ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 12' 7.6738"
16.2021316
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 45' 2.7961"
102.7507767
เลขที่ : 112241
การปลูกข้าวไร่แก้จนแบบคนบ้านแฮด
เสนอโดย udomporn วันที่ 7 กันยายน 2554
อนุมัติโดย วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 1800
รายละเอียด

ข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกก็เรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น เชิงภูเขาที่มีระดับ สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่าย ๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักจะปลูกแบบหยอด อำเภอบ้านแฮด เป็นแบบอย่างของจังหวัดขอนแก่นที่ได้นำพันธุ์ข้าวไร่มา ปลูกสลับกับอ้อยและมันสำปะหลังเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้าวบริโภคและเสริมรายได้จนทำให้โครงการปลูกข้าวไร่ของอำเภอบ้านแฮดสามารถแก้ปัญหาความยากจนใน ชุมชนได้และมีเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกข้าวไร่เพิ่มมากขึ้นทุกปีพร้อมทั้งมีการรวมกลุ่มจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน เป็นแหล่งผลิตพันธุ์ข้าวไร่พันธุ์ดีออกจำหน่ายเป็นแห่งแรกและแหล่งเดียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากจุดเริ่มต้นการปลูกข้าวไร่แก้จนที่บ้านวังหว้า อำเภอบ้านแฮด ได้ขยายครอบคลุมทั้งอำเภอและเปลี่ยนสโลแกนใหม่เป็น “การปลูกข้าวไร่แก้จนแบบคนบ้านแฮด”
วิธีปลูกข้าวไร่
1) การเตรียมเมล็ดพันธุ์ เลือกเมล็ดที่สมบูรณ์มีเมล็ดในเต็ม ไม่มีเชื้อโรค สิ่งเจือปนติดมากับเมล็ดและมีความงอกไม่ต่ำกว่า 80% เป็นพันธุ์ดีตรงความต้องการในท้องถิ่น
2) การเตรียมดิน ดินควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือร่วนเหนียว มีอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ดีพอควร เมื่อดิน มีความชื้นหรือฝนตกลงมาครั้งแรกจนดินอ่อนตัวพอที่จะไถหรือขุดได้ก็เริ่มเตรียมดินได้ ควรไถ ควรทำให้น้อยที่สุด และควรไถตามแนวขวางความลาดเอียงของพื้นที่เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน แล้วตากดินไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคบางชนิดในดินและเป็นการกำจัดวัชพืชด้วย หลังจากนั้นก็พร้อมที่จะปลูกข้าวได้
3) วิธีปลูก วิธีนี้การปลูกแบบหว่านเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดชันเล็กน้อย ต้องเตรียมดินให้ดี ตากดินแล้วก็สามารถหว่าน และควรคราดดินกลบทันทีให้เมล็ดข้าวฝังอยู่ในดินเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์ศัตรูทำลาย การปลูกโดยวิธีนี้จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 15 กก./ไร่ และไม่เป็นที่นิยมของเกษตรกร หรือปลูกแบบโรยเป็นแถวได้โดยเตรียมดินเช่นเดียวกับการปลูกแบบหว่าน แล้วใช้ไม้คราดหรือจอบทำร่องขวางความลาดเอียงของพื้นที่ แต่ละร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร หลังจากนั้นทำการโรยเมล็ดข้าวลงในแถวที่เตรียมไว้ทันที แล้วกลบร่องด้วยดินบางๆ การปลูกโดยวิธีนี้จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 15 กก./ไร่ สำหรับวิธีการปลูกแบบหยอดเป็นหลุมหลังเตรียมดินแล้วใช้ไม้แหลมกระทุ้ง เสียมหรือจอบขุดลงในดิน ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร ทำการหยอดเมล็ดข้าวลงในหลุมทันทีโดยหยอดหลุมละ 5-8 เมล็ด แล้วกลบหลุมด้วยดินบางๆ การปลูกโดยวิธีนี้ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 6-8 กก./ไร่ ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกโดยวิธีนี้ หลังจากปลูกแล้วประมาณ 7 วันควรตรวจดูการงอกของเมล็ด โดยเฉพาะการปลูกแบบหยอดเป็นหลุมหากพบว่าหลุมใดไม่งอกให้ปลูกซ่อมทันที
4) การกำจัดวัชพืช หลังจากปลูกแล้ว 20 วัน ควรตรวจดูแปลงปลูกหากพบวัชพืชใหักำจัดออกโดยการถอนด้วยมือหรือจอบ และเมื่อข้าวอายุได้ 40-50 วันควรทำการกำจัดวัชพืชอีกครั้งเพื่อเป็นการพรวนดินไปด้วย การปลูกข้าวไร่ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม หากจำเป็นควรใช้สารกำจัดศัตรูพืชทางชีวภาพแทน
5) การให้ปุ๋ย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำควรใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ดังนี ครั้งแรก ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตราไร่ละ 15 กิโลกรัมและปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ อีกไร่ละ 5 กิโลกรัม ใส่พร้อมกับการปลูกหรือหลังปลูก 1 อาทิตย์โดยยังไม่ลงดิน ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตราไร่ละ 5 กิโลกรัม หลังจากข้าวงอกแล้ว 25 วัน ใส่โดยการหว่านหรือฝังลงในดินเพื่อลดความสูญเสียปุ๋ยน้อยลง
6) การบำรุงรักษาดินในแปลงข้าวไร่ ควรปลูกข้าวไร่หมุนเวียนหรือสลับกับพืชอื่น เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วนิ้วนางแดง ถั่วแดงหลวง ถั่วแปยีหรือพืชตระกูลถั่วอื่นๆ เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
7) การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวหลังจากข้าวออกรวงประมาณ 30 วัน ตากทิ้งไว้บนตอซัง 1-2 วัน แล้วจึงนวด และนำไปตากแดดให้เมล็ดข้าวมีความชื้นไม่เกิน 14%
พันธุ์ที่ปลูก
ซิวแม่จัน
เป็นข้าวเหนียวพื้นเมือง อายุประมาณ 140 - 150 วัน ลำต้นสูงประมาณ 110 - 150 ซม. ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน ผลผลิตประมาณ 456 กก./ไร่
สกลนคร เป็นข้าวเหนียวคู่ผสมระหว่างหอมอ้นและ กข.10 อายุประมาณ 128 วัน ลำต้นสูงประมาณ 123 - 146 ซม.ไม่ไวต่อช่วงแสง ผลผลิตประมาณ 467 กก./ไร่
กข.15 เป็นข้าวเจ้า ลำต้นสูงประมาณ 140 ซม. ไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณ 10 พฤศจิกายน ผลผลิตประมาณ 560 กก./ไร่
ปัจจุบัน อำเภอบ้านแฮดมีพื้นที่ปลูกข้าวไร่ประมาณ 7,960 ไร่ ผลผลิตที่ได้จะนำมาบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย นำรายได้เข้าสู่ชุมชน และมีหน่วยงานต่างๆให้ความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุนทั้งภาคราชการ และท้องถิ่น นอกจากนี้ยังจัดตั้งเป็น "ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านวังหว้า" เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพันธุ์ข้าวไร่

สถานที่ตั้ง
บ้านวังหว้า
หมู่ที่/หมู่บ้าน 8,11 บ้านวังหว้า
จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สัมภาษณ์
บุคคลอ้างอิง นายประยูรภัทร์ ศรีศักดิ์นอก
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านแฮด
เลขที่ 317 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 บ้านแฮด
จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40110
โทรศัพท์ 043 218230 โทรสาร 043 218218
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่