ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 12' 55.3406"
18.2153724
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 23' 23.2274"
99.3897854
เลขที่ : 127394
พระเจ้าล้านทอง วัดพระธาตุลำปางหลวง
เสนอโดย ลำปาง วันที่ 16 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย ลำปาง วันที่ 28 มิถุนายน 2564
จังหวัด : ลำปาง
3 7669
รายละเอียด

พระเจ้าล้านทองวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

สถานที่ประดิษฐาน: พระวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

พุทธลักษณะ: ศิลปะล้านนา ปางมารวิชัย ขนาด หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๒ คืบ วัสดุ สำริดลงรักปิดทอง

พระเจ้าล้านทอง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า"พระเจ้าหลวง "เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้าง มานานสมัยเวียงพร้าว-วังหิน เป็น พระพุทธรูป ปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก 180 เซนติเมตร สูงรวมทั้งฐาน 274เซนติเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ วัตถุ ตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 2 วันที่ 5 เดือนมกราคม พ.ศ.2528 จากประวัติ ความเป็นมาขององค์พระเจ้าล้านทอง โดยอาศัยหลักฐานจากหนังสือต่างๆ อ้างอิงดัง ต่อไปนี้จาก หนังสือ ตำนานเวียงพร้าว-วังหิน ของนายปวงคำ ตุ้ยเขียว หน้า 10 กล่าวไว้ว่า"พระเจ้า ล้านทองเวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช 888 และเป็น พระพุทธรูป ที่ซึ่ง นับว่ามีความสำคัญทางจิตใจอย่างมากต่อคนเมืองพร้าวและทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เหนือของทุกปีทาง วัดจะจัดให้มีการสรงน้ำพระขึ้น และตามหนังสือ คนดีเมือง เหนือของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ หน้า 98 กล่าวไว้ว่า"พ่อท้าวเกษกุมารได้ครอง เมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ.2068 ทรงมีพระนาม ในการขึ้นครองราชย์ว่า พระ เมืองเกษเกล้า พระองค์ ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมือง พร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. 2069 เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้"

ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า 2 ได้กล่าว ไว้ว่า"พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่าสนผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได 2069 วัสสาแล…888 ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2069 ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว วังหิน ตามหลัก ฐานจากหนังสือดัง กล่าว สันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่า จะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้นจากประวัติของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่าหลัง จากเวียงพร้าว วังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของ พระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี 2101 ผู้คนหนีออกจากเมือง หมดคงปล่อยให้องค์ พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง 349 ปีจนมาถึง พ.ศ.2450 ได้มีดาบส นุ่งขาว ห่มขาว เป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยัง ท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ ปลาร้า เป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน

เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฝั่นเฟือนพูดจา ไม่รู้เรื่อง เดือดร้อง ถึงหมอผี ต้องทำบน บานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี ส่วนท่านกาเลยังยัง ท่านไม่กลัวเดินเที่ยว ชมบริเวณ ได้พบองค์พระพุทธรูป ทองสำริดขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานนิอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่ เผาเศษ ไม้ใบไม้แห้งรอบองค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยัง จึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหา ได้ใน บริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด จนถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธาได้ช่วยกันสร้างศาลาเสาสี่ต้นมุงด้วย ไม้เกล็ด คร่อมองค์พระพุทธรูปไว ้เพื่อเป็นร่มกันแดดกันฝน จนถึงปี พ.ศ. 2462 ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสัน ขวางของ ท่านครูบาปัญญา เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าล้านทองสาเหตุที่ชาว บ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพ อุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่ ท่านครู บาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก แต่หลังจากได้ สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบา เป็นอย่าง มาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่านคงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส "วัดหนองปลามัน " จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหารเท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน)

ต่อมา พ.ศ. 2512 ได้มิท่านครูบาอินถา แห่งวัดพระเจ้าตนหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร แบบจตุรมุข ทางทิศตะวันตกของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ 80% เมื่อปี พ.ศ. 2515 แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทองขึ้นมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ 11เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ตรงกับเดือน 5 เหนือ ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน จุลศักราช 1333 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ได้มีการซ่อมแซม วิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมี พล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน ใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ 1 ล้านบาทเศษ นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทองเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าว - วังหิน เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน

ที่มารูปภาพ http://wasanpix.multiply.com

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
ตำบล ลำปางหลวง อำเภอ เกาะคา จังหวัด ลำปาง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง อีเมล์ lampang@m-culture.go.th
เลขที่ 409 ถนน พระเจ้าทันใจ
ตำบล ต้นธงชัย อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52000
โทรศัพท์ 054824182 โทรสาร 054228763
เว็บไซต์ http://province.m-cuiture.go.th/lampang/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่