เตยปาหนันหรือเตยแนะ เป็นพืชที่จัดอยู่ตระกูลเดียวกันกับต้นปาล์มซึ่งเตยปาหนันนี้สามารถพบได้มากในบริเวณริมทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทยเป็นพืชที่ชอบขึ้นตามริมหาด ชายทะเล ป่าโกงกาง มีลักษณะลำต้นเป็นกอ และแตกกิ่งใบยาวเป็นพุ่ม ขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามอายุและสภาพดิน สูงประมาณ 5 เมตร พบมากโดยเฉพาะในบริเวณ จังหวัดตรัง สตูล และกระบี่
ภูมิปัญญาการจักสานเตยปาหนัน บ้านดุหุน อ.สิเกา จ.ตรัง เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดมาจาก บรรพบุรุษชาวอินโดนีเซีย ซึ่งอพยพมาตั้งรกรากในระเทศไทย ทางภาคใต้ตอนล่าง และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การจักสานเตยปาแนะจากรุ่นสู่รุ่น จากรุ่นลูกสู่ลูกหลาน สืบทอดกันมา เป็นระยะเวลาหลายร้อยปีจากการจักสานเพื่อใช้ประโยชน์ภายในครัวเรือน ก็ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบสีสันลวดลาย ให้เข้ากับยุคและทันสมัยมากขึ้น จนสามารถ ผลิตเป็นสินค้าที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับชุมชน โดยเริ่มจากการร่วมกลุ่มกันของแม่บ้านในภายในชุมชนที่ว่างเว้นจากการกรีดยางมาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการรวมกลุ่มกันในระยะแรก มีสมาชิกเพียง ๑๐ คนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ก่อนที่ที่จะมาจัดตั้งกลุ่มในปี พ.ศ.๒๕๔๕ เพื่อลื้อฟื้นภูมิปัญญาการจักสานเตยปาหนันให้มาเป็นที่รู้จักและเสริมสร้างมูลค่ากระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนเกิดรายได้และเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานรักษาและต่อยอดมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและถือได้ว่ามรดกภูมิปัญญาการจักสานเตยปาหนันของชาวบ้านในจังหวัดตรังเป็นมรดกภูมิปัญญางานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบสานและต่อมรดกภูมิปัญญานี้ให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชุมชนอื่น ๆ เพื่อเป็นการรักษาให้ภูมิปัญญาของบรรพชนกว่าร้อยปีนี้ไม่หายไปจากคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย
.