ราว พ.ศ. ๑๒๔๓ พระแม่เจ้าจามเทวี เสด็จออกจากลำพูนเพื่อมาเยี่ยมเยียน อนันตยศ ผู้ราชบุตรในนครลำปาง ได้มาถึง ณ ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง เป็นที่รื่นรมย์ จึงสร้างเมืองลำลองพัก ณ ที่แห่งนั้น เมืองนั้นต่อมามีชื่อว่า “เวียงรมณีย์”(เมืองตาล) (ปัจจุบันนี้เป็นเมืองร้างมีแต่คูดิน ตั่งอยู่ระหว่างดอยขุนตาลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอห้างฉัตร ประมาศ ๒ ก.ม.) ขณะที่พักอยู่ที่เวียงรมณีย์นั้น ได้สร้างฉัตรทองคำสำหรับจะไปบูชาพระธาตุลำปางหลวง ณ ที่ให้ช่างสร้างฉัตรในเวลาต่อมาเรียกกันว่าบ้านห้างฉัตร ปัจจุบัน
เมื่อสร้างฉัตรทองคำเสร็จแล้ว ก็ทรงช้างพระที่นั่ง เดินไปตามเส้นทางพอไปถึง ณ ที่หนึ่งปรากฎอัศจรรย์ ช้างพระที่นั่งทรุดเข่าลงหมอบคู้ชูงวงน ในท่าคารวะ พระแม่เจ้าเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงพักพล ณ ที่นั้นคืนหนึ่ง ตกกลางคืนจึงอธิฐานว่า ณ ที่นี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ขอให้ปรากฏปาฏหาริย์ขึ้น ขาดพระดำรัสของพระแม่เจ้า ก็ปรากฏแสงฉัพพรรณรังสีแห่งพระบรมสารีริกธาตุพวยพุ่งขึ้น ณ ที่จอมปลวกแห่งหนึ่งจึงทรงให้ปลูกวิหารจามเทวี รอบจอมปลวกไว้ด้วยมณฑปปราสาท ตลอดจนสร้างรูปจ๊างนบไว้หน้าวิหาร เป็นรูปช้างทรุดเข่าลงหมอบคู้ชูงวงขึ้นเหนือหัวในท่าคารวะ และปลูกต้นไม้สะหลีครีมหาโพธิ์ ซึ่งได้พันธ์มาจากลังกาทวีปพร้อมสรรพ ต่อมา ณ ที่แห่งนี้จึ่งเรียกว่า“บ้านปงจ๊างนบ”ต่อมหลายร้อยปีนามนี้ก็ได้เพี้ยนไปเป็น
“ปงยางคก” คำว่า “ปง”แปลว่า ที่ลุ่มกำปะเก่ากล่าวกันติกปากว่า“เป๋นเปอะก่อจะลง เป๋นปงก๋จะลัด”
(มีโคลนก็จะลง มีที่ลุ่มก็จะไป)