ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 28' 23.6604"
15.4732390
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 7' 32.8955"
104.1258043
เลขที่ : 121785
หัตถกรรมบ้านหนองบัวหล่น
เสนอโดย ศรีสะเกษ วันที่ 30 มกราคม 2555
อนุมัติโดย ศรีสะเกษ วันที่ 25 มีนาคม 2563
จังหวัด : ศรีสะเกษ
0 525
รายละเอียด

การสานตุ้มดักกุ้ง

บ้านหนองบัวหล่น ต.โจดม่วงอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ

ข้อมูลภูมิปัญญา: บ้านหนองบัวหล่น หมู่ที่ ๓ ตำบลโจดม่วง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ประชาชนในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก หลังฤดูทำนาก็ปลูกผักเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมซึ่งรายได้ไม่มาก จากสภาพการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ ประกอบกับภาวะทางครอบครัวทำให้ประชาชนในหมู่บ้านเริ่มทำตุ้มดักกุ้ง (ไซซิ่ง) เป็นอาชีพเสริม โดยผู้ริเริ่มนำเข้ามาทำในหมู่บ้านคือ นายวีระ พราวสี อดีตผู้ใหญ่บ้าน ลักษณะเป็นการรับทำตามคำสั่งซื้อ ขายในราคาส่งอันละ ๒๕ บาท วันหนึ่ง ๆ ชาวบ้านจำได้ ๑๐-๒๐ อัน หากใครขยันก็สามารถทำได้ถึง ๓๐ อัน ถือเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้ประชาชนในหมู่บ้านเป็นอย่างดี ปัจจุบันความต้องการตุ้มดักกุ้ง (ตุ้มซิ่ง) มีเป็นจำนวนมาก มีการขยายตลาดไปยังจังหวัดใกล้เคียง จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว และประเทศลาว หากมีการส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดกับประชาชนในหมู่บ้านใกล้เคียงก็สามารถเป็นอาชีพเสริมให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้ดี

วัสดุที่ใช้ในการผลิตผลงาน

๑. ไม้ไผ่แก่ ๒.ผ้าเขียว

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตผลงาน

๑.ไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่แก่ทำเป็นโครงตุ้ม

๒.ขวดพลาสติก ขนาด ๕๐๐ มล. ปาดเอาบริเวณปากขวาด จากนั้นเจาะรู ๘ รู ใช้ทำงาตุ้ม

๓.เชือกไนลอน ตัดให้ยาวประมาณ ๒๐ ซม. ใช้มัดโครงไม้ไผ่ ใช้ผูกถุงใส่เหยื่อ/อาหารดักกุ้ง

๔.เชือกเอน ใช้เย็บผ้าเขียวเข้ากับโครงการไม้ไผ่ และทำที่รูดปากตุ้ม

๕.ลวด ใช้ทำคอตุ้ม

๖.ผ้าเขียวตัดให้มีขนาดกว้าง ๖๓ ซม. ยาว ๗๕ ซม.

๗.ด้าย ใช้เย็บงา (บริเวณปากตุ้ม)

๘.เข็มกรรไกร ใช้เจาะรูผ้าเขียวใส่ปากขวดพลาสติก เพื่อทำงาตุ้ม

ขั้นตอนการผลิต

ขั้นเตรียมการ

๑.ตัดไม้ไผ่แก่ นำมาเผาด้วยไฟเพื่อลดความชื้นของไม้ไผ่ เพื่อให้มีความเหนียว และแข็งแรง

๒.ตัดไม้ไผ่นำมาจักเป็นตอก ๒ แบบ

-แบบบางขนาดยาว ๗๕ ซม. ทำโครงการแนวนอน คือ ใช้ทำก้นตุ้ม ขนาด ๓๕ ซม ใช้ทำคอตุ้ม -แบบหนา ขนาด ๓๕ ซม. ให้ทำหลัก (โครงแนวตั้ง)

๓.เลาไม้ไผ่ที่ตัดไว้ให้มีลักษณะ ดังนี้

-ตอกแบบบาง เลาให้มีขนาดบาง สามารถพันรอบโครงหลักได้ มี ๓ จุด คือ บริเวณก้นตุ้มเลาให้บางขนาดยาว ๗๕ ซม. บริเวณคอตุ้มเลาบางขนาดยาว ๓๕ ซม.

-ตอกแบบหนา ปลายหนึ่งเลาให้หนา ปลายอีกด้านให้บางกว่าเพื่อให้ดัดเป็นโครงได้ ส่วนปลายที่ประกอบบริเวณคอตุ้มจะทำให้มีปุ่มเพื่อให้ล็อคกับโครงแนวนอน ส่วนด้านหนาจะเลาปลายให้แหลมและมัดก้นตุ้มให้สูงจากปลายตอกประมาณ ๑ นิ้ว

๔.ตัดผ้าเขียวให้ได้ ๓ ขนาด

-เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๕ ซม. ใช้ทำก้นตุ้ม

-เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๕ ซม. ใช้ห่อโครงตุ้ม

-เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ ซม. ใช้ที่ใส่อาหาร (เหยื่อล่อ)

๕.ตัดปากขวดพลาสติกให้ยาวประมาณ ๗ ซม. เจาะรู ๘ รู

ขั้นตอนการทำตุ้มดักกุ้ง

๑. นำไม้ไผ่แบบหนาขนาดหนา ๓๕ ซม. ๘ อัน มามัดด้วยเชือกไนลอนแนวตั้ง เพื่อขึ้นโครงสร้างตุ้ม จากขาถึงก้นตุ้ม สูงประมาณ ๔ ซม. (ขาตุ้มจะเลาให้ปลายแหลม เลาไม้ไผ่ให้เว้าลงบริเวณที่จะทำโครงก้นตุ้มเพื่อเพิ่มความแน่นหนา)

๒. นำไม้ไผ่แบบบางขนาด ๗๕ ซม. จำนวน ๒ เส้น มามัดด้วยเชือกไนลอนเพื่อทำก้นตุ้มและตัวตุ้ม (จากก้นถึงคอตุ้มสูงประมาณ ๓๑ ซม เลาปลายอีกด้านให้สามารถเกี่ยวกับโครงคอตุ้มได้)

๓. นำลวดขดเป็นวงกลมทำเป็นคอตุ้ม

๔. เมื่อมัดโครงตุ้มเสร็จ นำผ้าเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๕ ซม. เย็บด้วยเชือกไนลอนบริเวณก้นตุ้ม

๕. นำผ้าเขียวขนาด ๗๕ ซม. มาห่อรอบโครงและเย็บด้วยเชือกไนลอนตามโครงไม้ไผ่ที่ทำไว้

๖. เจาะผ้าเขียวด้วยกรรไกร โดยตัดเป็นรูปกากบาท เจาะ ๔ ช่อง (เจาะ ๑ ช่อง เว้น ๑ ช่อง)

๗. นำปากขวดพลาสติกที่เจาะรูแล้วมาประกบเข้ากับโครง ใช้เชือกไนลอนเย็บเข้ากับผ้าเขียวบริเวณรู ที่เจาะไว้

๘. นำผ้าเขียวขนาด ๕ ซม. มาเย็บเป็นถุงให้อาหาร ร้อยด้วยเชือกไนล่อนหรือเชือกเอน ให้มีขนาดยาวจากบริเวณคอตุ้มถึงบริเวณงาตุ้ม

๙. ร้อยผ้าเขียวด้วยเชือกเอนให้สามารถรูดปิด-เปิดปากตุ้มได้

๑๐. นำผ้าเขียวใส่อาหารร้อยไว้กับปากตุ้มใส่ จากนั้นเก็บรายละเอียดให้เรียบร้อย

สถานที่ตั้ง
บ้านหนองบัวหล่น
เลขที่ 6 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 บ้านหนองบัวหล่น
ตำบล โจดม่วง อำเภอ ศิลาลาด จังหวัด ศรีสะเกษ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสวัสดิ์ กัลปาดี
เลขที่ 6 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 บ้านหนองบัวหล่น
ตำบล โจดม่วง อำเภอ ศิลาลาด จังหวัด ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ 33160
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่