ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 10° 30' 42.2852"
10.5117459
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 14' 7.6553"
99.2354598
เลขที่ : 123804
วัดสามแก้ว
เสนอโดย Piyapong วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย ชุมพร วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : ชุมพร
3 7128
รายละเอียด

วัดสามแก้ว
วัดสามแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ ๖๐/๒ บ้านขุนแสน ถนนไตร์รัตน์ หมู่ที่ ๑ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗๘ ไร่ ๑ งาน ๒๘ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๗๖๖๐

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นอาคารไม้ทรงไทย ๒ ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๗ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๒ หลัง นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน หอระฆัง หอกลอง โรงครัว กุฏิเจ้าอาวาส และเรือนรับรอง

ปูชนียะวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย

วัดสามแก้ว ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระครูวินัยธร (คล้อย)
รูปที่ ๒ พระมหาสงวน
รูปที่ ๓ พระพลับ ฐิติกโร พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๒
รูปที่ ๔ พระภัทรธรรมธาดา (จรูญ ฐิตสัทโธ) พ.ศ. ๒๔๗๒ – ๒๔๘๔
รูปที่ ๕ พระนิการครุนาถมุนี (เลื่อน รตฺตญญู) พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๕๐๗
รูปที่ ๖ พระครูนิกรครุนาถ (สำเริง สุจิตฺโต) พ.ศ. ๒๕๐๘ – ๒๕๒๐
รูปที่ ๗ พระดโนมคุณมุนี (พินิจ พุทฺธสโร) พ.ศ. ๒๕๒๓ – ปัจจุบัน


ประวัติความเป็นมา
วัดสามแก้ว ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ เคยมีการขุดพบลูกปัดสี และกลองมโหระทึกต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลองมโหระทึกที่มีอายุอยู่ประมาณ ๑,๗๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี อาจสันนิษฐานได้ว่า บริเวณเนินเขา ที่ตั้งวัดสามแก้ว อาจเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่มากเมืองหนึ่ง

วัดสามแก้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย ร.๖ ด้วยศิลปะแบบผสม ระหว่างสถาปัตยกรรมอิสลามกับศิลปะไทย หลังคาอุโบสถมีลักษณะแตกต่างจากอุโบสถของวัดทั่วไป คือ หลังคาไม่มีช่อฟ้าใบระกา ตัวอุโบสถจึงมีลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมลายไทย ภายในพระอุโบสถ มีภาพเขียนฝีมือพระยาอนุศาสน์จิตรกร ช่างเขียนฝีมือเอก แห่งกรมช่างสิบหมู่ ได้เขียนภาพภายในอุโบสถ เพื่ออุทิศถวาย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพเขียนในอุโบสถ แบ่งเป็นสามตอน ดังนี้
ตอนบนสุด เป็นภาพเทพนม ทั้งเทพบุตรและเทพธิดา
ตอนกลาง เป็นภาพเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ ท้าวจัตุโลกบาล เทวดานพเคราะห์ คณะเทพและพระโพธิสัตว์
และตอนล่างสุด ตามช่องผนังระหว่างเสาและบานประตูหน้าต่างเป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้านหน้าเป็นภาพ แม่ธรณีบีบมวยผมขนาดใหญ่ ฝีมืองดงามมาก

ความสำคัญและสภาพปัจจุบัน
ปัจจุบันภาพเขียนยังอยู่ในสภาพดี เพราะวัดได้ทำการดูแล รักษา เป็นอย่างดี ปกติอุโบสถ ทางวัดจะปิดกุญแจ จะเปิดในช่วงเวลาทำพิธีทางศาสนา ถ้าใครต้องการชมความงดงามของภาพเขียน ก็สามารถเข้าไปดูได้ในช่วงนั้น หรือถ้ากรณีอุโบสถปิดอยู่ก็สามารถติดต่อสอบถามพระในวัด ท่านก็จะแนะนำ และเปิดให้เข้าชมในอุโบสถได้ ซึ่งจะได้เห็นความสวยงามของภาพเหล่านี้
และวัดสามแก้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่สำคัญอีกด้วย

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดสามแก้ว
เลขที่ ๖๐/๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล นาชะอัง อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
ตำบล นาชะอัง อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000
โทรศัพท์ 0 7750 7753 โทรสาร 0 7750 7776
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่