นายสำเนียง บังวิเศษ
เกิดวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุ ๖๔ ปี
ที่อยู่ ๓๗๙ หมู่ที่ ๘ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
ชีวิต การศึกษา และการทำงาน
นางสำเนียง บังวิเศษ เป็นชาวอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนใกล้บ้าน จบชั้นมัธยมศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน รักงานเย็บปักถักร้อยมาตั้งแต้เด็ก ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ในหน้าแล้วจึงเย็บหมอนไว้ใช้ตามวิถีชีวิตของชนบททั่วไป ชื่นชอบการเย็บหมอน ที่นอนมากศึกษาลวดลายแบบต่างๆ คิดรูปแบบที่แปลกจนในที่สุดสามารถขายได้ จากนั้นจึงชักชวนเพื่อนบ้านให้มาฝึกหัดทำและนำผลงานมารวมเป็นกลุ่มแม่บ้าน หมอนขิดอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
องค์ความรู้
การทำหมอนขิดหมอนขวานที่มีความประณีตบรรจง จัดทำเป็นหลายขนาด ได้ทำหมอนขิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดแสดงไว้ที่วัดในหมู่บ้าน เพื่อจัดแสดงให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและดูเป็นแบบอย่าง นางสำเนียง บังวิเศษ เริ่มทำหมอนขิดและหมอนขวานด้วยความมุ่งมั่นมาแต่วัยเยาว์ ปัจจุบันก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์หัตถกรรมไทยด้านนี้ไว้ตลอดไป อีกทั้งเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวด้วยการทำหมอนส่งขาย ใช้มือที่ประณีตจึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ ๕ ดาว
ผลงาน
๑. ได้ทำหมอนขิดทูลเกล้าทูลกระหม่อนถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในนามของจังหวัดชัยถูมิ เนื่องวโรกาสครบรอบ ๖๐ พรรษา ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕
๒. รับประทานรางวัล จากพระองค์เจ้าวิมลฉัตรฯ ในการประกวดหมอนขวาน ณ ศูนย์สินค้านารายณ์พลาวิลเลียน
๓. ได้รับรางวัล ๕ ดาว ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดชัยภูมิ ) พ.ศ. ๒๕๔๖
๔. ได้รับรางวัล ๔ ดาว ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับประเทศ
๕. ได้รับรางวัลผู้มีผลงานในการอนุรักษ์มรดกไทย สาขาศิลปหัตถกรรม จากจังหวัดชัยภูมิ
๖. ได้รับรางวัลผู้มีผลงานพัฒนาชุมชนดีเด่น จากอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
๗. เป็นประธานกลุ่มแม่บ้านทำหมอนขิด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
ลักษณะกรถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ชนรุ่นหลัง
ถ่ายทอดการทำหมอนขิดให้แก่เยาวชนลูกหลานในหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้านฝึกจนสามารถประกอบอาชีพได้จากนั้นก็ถ่ายทอดให้โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอคอนสวรรค์ ถ่ายทอดให้แก่เยาวชนในโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดชัยภูมิหลายโรงเรียนรวมทั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชัยภูมิ โรงเรียนสตรีชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ