ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 54' 33.696"
7.90936
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 23' 8.736"
98.38576
เลขที่ : 123895
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
เสนอโดย ภูเก็ต วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย ภูเก็ต วันที่ 4 มิถุนายน 2567
จังหวัด : ภูเก็ต
1 944
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมาสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เป็นส่วนราชการหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามกฏกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2548 ซึ่งได้มีการพัฒนาบทบาทงานด้านวัฒนธรรมตามลำดับโดยมีจุดเริ่มต้น เมื่อ พ.ศ.2518 อาจารย์ในภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูภูเก็ต ได้ช่วยกันจัดนิทรรศการ “วันชาวบ้าน” ต่อมาได้ร่วมกันจัดนิทรรศการ “วิธีชีวิตชาวบ้านป่าตอง” “วิธีชีวิตชาวบ้านสาคู” “ย่าม” และ “ปฏิทิน” ในปี พ.ศ.2519 จึงมีสิ่งของที่นำมาจัดนิทรรศการ “ชีวิตไทยฝั่งทะเลตะวันตก” ครั้งที่ 1-2 ของหน่วยประเคราะห์ศูนย์ชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย วิทยาลัยครูภูเก็ตโดยได้รับงบประมาณจากกองวัฒนธรรม กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างปี 2520-2521เมื่อกองวัฒนธรรมได้รับการยกฐานะไปเป็นสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2522 ตามพระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2522 จึงได้มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม พ.ศ.2523 หน่วยประเคราะห์ศูนย์ชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย วิทยาลัยครูภูเก็ต จึงเปลี่ยนไปเป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2523 มีสถานที่ปฏิบัติงาน ณ หอพักชาย ซึ่งว่างอยู่ในวิทยาลัยครูภูเก็ต ตามคำสั่งวิทยาลัยครูภูเก็ต เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2523ต่อมาในปี พ.ศ.2526 ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูภูเก็ตตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์วัฒนธรรม พ.ศ.2526 โดยกำหนดให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมอนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่วัฒนธรรมฝึกอบรมวิทยาการและบุคลากรด้านวัฒนธรรมจัดและดำเนินการหอวัฒนธรรมสนับสนุนและช่วยเหลือการดำเนินงาน ของศูนย์วัฒนธรรมอื่น หรือหน่วยงานอื่นหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดหรือสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจากหน้าที่ในข้อ 4 ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตจึงมี “หอวัฒนธรรมภูเก็จ” เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า เก็บรักษาและจัดนิทรรศการผลงานทางวัฒนธรรมทุกสาขา ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูภูเก็ตได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏภูเก็ต ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 จึงได้กำหนดให้มีสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหนึ่งตามโครงสร้างการบริหารงานของสถาบันราชภัฏภูเก็ตต่อมา ในปี พ.ศ.2547 สถาบันราชภัฏภูเก็ต ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 สำนักศิลปวัฒนธรรม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักศิลปะและวัฒนธรรม” มีภารกิจหลักในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ปัจจุบัน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นส่วนราชการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ฯ แล้ว ยังปฏิบัติงานในฐานะเป็นศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตและหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต อีกหน้าที่หนึ่งด้วย

สถานที่ตั้ง
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
เลขที่ 21 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ถนน เทพกระษัตรี
จังหวัด ภูเก็ต
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
บุคคลอ้างอิง นายราชพฤกษ์ เต้าทอง
ชื่อที่ทำงาน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
เลขที่ 21 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ถนน เทพกระษัตรี
จังหวัด ภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ 83000
โทรศัพท์ 076 211959 ต่อ 148 โทรสาร 076 211778
เว็บไซต์ www.pkru.ac.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่