ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 49' 49.5918"
16.83044215962984
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 14' 21.7939"
103.23938719414059
เลขที่ : 125006
อนุสรณ์สถานนักรบประชาชนดงมูล
เสนอโดย witdet@hotmail.com วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : กาฬสินธุ์
1 2035
รายละเอียด
ประวัติ นับเป็นเวลากว่า 30 ปี ที่สงครามปฏิวัติประชาชน ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้นำมวลชนเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร ในยุคนั้นได้ยุติลง และทำให้เหล่าเพื่อนมิตรสหาย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ได้ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก บางส่วนต้องหนีร่นเข้าป่านานหลายปีเพื่อเอาชีวิตรอดถึงได้กลับออกมา พื้นที่เขตดงมูล อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ ก็เป็นผืนป่าอีกแห่งหนึ่งซึ่งเดิมเป็นฐานทัพใหญ่ ของกลุ่มคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในอดีต ที่หน่วยรบสหาย 666 ภาคอีสาน ใช้เป็นแหล่งพักพิงและปลุกระดมมวลชนขึ้นมาเพื่อใช้อาวุธต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐมาแล้ว แต่ก่อนพื้นที่เขตดงมูล บรรดาสหายได้ใช้พักพิงและต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เป็นผืนป่าใหญ่และรกมาก บริเวณถ้ำไทรทองเป็นแหล่งกบดานและหลบซ่อนตัวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบุกเข้าโจมตี ก็ไม่มีสักครั้งที่จะสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากบริเวณล้อมรอบมีจุดกำบัง เป็นแหล่งที่สหายหลบซ่อนและซุ่มโจมตีกลับได้อย่างดี “ถ้ำไทรทอง”เป็นเพิงถ้ำแห่งหนึ่งที่เพื่อนๆสหายผู้ร่วมชะตากรรมที่แตกพ่ายมาจากในเมืองและถูกเจ้าหน้าที่ภาครัฐขับไล่ ใช้เป็นแหล่งกบดาน ยังเป็นพื้นที่ลำเลียงสหายแต่ละสายงานที่ถูกเจ้าหน้าที่ปราบและได้รับบาดเจ็บ นำมาพักรักษาตัวที่นี่ จนทำให้ถ้ำไทรทองและพื้นที่ดงมูลเป็นแหล่งพักพิงที่เหล่าสหาย ยังรำลึกถึงทุกคน ร.ต.อ.สำราญ หอยตะคุ หัวหน้าชุดปฏิบัติการทางจิตวิทยา ที่ 11 ชุดควบคุมทางยุทธวิธี ตชด.ที่ 41 กองบังคับการ ตชด.ภาค 2 เล่าว่า เมื่อปี 2516 ประเทศลาว เขมร เวียดนาม มีการต่อสู้ของกลุ่มอำนาจลัทธิรุนแรงขึ้น ลัทธิการปกครองแบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ก็ชนะ ในขณะที่ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแทรกแซงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ไปด้วย ตามแนวชายแดนเริ่มมีการต่อสู้ของผู้ก่อการร้ายรุนแรงขึ้น และขยายผลสู่กลุ่มหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศไทยในขณะนั้นก็มีความแตกแยกทางความคิดของข้าราชการทหาร ตำรวจ นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา และนักการเมือง อยู่แล้ว จึงทำให้กลุ่มคนเกิดการผสมผสานกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายขึ้น ในนาม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) โดยกลุ่มคนที่มีความแตกแยกทางความคิดของไทย และกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ภายในประเทศไทยเองที่ได้รับการสนับสนุนทั้งภายในและนอกประเทศ ก็เกิดการรวมตัวต่อต้านกับอำนาจรัฐในขณะนั้น พร้อมกับมีการสู้รบกันทั้งอาวุธและปลุกระดมมวลชน เพื่อแย่งชิงมวลชนต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนเกิดสงครามประชาชนขึ้น เจ้าหน้าที่รัฐต้องใช้ความรุนแรงในการปราบปรามมวลชนถึงขั้นแตกหัก สุดท้ายกำลังมวลชน (พคท.) ถูกเจ้าหน้าที่ปราบปรามหนัก จนต้องถ่อยร่นเข้าป่าเพื่อตั้งฐานที่มั่น คอยปลุกระดมมวลชนชาวบ้านในการรวบรวมกำลังผลเพื่อต่อสู้อีกครั้ง บางส่วนกองกำลังผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) และมวลชนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ที่แตกทับก็เข้ายึดพื้นที่ป่าในเขตพื้นที่ภาคอีสานเป็นฐานที่มั่น ซึ่งฐานที่มั่นใหญ่ของภาคอีสานที่ (พคท.)เข้าหลบซ่อนก็คือเขตพื้นที่ป่าดงมูล อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่หลายแสนไร่ ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอใน จ.กาฬสินธุ์ และเป็นผืนป่าทอดยาวเชื่อมต่อกันไปหลายจังหวัด โดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) และ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้อาศัยผืนป่าแห่งนี้หลบซ่อนตัว สะสมขุมกำลังมวลชน เสบียงอาหาร และอาวุธ ไว้พร้อม เพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อมากองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 (ตชด.) ก็ได้เข้าปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) และ มวลชนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในเขตพื้นที่ดงมูลเชิงรุกอย่างหนัก เพื่อตั้งฐานที่มั่นบัญชาการสกัดกั้นและยับยั้งยุติความรุนแรงขึ้นในพื้นที่ อ.หนองกุงศรี ,อ.ท่าคันโท อ.สมเด็จ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ และในเขตพื้นที่ อ.ชุมแพ อ.กระนวน อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น มีใจกลางในการปราบปรามหนักในเขตพื้นที่ดงมูล อ.หนองกรุงศรี ตชด.ภาค 2 ได้กระจายกำลังเป็นพื้นที่ในทางกว้าง จนทำให้กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ (พคท.)แตกสลาย แต่ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐและกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ (พคท.)บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากเช่นกัน ขุมกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์ (พคท.)ก็เริ่มลดน้อยถอยลง ผนวกกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ก็ย่ำแย่ไปด้วย เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ภายใต้กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2 (ตชด.) ก็เริ่มเข้าหาประชาชนในพื้นที่ โดยการรับฟังปัญหาความคิดของชาวบ้าน พร้อมกับเข้าหาแกนนำผู้นำชาวบ้านที่ต่อสู้ทางความคิด ปลูกฝังให้ชาวบ้านในพื้นที่เหล่านี้ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ พร้อมกับนำการพัฒนาสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่เข้าให้การช่วยเหลือ แกนนำและชาวบ้าน จึงทำให้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยุติลงในที่สุด นายพันธ์ จันทรัตน์ อายุ 64 ปี หรือ สหายชมพูพาน กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่อาศัยของกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ เหลือแค่สถานที่หลบซ่อนตัวตามร่องเขาและถ้ำต่างๆ ขณะนี้พื้นที่โดยรวมถูกบุกรุกทำไร่ทำสวนไปมาก จนทำให้ป่าโคกในลักษณะป่าเบญจพรรณ ที่เคยมีต้นไม้ใหญ่และป่าหนาทึบนั้นลดน้อยลง ทิ้งไว้เพียงร่องรอยของประวัติศาสตร์ของสหายและชนรุ่นหลังไว้ดูต่างหน้าเท่านั้น แต่ถ้าหากเพื่อนมิตรสหายและคนรุ่นหลังไม่อนุรักษ์ และรักษาเอาไว้ ความทรงจำของเพื่อนมิตรสหายและวิญญาณของเพื่อนสหายที่ล้มตายไป ก็คงจะเสียป่าวแน่ๆ ถ้าหากสหายที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันได้ล้มหายตายจาก ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ ในดงมูลคงไม่เหลือแน่ ดังนั้นบรรดาเพื่อนมิตรสหายทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ดงมูลขณะนี้ จึงได้ สร้างอนุสรณ์สถานนักรบประชาชนดงมูล ที่วัดถ้ำไทรทองบ้านไทรทอง ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานนักรบประชาชนแห่งเขตงาน 666 ดงมูล เอาไว้ โดยได้ทำการขุดหา “กระดูกสหาย” ที่เสียสละชีวิต จากการต่อสู้ภายใต้ธงนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และได้ทำการ “ฌาปนกิจ” ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับบรรดาสหายที่เสียสละชีวิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นหนึ่งในสมรภูมิสู้รบ ที่ดุเดือดของเขตงาน 666 ดงมูลในอดีต ซึ่งจะเป็นแหล่งลำลึกถึงสหายของดงมูลและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ต่อไป
สถานที่ตั้ง
บ้านไทรทอง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 10 ถนน ภูฮัง-ถ้ำไทรทอง
ตำบล ดงมูล อำเภอ หนองกุงศรี จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชาวบ้าน
บุคคลอ้างอิง นายพันธ์ จันทรัตน์
ชื่อที่ทำงาน ชาวบ้าน
เลขที่ 62 หมู่ที่/หมู่บ้าน 10 บ้านไทรทอง ซอย - ถนน -
ตำบล ดงมูล อำเภอ หนองกุงศรี จังหวัด กาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 11:15
ดีมากครับ ให้สหายพันธ์ ดูข้อมูลด้วยนะครับ



วรวิทย์ เดชบุรัมย์ 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 11:17
ครับ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่