ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 18' 57.4556"
15.3159599
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 56' 5.5223"
103.9348673
เลขที่ : 123740
บ้านธาตุ ตำบลธาตุ อำเภอรัตนบุรี
เสนอโดย nitichayab วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย สุรินทร์ วันที่ 30 มีนาคม 2555
จังหวัด : สุรินทร์
3 823
รายละเอียด

บ้านธาตุเคยเป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบันคือ
1. กำแพงเมืองคูเมืองซึ่งเป็นแบบโบราณล้อมรอบบ้านธาตุ ทิศตะวันตกและทิศใต้
2.บึงหรือคลองหนองน้ำ ซึ่งขุดด้วยมนุษย์ล้อมรอบบ้านธาตุทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตก (ปัจจุบันคือหนองบัวหัวช้าง หนองเบือก หนองแก หนองกอลอ ฯลฯ)
3. ประตูเมืองซึ่งเป็นทางเข้า-ออก 4 ด้านคือ ประตูด้านทิศเหนือ ทิศตะวันอก ทิศใต้และทิศตะวันตก
4. เขตพระราชวัง (โฮง) ซึ่งเป็นที่อยู่ของเจ้าเมือง(คือบริเวณตะวันตก วัดโพธิ์ศรีธาตุ)
5. สถานที่ประกอบศาสนกิจหรือพิธีกรรม ตามความเชื่อถือคือวิหาร หรือเจดีย์ หรือธาตุ หรือเทวสถาน (บริเวณวัดโพธิ์ศรีธาตุซึ่งได้แก่ ธาตุหินที่ก่อด้วย ศิลาแลงหินทราย ในปัจจุบันทางวัดได้ใช้เป็นฐานสร้าง พระธาตุมณฑป จากหลักฐานเหล่านี้จึงน่าเชื่อได้ว่าบ้านธาตุนั้นเดิมเป็นเมืองของขอม (เมืองจำปาสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) ซึ่งมีอายุนับได้พันปีมาแล้ว ต่อมาอาจมีข้าศึก จากเมืองอื่นยกทัพมารุกราน ทำลาย หรือเกิดโรคะบาด จนทำให้ผู้คนอพยพหนีไป จนกลายเป็นเมืองร้างร้าง ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีพวกส่วยจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือเมืองอัตตะบือแสนแป ได้อพยพข้ามมาทางฝั่งขวาและเดินทางมาทางทิศตะวันตกเรื่อยๆเพื่อหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ สำหรับตั้งบ้านเรือนซึ่งมีมาด้วยกัน 6 พวกมีหัวหน้า(หัวโป่) คือ

1. เชียงปุม ไปตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านคูปะทาย(เมืองสุรินทร์)
2. เชียงปืด ไปตั้งเรือน บ้านเมืองที แล้วย้ายอีกแห่งสุดท้ายไปอยู่บ้านระแงง(บ้านผักติ้ว)ศรีขรภูมิ
3. ตากะจะกับเชียงขันบุตรชาย ไปตั้งบ้านลำดวนเชียงขันไปตั้งเมืองขุขัน และครั้งสุดท้ายตั้งเมืองศรีสะเกษ
4. เชียงฆะ(ขะ)ไปตั้งบ้านโศกยางหรือโคกยางภาษาส่วยเรียกอัจจะปะนะนึงเจียงเกี๊ยะ(เมืองสังขะ)
5. เชียงสง ไปตั้งบ้านหัวเมืองลิง(อยู่ในเขตอำเภอท่าตูม)
6. เชียงสี มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ เมืองร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งอุดมสมบูรณ์มาก(บริเวณที่ตั้งบ้านาตุในปัจจุบัน)

เชียงสีเป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า สามารถปราบและผูกมัด คน ผี และสัตว์ร้ายได้ บริเวณที่เชียงสีตั้งบ้านเรือนอยู่นี้เป็นคุ้ม เชียงสีเองอยู่คุ้มบ้านไม้หลี้ (ตะวันออกวัดโพธิ์ศรีธาตุ บริเวณที่ตั้งวัดป่าในปัจจุบัน) เชียงสีหาเลี้ยงชีพโดยการทำไร่ และออกไปทำไร่ปลูกข้าวในที่ห่างไกลบ้าน เมื่อออกจากบ้านไปไร่ เชียงสีจะเอาเต่าไปเป็นอาหาร โดยเจาะกระดองเต่าผูกหาบคอน(คู่)กับหม้อข้าวเป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกว่า "เชียงศรีคอนเต่า" ต่อมาช้างเผือกซึ่งเป็นช้างทรง ของพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้หนี ออกจากท้องพระโรง หนีมาทางทิศตะวันออก พระเจ้าเอกทัศน์ และพระอนุชาได้ออกติดตามโดยปลอมเป็นสามัญชน ติดตามรอยเท้ามาเรื่อยๆผ่านดงพญาไฟ ผ่านเมืองพิมาย ผ่านดงแสนตอ แล้วมุ่งมาทางทิศตะวันออกเรื่อยๆจนบรรลุถึงเขตไร่ของเชียงสีจึงได้ขอให้ เชียงสี ช่วยติดตามช้างด้วย เชียงสี และเสี่ยวคือเชียงปุม เชียงฆะ เชียงขัน เชียงปืด และเชียงสง จึงได้ช่วยกันตามช้างเข้าไปในป่าใหญ่ใกล้เขตแดนเขมร เมื่อไปพบโขลงช้างก็แอบดูอยู่ไกลๆ พระเจ้าเอกทัศน์ก็จำได้ว่าช้างของพระองค์ อยู่ในโขลงช้างนั่นเอง แต่ไม่รู้จะเข้าไปจับได้อย่างไร เชียงสีจึงทำพิธีเพิกช้างป่า และสะกดช้างเผือกโดยเสกก้อนกรวด (หินแห่) หว่านไป 8 ทิศ กระทืบตีน 3 ครั้ง ช้างป่าก็แตกตื่นเข้าป่า ส่วนช้างทรงยืนส่ายงวงหมุนวนอยู่กับที่ พระเจ้าเอกทัศน์จึงได้ช้างทรงคืน กลับเข้าพักผ่อน ที่บ้านเชียงฆะ 3 คืน จึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พวกเชียงทั้ง 6 ตามมาส่งถึงเมืองลิง ก่อนจากกันพระองค์ ได้บอกให้เสี่ยวทั้ง 6 คน ไปเยี่ยมในปีใหม่ โดยบอกที่อยู่ และวิธีการตามหาให้ เมื่อขึ้นปีใหม่เสี่ยวทั้ง 6 คน ก็ชวนกันไปเยี่ยมเสี่ยวที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อไปถึงและได้เข้าเฝ้าแล้ว จึงทราบว่าเสี่ยวที่ตามช้างนั้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่างก็เกรงกลัว แต่พระเจ้าเอกทัศน์ ก็ได้ต้อนรับทักทายอย่างสามัญชน และพระองค์จึงทรงแต่งตั้งเสี่ยวทั้ง 6 คนให้เป็นเจ้าเมืองปกครองหัวเมืองชั้นนอก และให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ คือ

1. เชียงปุม ได้เป็น หลวงสุรินทร์เสน่หาตั้งเมืองคูปะทาย เป็นเมืองสุรินทร์ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์ ครั้งสุดท้ายเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทยสมันต์
2. เชียงฆะ ได้เป็น หลวงสังขะเขต ตั้งเมืองอัจจะปะนึงเจียงเกี๊ยะ เป็นเมืองสังขะบุรี ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นพระสังขะเขต ครั้งสุดท้ายเป็นพระสังขะเขตบุรีเรศอัจจะปะนึง
3.เชียงขัน ย้ายจากบ้านลำดวน ไปตั้งเมืองขุขันและศรีสะเกษได้รับบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็นพระยาไกรสีห์
4. เชียงปืด ได้เป็น หลวงอนันตราช ได้ย้ายจากเมืองทีไปจาระพัดคูขาด ครั้งสุดท้ายไปอยู่บ้านระแงง (บ้านผักติ้ว) และตั้งเป็นเมืองศีขรภูมิ
5. เชียงสง ได้เป็น ขุนหลวงราช ตั้งเมืองอยู่ที่หัวเมืองลิง
6.เชียงสี ได้เป็น หลวงสีคอนเต่าได้ย้ายจากบ้านไม้หลี้ (บ้านธาตุ) ไปตั้งบ้านบุ่งหวายเป็นเมืองรัตนบุรีครั้งสุดท้ายได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระสีนครเตาท้าวเธอ


หลังจากที่เซียงสีและครอบครัวและชาวบ้านได้อพยพจากบ้านไม้หลี่ (บ้านธาตุ) บ้านธาตุก็เป็นเมืองร้างอีกครั้ง ต่อมามีลาวกลุ่มหนึ่งอพยพจากบ้านน้ำคำ เขตยโสธรพบบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ จึงได้จัดตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย แล้วเรียกชื่อว่าบ้านธาตุตามชื่อธาตุหินที่มีอยู่ ได้สร้างวัดขึ้นบริเวณธาตุหินและให้ชื่อว่า วัดโพธิศรีธาตุ และบูรณะปฏิสังขรณ์มาจนถึงทุกวันนี้

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
บ้านธาตุ
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านธาตุ
ตำบล ธาตุ อำเภอ รัตนบุรี จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางนิธิชญา บุญแสน
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20 ถนน เลี่ยงเมืองสุรินทร์-ปราสาท
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
โทรศัพท์ 044-712854 โทรสาร 044-512030
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
molsawat 6 กรกฎาคม 2555 เวลา 15:03
อำเภอนี้เป้าชอบ.....



suriyunj 28 มีนาคม 2555 เวลา 10:18
เยี่ยมมากๆๆ ครับ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่