษุผู้ประพฤติปริวาส หรือ ภิกษุผู้อยู่กรรม หรือ พระลูกกรรม คือ สงฆ์ที่ต้องอาบัติ แล้วประสงค์ ที่จะออกจากอาบัตินั้น จึงไปขอปริวาสเพื่อ ประพฤติวุฏฐานวิธี ตามขั้นตอนที่พระวินัยกำหนด

พระปกตัตตะภิกษุ หรือคณะสงฆ์พระอาจารย์กรรม (หรือพระพี่เลี้ยง)ซึ่งเป็นสงฆ์ฝ่ายที่พระวินัย กำหนดให้เป็นผู้ควบคุมดูแลความประพฤติของสงฆ์ฝ่ายแรกผู้ขอปริวาส ซึ่งสงฆ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแล อนุเคราะห์เกื้อกูลนี้ ทำหน้าที่เป็น พระปกตัตตะภิกษุ หรือ ภิกษุโดยปกติพระภิกษุผู้มีศีลไม่ด่างพร้อย

ปริวาสมีทั้งหมด ๔ อย่าง คือ

๑. อัปปฏิจฉันนปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องครุกาบัติแล้วไม่ปิดไว้

๒. ปฏิจฉันนปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องครุกาบัติแล้วปิดไว้ ซึ่งนับวันได้

๓. สุทธันตปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ มีส่วนเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง

๔. สโมธานปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ครุกาบัติแล้วปิดไว้ ต่างวันที่ปิดบ้าง ต่างวัตถุที่ต้องบ้าง

ขั้นตอนการอยู่ประพฤติปริวาส คือ การอยู่ใช้ การอยู่กรรม หรือ การอยู่รอบ นี้มีการนับราตรีมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของปริวาสนั้นๆ ว่าสงฆ์ผู้ต้องอาบัติขอปริวาสอะไร ซึ่งลักษณะและเงื่อนไขของปริวาสแต่ละประเภทนั้นพอจะสังเขปได้ คือ

อัปปฏิฉันนปริวาส

อัปปฏิฉันนปริวาส ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาว่า ถูกจัดให้เป็นปริวาสสำหรับพวกเดียรถีย์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเมื่อพวกเดียรถีย์มีศรัทธาเลื่อมใสและมีความประสงค์ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ก็อนุญาตให้คนเหล่านี้ต้องอยู่ประพฤติ อัปปฏิฉันนปริวาสนี้เป็นเวลา ๔ เดือน และการอยู่ประพฤติ อัปปฏิฉันนปริวาสของพวกเดียรถีย์นี้ จะไม่มีการบอกวัตร จึงทำให้อัปปฏิฉันนปริวาสนำไปใช้ในสมัยพระพุทธองค์เท่านั้น และถูกยกเลิกไป

ปฏิจฉันนปริวาส

ปฏิจฉันนปริวาส แปลว่า อาบัติที่ต้องครุกาบัติเข้าแล้วปิดไว้ เมื่อขอปริวาสประเภทนี้ จะต้องอยู่ประพฤติให้ครบตามจำนวนราตรีที่ตนปิดไว้นั้นโดยไม่มีการประมวลอาบัติใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจำนวนราตรีที่ปิดไว้นานเท่าใดก็ต้องประพฤติปริวาสนานเท่านั้น ดังในคัมภีร์ชั้นอรรถกถากล่าวถึงการปิดอาบัติไว้นานถึง ๖๐ ปี(สมนต.๓/๓๐๓) ในคัมภีร์ จุลวรรคยังได้กล่าวถึงพระอุทายีที่ต้องอาบัติสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้วปิดไว้หนึ่ง วัน เมื่อท่านประสงค์จะประพฤติปริวาส พระพุทธองค์

จึงมีพระดำรัสให้สงฆ์จตุวรรคให้ปริวาสแก่ท่านเพียงวันเดียว ซึ่งเรียกว่า เอกาหัปปฏิจฉันนาบัติ ซึ่งเท่ากับท่านอยู่ปริวาสเพียงวันเดียวเท่านั้น(วิ.จุล.๖/๑๐๒/๒๒๘)

สโมธานปริวาส

สโมธานปริวาส คือ ปริวาสที่ประมวลอาบัติที่ต้องแต่ละคราวเข้าด้วยกัน แล้วอยู่ประพฤติปริวาสตามจำนวนราตรีที่ปิดไว้นานที่สุด ซึ่งในขณะที่กำลังอยู่ประพฤติปริวาส ประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่นั้น ภิกษุนั้นต้องครุกาบัติซ้ำเข้าอีก ไม่ว่าจะเป็นอาบัติเดิม หรืออาบัติใหม่ที่ต้องเพิ่มขึ้น(ต้องโทษเพิ่ม) ซึ่งทางวินัยเรียกว่า มูลายปฏิกัสสนา หรือ ปฏิกัสสนา แปลว่า การชักเข้าหาอาบัติเดิม หรือ กิริยาที่ชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่ง มูลายปฏิกัสสนา นั้น ถึงต้องในระหว่างก็ไม่ได้ทำให้การอยู่ปริวาสเสียหายแต่ประการใดเพียงแต่ทำให้การประพฤติปริวาสล่าช้าไปเท่านั้นเอง จึงทำให้ภิกษุนั้นต้องขอ ปฏิกัสสนา กับสงฆ์ ๔ รูป ซึ่งปริวาสในครั้งที่ ๒ ที่ต้องซ้ำเข้ามานี้จะเป็นปริวาสชนิดใดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังนี้ คือ

- ใน ขณะกำลังประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่ แล้วต้องอาบัติตัวเดิมหรือตัวใหม่ซ้ำเข้าแล้วปกปิดไว้ ถ้าปิดไว้เช่นนี้ ต้องขอปฏิกัสสนาแล้ว ต้องขอสโมธานปริวาสเพื่อที่จะประมวลอาบัติที่ต้อง ในระหว่างเข้าปริวาสกับอาบัติตัวเดิมที่เคยต้องมาแล้ว อยู่ประพฤติปริวาสจนครบกับจำนวนราตรี ที่ภิกษุท่านปกปิดไว้ เหตุที่ต้องขอ สโมธานปริวาส เท่านั้น ก็เพราะสโมธานปริวาสเหมาะสำหรับอาบัติที่ปิดไว้ เพื่อให้รู้ว่าปิดไว้กี่วันซึ่งคณะสงฆ์จะได้ประมวลเข้ากับอาบัติเดิมที่อยู่มาก่อน เช่น ภิกษุที่ ต้องอาบัติขอปริวาสไว้ ๑๕ ราตรี พออยู่ไปได้ ๕ ราตรี ภิกษุท่านต้องอาบัติซ้ำหรือเพิ่มขึ้นอีก แล้วท่านปิดไว้ไม่ได้บอกใครพอถึงราตรีที่ ๑๒ ก็นับว่าท่านปิดอาบัติที่ต้องครุกาบัติซ้ำเข้าไป นั้นแล้ว (๑๒-๕)เท่ากับ ๗ ราตรี และการที่ท่านอยู่ปริวาสมาจนถึงราตรี ีที่ ๑๒ ในจำนวน ๑๕ ราตรีที่ขอนั้น ก็เท่ากับท่านได้เพียงแค่ ๕ ราตรีเท่านั้นที่ไม่เกิดอาบัติซ้ำ ส่วนอีก ๗ ราตรีที่ประพฤติปริวาสไปแล้วนั้นถือเป็นโมฆะนับราตรีไม่ได้ คณะสงฆ์ก็ต้องให้สโมธานปริวาส ประมวลอาบัติที่ปิดไว้ ๗ ราตรีรวมกับส่วนที่ต้องครุกาบัติก่อนแล้วเท่ากับต้องอยู่ประพฤติ ปริวาสรวมทั้งหมดเป็น ๒๒ วันนับแต่ราตรี ที่ ๑ หรือหากนับจากราตรีที่ ๖ ไปอีก ๑๗ วัน

- ถ้าต้องอันตราบัติแล้วภิกษุท่านนั้นมิได้ปกปิดไว้ ก็ขอปฏิกัสสนากับสงฆ์ แล้วก็ขอมานัตได้เลย

- ถ้าไม่ต้องอาบัติตัวใดซ้ำหรือเพิ่มเติมในขณะอยู่ประพฤติปริวาสก็ให้ประพฤติปริวาสนั้นตาม เงื่อนไขของการอยู่ประพฤติปริวาสตามปกติ

สุทธันตปริวาส

สุทธันตปริวาส เป็นปริวาสที่ไม่มีกำหนดแน่นอน นับราตรีไม่ได้ ในปัจจุบันนี้นิยมจัดแต่ สุทธันตปริวาส ทั้งนี้ก็เพราะเป็นปริวาสที่จัดว่าอยู่ในดุลยพินิจของสงฆ์อยู่ในอำนาจของสงฆ์ คือให้สงฆ์เป็นใหญ่ หากคณะสงฆ์จะให้อยู่ถึง ๕ ปี ก็ต้องยอมปฏิบัติตาม โดยไม่มีทางเลือกและถ้าสงฆ์ให้อยู่ราตรีหนึ่งหรือสองราตรีแล้ว ขอมานัตได้ก็ถือว่าเป็นสิทธิของคณะสงฆ์ และทั้งนี้ก็เพราะสุทธันตปริวาสนี้มีเงื่อนไขน้อยที่สุดแต่ให้ความมั่นใจแก่ผู้ปฏิบัติมากที่สุด ซึ่งภิกษุที่ท่านขอปริวาสดังคำว่า

“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่รู้ที่สุดแห่งอาบัติ ๑ ไม่รู้ที่สุดแห่งราตรี ๑ ระลึกที่สุดแห่งอาบัติไม่ได้ ๑ ระลึกที่สุดแห่งราตรีไม่ได้ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งอาบัติ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งราตรี ๑ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปริวาส จนกว่าจะบริสุทธิ์เพื่ออาบัติ เหล่านั้น กะสงฆ์(วิ.จุล.๖/๑๕๖/๑๘๒)

ซึ่งก็ยังมีข้อกำหนดว่า อยู่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงได้แบ่ง สุทธันตปริวาส ออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ คือ

1 จุฬสุทธันตปริวาส แปลว่า สุทธันตปริวาสอย่างย่อย คือ ปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติ หลายคราวด้วยกัน แต่ละคราวก็ปิดไว้ แต่ก็ยังพอจำจำนวนอาบัติได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้งได้บ้าง จึงขอจุฬสุทธันตปริวาส และอยู่ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้คณะสงฆ์ก็นิยมสมมติให้อยู่ ๓ ราตรีเป็นเกณฑ์ น้อยกว่านี้ไม่ได้ แต่ถ้ามากกว่านี้ไม่เป็นไร

2 มหาสุทธันตปริวาส คือ สุทธันตปริวาสอย่างใหญ่ คือ ปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติ หลายคราวด้วยกัน แต่ละคราวก็ปิดไว้ จำจำนวนอาบัติไม่ได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้ง ไม่ได้ จึงขอจุฬสุทธันตปริวาสและอยู่ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์โดยการกะประมาณว่าตั้งแต่บวชมาจนถึงเวลาใดที่ยังไม่ต้องครุกาบัติเลยเช่น อาจบวชมาได้ ๑ เดือน แต่ต้องครุกาบัติจนเวลาล่วงผ่านไปแล้ว ๕ เดือน ๑๐ เดือนหรือ ๑ ปี แต่จำจำนวน ที่แน่นอนไม่ได้เลย จึงต้องขอปริวาสและกะประมาณว่าประมาณ ๑ เดือนนั้นในความรู้สึก ก็ถือว่าบริสุทธิ์และใช้ได้ ซึ่งมหาสุทธันตปริวาสนี้ ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะยุ่งยากและกำ

อัปปฏิฉันนปริวาส

อัปปฏิฉันนปริวาส ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาว่า ถูกจัดให้เป็นปริวาสสำหรับพวกเดียรถีย์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเมื่อพวกเดียรถีย์มีศรัทธาเลื่อมใสและมีความประสงค์ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ก็อนุญาตให้คนเหล่านี้ต้องอยู่ประพฤติ อัปปฏิฉันนปริวาสนี้เป็นเวลา ๔ เดือน และการอยู่ประพฤติ อัปปฏิฉันนปริวาสของพวกเดียรถีย์นี้ จะไม่มีการบอกวัตร จึงทำให้อัปปฏิฉันนปริวาสนำไปใช้ในสมัยพระพุทธองค์เท่านั้น และถูกยกเลิกไป

ปฏิจฉันนปริวาส

ปฏิจฉันนปริวาส แปลว่า อาบัติที่ต้องครุกาบัติเข้าแล้วปิดไว้ เมื่อขอปริวาสประเภทนี้ จะต้องอยู่ประพฤติให้ครบตามจำนวนราตรีที่ตนปิดไว้นั้นโดยไม่มีการประมวลอาบัติใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจำนวนราตรีที่ปิดไว้นานเท่าใดก็ต้องประพฤติปริวาสนานเท่านั้น ดังในคัมภีร์ชั้นอรรถกถากล่าวถึงการปิดอาบัติไว้นานถึง ๖๐ ปี(สมนต.๓/๓๐๓) ในคัมภีร์ จุลวรรคยังได้กล่าวถึงพระอุทายีที่ต้องอาบัติสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้วปิดไว้หนึ่ง วัน เมื่อท่านประสงค์จะประพฤติปริวาส พระพุทธองค์จึงมีพระดำรัสให้สงฆ์จตุวรรคให้ปริวาสแก่ท่านเพียงวันเดียว ซึ่งเรียกว่า เอกาหัปปฏิจฉันนาบัติ ซึ่งเท่ากับท่านอยู่ปริวาสเพียงวันเดียวเท่านั้น(วิ.จุล.๖/๑๐๒/๒๒๘)

สโมธานปริวาส

สโมธานปริวาส คือ ปริวาสที่ประมวลอาบัติที่ต้องแต่ละคราวเข้าด้วยกัน แล้วอยู่ประพฤติปริวาสตามจำนวนราตรีที่ปิดไว้นานที่สุด ซึ่งในขณะที่กำลังอยู่ประพฤติปริวาส ประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่นั้น ภิกษุนั้นต้องครุกาบัติซ้ำเข้าอีก ไม่ว่าจะเป็นอาบัติเดิม หรืออาบัติใหม่ที่ต้องเพิ่มขึ้น(ต้องโทษเพิ่ม) ซึ่งทางวินัยเรียกว่า มูลายปฏิกัสสนา หรือ ปฏิกัสสนา แปลว่า การชักเข้าหาอาบัติเดิม หรือ กิริยาที่ชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่ง มูลายปฏิกัสสนา นั้น ถึงต้องในระหว่างก็ไม่ได้ทำให้การอยู่ปริวาสเสียหายแต่ประการใดเพียงแต่ทำให้การประพฤติปริวาสล่าช้าไปเท่านั้นเอง จึงทำให้ภิกษุนั้นต้องขอ ปฏิกัสสนา กับสงฆ์ ๔ รูป ซึ่งปริวาสในครั้งที่ ๒ ที่ต้องซ้ำเข้ามานี้จะเป็นปริวาสชนิดใดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังนี้ คือ

1ใน ขณะกำลังประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่ แล้วต้องอาบัติตัวเดิมหรือตัวใหม่ซ้ำเข้าแล้วปกปิดไว้ ถ้าปิดไว้เช่นนี้ ต้องขอปฏิกัสสนาแล้ว ต้องขอสโมธานปริวาสเพื่อที่จะประมวลอาบัติที่ต้อง ในระหว่างเข้าปริวาสกับอาบัติตัวเดิมที่เคยต้องมาแล้ว อยู่ประพฤติปริวาสจนครบกับจำนวนราตรี ที่ภิกษุท่านปกปิดไว้ เหตุที่ต้องขอ สโมธานปริวาส เท่านั้น ก็เพราะสโมธานปริวาสเหมาะสำหรับอาบัติที่ปิดไว้ เพื่อให้รู้ว่าปิดไว้กี่วันซึ่งคณะสงฆ์จะได้ประมวลเข้ากับอาบัติเดิมที่อยู่มาก่อน เช่น ภิกษุ

ที่ต้องอาบัติขอปริวาสไว้ ๑๕ ราตรี พออยู่ไปได้ ๕ ราตรี ภิกษุท่านต้องอาบัติซ้ำหรือเพิ่มขึ้นอีก แล้วท่านปิดไว้ไม่ได้บอกใครพอถึงราตรีที่ ๑๒ ก็นับว่าท่านปิดอาบัติที่ต้องครุกาบัติซ้ำเข้าไป นั้นแล้ว (๑๒-๕)เท่ากับ ๗ ราตรี และการที่ท่านอยู่ปริวาสมาจนถึงราตรี ีที่ ๑๒ ในจำนวน ๑๕ ราตรีที่ขอนั้น ก็เท่ากับท่านได้เพียงแค่ ๕ ราตรีเท่านั้นที่ไม่เกิดอาบัติซ้ำ ส่วนอีก ๗

ราตรีที่ประพฤติปริวาสไปแล้วนั้นถือเป็นโมฆะนับราตรีไม่ได้ คณะสงฆ์ก็ต้องให้สโมธานปริวาส ประมวลอาบัติที่ปิดไว้ ๗ ราตรีรวมกับส่วนที่ต้องครุกาบัติก่อนแล้วเท่ากับต้องอยู่ประพฤติ ปริวาสรวมทั้งหมดเป็น ๒๒ วันนับแต่ราตรี ที่ ๑ หรือหากนับจากราตรีที่ ๖ ไปอีก ๑๗ วัน

2 ถ้าต้องอันตราบัติแล้วภิกษุท่านนั้นมิได้ปกปิดไว้ ก็ขอปฏิกัสสนากับสงฆ์ แล้วก็ขอมานัตได้เลย

3 ถ้าไม่ต้องอาบัติตัวใดซ้ำหรือเพิ่มเติมในขณะอยู่ประพฤติปริวาสก็ให้ประพฤติปริวาสนั้นตาม

เงื่อนไขของการอยู่ประพฤติปริวาสตามปกติ

สุทธันตปริวาส

สุทธันตปริวาส เป็นปริวาสที่ไม่มีกำหนดแน่นอน นับราตรีไม่ได้ ในปัจจุบันนี้นิยมจัดแต่ สุทธันตปริวาส ทั้งนี้ก็เพราะเป็นปริวาสที่จัดว่าอยู่ในดุลยพินิจของสงฆ์อยู่ในอำนาจของสงฆ์ คือให้สงฆ์เป็นใหญ่ หากคณะสงฆ์จะให้อยู่ถึง ๕ ปี ก็ต้องยอมปฏิบัติตาม โดยไม่มีทางเลือกและถ้าสงฆ์ให้อยู่ราตรีหนึ่งหรือสองราตรีแล้ว ขอมานัตได้ก็ถือว่าเป็นสิทธิของคณะสงฆ์ และทั้งนี้ก็เพราะสุทธันตปริวาสนี้มีเงื่อนไขน้อยที่สุดแต่ให้ความมั่นใจแก่ผู้ปฏิบัติมากที่สุด ซึ่งภิกษุที่ท่านขอปริวาสดังคำว่า

“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่รู้ที่สุดแห่งอาบัติ ๑ ไม่รู้ที่สุดแห่งราตรี ๑ ระลึกที่สุดแห่งอาบัติไม่ได้ ๑ ระลึกที่สุดแห่งราตรีไม่ได้ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งอาบัติ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งราตรี ๑ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปริวาส จนกว่าจะบริสุทธิ์เพื่ออาบัติ เหล่านั้น กะสงฆ์(วิ.จุล.๖/๑๕๖/๑๘๒) ซึ่งก็ยังมีข้อกำหนดว่า อยู่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงได้แบ่ง สุทธันตปริวาส ออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ คือ

1 จุฬสุทธันตปริวาส แปลว่า สุทธันตปริวาสอย่างย่อย คือ ปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติ หลายคราวด้วยกัน แต่ละคราวก็ปิดไว้ แต่ก็ยังพอจำจำนวนอาบัติได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้งได้บ้าง จึงขอจุฬสุทธันตปริวาส และอยู่ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้คณะสงฆ์ก็นิยมสมมติให้อยู่ ๓ ราตรีเป็นเกณฑ์ น้อยกว่านี้ไม่ได้ แต่ถ้ามากกว่านี้ไม่เป็นไร

2 มหาสุทธันตปริวาส คือ สุทธันตปริวาสอย่างใหญ่ คือ ปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติ หลายคราวด้วยกัน แต่ละคราวก็ปิดไว้ จำจำนวนอาบัติไม่ได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้ง ไม่ได้ จึงขอจุฬสุทธันตปริวาสและอยู่ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์โดยการกะประมาณว่าตั้งแต่บวชมาจนถึงเวลาใดที่ยังไม่ต้องครุกาบัติเลยเช่น อาจบวชมาได้ ๑ เดือน แต่ต้องครุกาบัติจนเวลาล่วงผ่านไปแล้ว ๕ เดือน ๑๐ เดือนหรือ ๑ ปี แต่จำจำนวน ที่แน่นอนไม่ได้เลย จึงต้องขอปริวาสและกะประมาณว่าประมาณ ๑ เดือนนั้นในความรู้สึกก็ถือว่าบริสุทธิ์และใช้ได้ ซึ่งมหาสุทธันตปริวาสนี้ ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะยุ่งยาก และกำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้

รัตติเฉท

เหตุที่ทำให้ขาดราตรี นับราตรีไม่ได้ หรือ “รัตติเฉท” ในการประพฤติปริวาส

การอยู่ประพฤติปริวาสทุกประเภท มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติขณะที่อยู่ประพฤติปริวาส ๓ กรณีด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า “รัตติเฉท” คือ เหตุที่ทำให้ขาดราตรีของปริวาสิกภิกษุผู้ประพฤติปริวาส มีดังนี้

๑. สหวาโส แปลว่า การอยู่ร่วม

๒. วิปวาโส แปลว่า การอยู่ปราศ

๓. อนาโรจนา แปลว่า การไม่บอกวัตรที่ประพฤติ

ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นเงื่อนไขที่ทำให้การอยู่ประพฤติปริวาสของภิกษุนั้นเป็นโมฆะ นับราตรีไม่ได้ หรือทางวินัยเรียกว่า “รัตติเฉท” แปลว่า การขาดแห่งราตรี นับราตรีไม่ได้ เมื่อราตรีขาด ก็ต้องเสียเวลาในการประพฤติปริวาสไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส ควรต้องทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ซึ่งเงื่อนไขทั้ง ๓ ประการมีรายละเอียดต่อไป

ส่วนในอีกกรณีหนึ่งก็คือ เรื่อง “วัตตเภท” แปลความว่า ความแตกต่างแห่งวัตร หรือ ความแตกต่างแห่งข้อปฏิบัติในขณะอยู่ประพฤติปริวาส คือ ทำให้วัตรมัวหมองด่างพร้อย ซึ่งเป็นการละเลยวัตร ละเลยหน้าที่ ไม่เอื้อเฟื้อ ต่อวัตรที่กำลังประพฤติอยู่ และกระทำผิดต่อพุทธบัญญัติโดยตรง เช่น หาอุปัฎฐากเข้ามารับใช้ในขณะอยู่ประพฤติ ปริวาส เข้านอนร่วมชายคาเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสหรือคณะสงฆ์ซึ่งเป็นอาจารย์กรรม มีการนั่งบนอาสนะที่สูงกว่า อาสนะของคณะสงฆ์อาจารย์กรรม เหล่านี้ถือว่าเป็น “วัตตเภท” สิ่งไหนเป็น รัตติเฉท หรือ วัตตเภท ดังตัวอย่างเช่น ภิกษุหนึ่ง และภิกษุสอง เป็นเพื่อนสหธรรมิกไปอยู่ประพฤติปริวาสร่วมกัน เมื่อปฏิบัติกิจทางสังฆกรรมเสร็จแล้ว ภิกษุ หนึ่งก็เข้ากลดแล้วนอนหลับไป ส่วนภิกษุสองนอนไม่หลับ ก็เข้าไปนอนเล่นในกลดของภิกษุหนึ่ง แล้วก็เผลอหลับไปจนสว่าง ซึ่งในกรณีนี้ ภิกษุหนึ่ง ผิดในส่วนของ รัตติเฉท อย่างเดียว ส่วนภิกษุสองผิดทั้ง รัตติเฉท และวัตตเภท ซึ่งกรณีเช่นนี้ถือเจตนาเป็นใหญ่ ฝ่ายใดก่อเจตนาฝ่ายนั้นเป็น

ทั้ง รัตติเฉท และ วัตตเภท ส่วนฝ่ายที่ไม่มีเจตนา ฝ่ายนั้นเป็นเพียง รัตติเฉท แตถ้าจะให้ละเอียดว่าทำไม ภิกษุหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีเจตนาทำไมถึงเป็น รัตติเฉท คำตอบก็เพราะว่า เป็นการอยู่ร่วมในที่มุงบังอันเดียวกัน ถือว่าเป็น รัตติเฉท ทั้งสิ้นไม่มี กรณียกเว้นถ้าไม่เก็บวัตร เพราะเงื่อนไขเป็น อจิตตกะ

สหวาโส

“สหวาโส”แปลว่า“การอยู่ร่วม”ซึ่ง ในความหมายนี้หมายเอาพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสอยู่ร่วมกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน หรืออยู่ร่วมกับคณะสงฆ์ผู้เป็นพระอาจารย์กรรมในที่มุงบังเดียวกัน“การอยู่ร่วม” นั้นมีขอบเขต คือ ท่านหมายเอาการนอนอยู่ร่วมกันในที่มุงอันเดียวกันในทางสถานที่ นั่นหมายถึงมีการทอดกายนอน ดังมีอรรถกถาบาลีว่า “สตคพฺ ภา จตุสฺสาลา เอกา เสยฺยาอิจฺเจว สงฺขยํ คจฺฉติ, เยปิ เอกสาลทฺวิสาลตฺติสาลจตุสฺสาลสนฺนิเวสา มหาปาสาทา เอกสฺมึ โอกาเส ปาเท โธวิตฺวา ปวิฏฺเฐนสกฺกา โหติ สพฺพตฺถ อนุปริคนฺตํ เตสุปิ สหเสยฺยาปตฺติยา น มุจฺจติฯ แปลความว่า “ ศาลา ๔ มุข มีห้องตั้งร้อย แต่อุปจาระเดียวกันก็ถึงอันนับว่าที่นอนอันเดียวกันแท้, แม้มหาปราสาทใด ที่มีทรวดทรงเป็นศาลาหลังเดียวสอง สาม และสี่หลัง ภิกษุล้างเท้าในโอกาสหนึ่งแล้วเข้าไป อาจเพื่อจะเดินเวียนรอบได้ในที่ทุกแห่ง

แม้ในมหาปราสาทเหล่านั้น (ถ้านอนร่วมกัน) ภิกษุย่อมไม่พ้นสหเสยยาบัติ คือ อาบัติเพราะการนอนร่วม(มนฺต.๒/๒๙๙) ซึ่งจะเห็นว่า การอยู่ร่วม คือ นอนร่วมกันและท่านก็เพ่งเอาการทอดกายนอนเฉพาะตอนกลางคืนนั้น ในที่มุงบังอันเดียวกันหลังคาเดียวกัน ก็ไม่พ้นจากอาบัติเพราะการนอน คือมีการทอดกายนอน และคำว่าที่มุงบังอันเดียวกันนั้น ท่านก็หมายเอาแต่วัตถุที่เกิดขึ้นโดยวิทยาศาสตร์ เช่น ศาลาการเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร ที่มนุษย์ใช้เครื่องมือสร้างขึ้น แต่ไม่รวมถึงที่มุงบังโดยธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ หากมีการกางกลดภายใต้ร่มไม้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงชี้ให้เห็นข้อแตกต่างของที่มุงบังเดียวกัน ซึ่งหากภิกษุสองรูปขึ้นไปอยู่ร่วมกับภิกษุรูปหนึ่งนั่งแต่ภิกษุอีกรูปหนึ่งนอน หรือภิกษุทั้งสองต่างนั่งอยู่ด้วยกันโดยไม่มีการทอดกายนอนก็ถือว่าไม่เป็นอาบัติหรือรัตติเฉท ทั้งนี้ก็มีข้อแม้ว่าในศาลาที่ทำสังฆกรรมนั้นเป็นที่มุงบังหลังคาเดียวกัน แต่หากในขณะเมื่ออยู่ปริวาสนั้นเกิดภัยทาง ธรรมชาติคุกคามแปรปรวน เช่นฝนตก น้ำท่วม ลมแรง หรือมีการปฏิบัติธรรมร่วมกันก็อนุญาตให้อยู่ร่วมในศาลามุงบังนั้นได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีการทอดกายนอน พอใกล้จวนสว่างแล้วก็ให้ลุกออกไปเสียที่อื่นให้พ้นจากที่มุงนั้นให้ได้อรุณ ซึ่งกิริยาเช่นนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ออกไปรับอรุณ”

ดังนั้นคำว่า “สหวาโส” นั้นขึ้นอยู่กับการ นอน อย่างเดียวเท่านั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการนอน ไม่มีการเอนกาย ไม่ถือว่าเป็น สหวาโส จึงสรุปว่า แม้การร่วมทำสังฆกรรม ทำวัตรเช้าสวดมนต์เย็น ร่วมปฏิบัติธรรมภายใต้ศาลาเดียวกันโดยมีที่มุงบังก็ดีโดยไม่ได้เก็บวัตรก็ดี ทำกิจทุกอย่างร่วมกันภายในเต็นท์หรือปะรำที่สร้างขึ้น

เพื่องานนั้นโดยไม่เก็บวัตรก็ดี เข้าห้องน้ำห้องสุขาที่มีเครื่องมุงบังพร้อมกันแม้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาจารย์กรรมโดยไม่เก็บวัตรก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่ถือเป็น สหวาโส ไม่มีผลกระทบแม้แต่น้อย และไม่เป็นอาบัติทุกกฎเพราะวัตตเภทก็ไม่มี ทั้งนี้เพราะ กิจ ที่ทำนั้นไม่ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน แต่เป็นการ ทำธุระ ร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน

ซึ่งต่างกับการ “อยู่ร่วม” หรือ “สหวาโส”

ขอบเขตของ “สหวาโส” การ “อยู่ร่วม”

a เรื่องของสถานะ

ภิกษุ ทุกรูปที่เข้าอยู่ประพฤติปริวาสนั้น เป็นผู้ตกอยู่ในข้อหาละเมิดสิกขาบท สังฆาทิเสส ซึ่งการอยู่ปริวาสนั้นเปรียบเหมือนกำลังพยายามออกจากสิกขาบทที่ละเมิด ดังนั้น ภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสนั้น แม้จะมีพรรษามากเท่าใดก็ตาม มีสมณะศักดิ์สูงเพียงใดก็ตามก็จะต้องเคารพและให้เกียรติต่อ คณะสงฆ์ อาจารย์กรรม ในเรื่องที่เป็นธรรมเป็นวินัย แม้สงฆ์ท่านนั้นจะเพิ่งบวชใหม่แม้ในวันนั้นทุกรูปก็ตามจะทำการคลุกคลีด้วยการฉันร่วม นั่งร่วมในอาสนะเดียวกันเกินขอบเขตซึ่งทำให้เป็น วัตตเภทบ้าง รัตติเฉทบ้างไม่ได ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องยอมลดทิฎฐิ และสถานะสมณศักดิ์ลงต่อคณะสงฆ์และอาจารย์กรรม แต่สำหรับพระภิกษุ ผู้อยู่ประพฤติปริวาสด้วยกันแล้วก็ยังคงรักษาพรรษาไว้และยังคงต้องนั่งตามลำดับพรรษาดังเดิม และพระเถระที่เคยมีอุปัฐากอยู่ที่วัด พอมาอยู่ปริวาสท่านจะมี

คำสำคัญ
ปริวาสกรรม
สถานที่ตั้ง
วัดหนองหอไตร
เลขที่ 137 หมู่ที่/หมู่บ้าน 8 ซอย - ถนน -
ตำบล ลำหนองแสน อำเภอ หนองกุงศรี จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดหนองหอไตร
บุคคลอ้างอิง นายวรวิทย์ เดชบุรัมย์ อีเมล์ witdet@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอหนองกุงศรี อีเมล์ witdet@hotmail.com
เลขที่ 14 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5 ซอย - ถนน -
ตำบล ลำหนองแสน อำเภอ หนองกุงศรี จังหวัด กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46220
โทรศัพท์ - โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่